DSpace Repository

วุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย: ระดับ แนวโน้ม และปัจจัยกำหนด

Show simple item record

dc.contributor.advisor รักชนก คชานุบาล en_US
dc.contributor.author สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:01:29Z
dc.date.available 2015-09-17T04:01:29Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45388
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ แนวโน้ม และปัจจัยกำหนดวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย โดยใช้กรอบแนวคิดวุฒิวัยขององค์การอนามัยโลก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ จึงกำหนดให้วุฒิวัยของผู้สูงอายุประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความมั่นคง และปัจจัยกำหนดที่ส่งผลต่อวุฒิวัยของผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1.ปัจจัยทางประชากร 2.ปัจจัยทางสังคม 3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4.ปัจจัยทางพฤติกรรม และ 5.ปัจจัยทางเวลา การวิจัยครั้งนี้ ใช้ข้อมูลจากการสำรวจผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2545 2550 และ 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเป็นการรวมข้อมูลภาคตัดขวางจาก 3 ปีที่มีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 45,082 คน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย ทั้ง 3 ปี คือ ในปี พ.ศ. 2545 2550 และ 2554 มีค่าเท่ากับ 0.572 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยวุฒิวัยของแต่ละปีมีค่าเท่ากับ 0.525 0.584 และ 0.591 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มสูงขึ้นของระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย ผลการศึกษาระดับวุฒิวัยในแต่ละด้าน ทั้ง 3 ปี พบว่า ค่าเฉลี่ยวุฒิวัยด้านสุขภาพมีค่าสูงสุด คือ 0.819 รองลงมาคือ วุฒิวัยด้านความมั่นคงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.728 และวุฒิวัยที่มีค่าต่ำสุด คือ วุฒิวัยด้านการมีส่วนร่วมซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.169 ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุ เมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ พบว่า ปัจจัยกำหนดที่มีอิทธิพลต่อวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2545 2550 และ 2554 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยทางประชากร (เพศ และอายุ) ปัจจัยทางสังคม (เขตที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (รายได้ และสถานภาพการทำงาน) ปัจจัยทางพฤติกรรม (การตรวจสุขภาพ การดูแลปรนนิบัติ และการออกกำลังกาย) และปัจจัยทางเวลา (ปีที่สำรวจ) นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคมสามารถอธิบายการแปรผันของวุฒิวัยผู้สูงอายุไทยได้ดีที่สุด คือ ร้อยละ 13.7 รองลงมาคือ ปัจจัยทางพฤติกรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางประชากร และปัจจัยทางเวลา โดยอธิบายได้ร้อยละ 9.2 ร้อยละ 8.2 ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยกำหนดทั้ง 5 ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของวุฒิวัยผู้สูงอายุไทยได้ร้อยละ 26.4 en_US
dc.description.abstractalternative This study aims to study the levels, trends, and determinants of active ageing for elderly Thais by applying a policy framework on active ageing from the World Health Organization. According to this framework, active ageing in this study consisted of 3 aspects, including health, participation and security, with key determinants defined as 1) demographic determinants, 2) social determinants, 3) economic determinants, 4) behavioural determinants, and 5) timing determinants. The data used in this study was obtained from the Survey of Older Persons in Thailand, conducted in 2002, 2007, and 2011 by the National Statistics Office. This study applied pooled cross-sectional data from the 3 surveys. Hence, the sample size consisted of 45,082 older persons aged 60 years and over. The results showed that the grand-mean of active aging was 0.572, which represented the medium level of active ageing. The means of active ageing in 2002, 2007, and 2011 were 0.525, 0.584, and 0.591, respectively. As such, the levels of active ageing tended to increase from 2002 to 2011. The mean for health aspect was highest at 0.819 when compared with the security and participation aspects of active ageing, which were 0.728, and 0.169, respectively. Based on Multiple Classification Analysis (MCA), the multivariate analysis showed that the key determinants of active ageing for elderly Thais in 2002, 2007, and 2011 were demographic determinants (sex, and age), social determinants (residential area, education level, and marital status), economic determinants (annual income, and working status) behavioural determinants (health examination, care and treatment, and exercise) and timing determinants (year of survey), were also significant level at 0.05 when other factors were controlled. In addition, social determinants were the most explanatory regarding variations in the level of active ageing (13.7 percent), followed by behavioral determinants (9.2 percent), economic determinants (8.2 percent), demographic determinants (6.5 percent), and timing determinants (6.2 percent), respectively. Finally, these five determinants can explain variation in the level of active ageing by 26.4 percent. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.898
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสูงวัยของประชากร -- ไทย th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ภาวะเศรษฐกิจ th
dc.subject การวางแผนผู้สูงอายุ th
dc.subject Population aging -- Thailand en_us
dc.subject Older people -- Thailand en_US
dc.subject Older people -- Conduct of life en_US
dc.subject Older people -- Economic conditions en_US
dc.title วุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย: ระดับ แนวโน้ม และปัจจัยกำหนด en_US
dc.title.alternative ACTIVE AGEING OF THAI ELDERLY: LEVELS, TRENDS AND DETERMINANTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor rukchanok.k@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.898


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record