Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กระบวนกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบว่า 1) การระบุปัญหา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบปัญหาหลักที่เหมือนกันคือการอยู่ภายใต้กรอบของระบบราชการ 2) การริเริ่มนโยบายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการริเริ่มนโยบายจากรัฐบาล 3) การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโดยจัดประชุม ทำแบบสอบถาม ประชาพิจารณ์และงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ดำเนินการโดยจัดประชุมและการจัดทำแบบสอบถาม 4) การเสนอทางเลือก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เสนอทางเลือก 2 เรื่องคือสถานภาพของสถาบันและสถานภาพของบุคลากร 5) การยกร่างนโยบาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างขึ้นมาโดยเฉพาะ สภามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจยกร่างนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีไม่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างแต่ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อปรับระบบให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล สภาสถาบันเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจยกร่างนโยบาย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบว่า 1) โครงสร้างองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะแบบระบบราชการ 2) ภาวะผู้นำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีลักษณะผู้นำแบบใช้การเห็นพ้องต้องกัน ส่วนภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะผู้นำแบบเป็นที่ปรึกษา 3) วัฒนธรรมองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีลักษณะแบบราชการ ส่วนวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะแบบรวมกลุ่ม 4) การเมืองภายในองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเรื่องของความคิดเห็นขัดแย้งระหว่างบุคลากรและผู้บริหาร ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นเรื่องการแข่งขันแย่งชิงการดำรงตำแหน่งอธิการบดี ปัจจัยสภาพแวดล้อมได้แก่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พบว่าเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี