dc.contributor.advisor |
จุมพล พูลภัทรชีวิน |
|
dc.contributor.author |
รอนด้า ตันเถียร, 2520- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2006-06-27T08:06:03Z |
|
dc.date.available |
2006-06-27T08:06:03Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9745313297 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/541 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กระบวนกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบว่า 1) การระบุปัญหา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบปัญหาหลักที่เหมือนกันคือการอยู่ภายใต้กรอบของระบบราชการ 2) การริเริ่มนโยบายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับการริเริ่มนโยบายจากรัฐบาล 3) การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโดยจัดประชุม ทำแบบสอบถาม ประชาพิจารณ์และงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ดำเนินการโดยจัดประชุมและการจัดทำแบบสอบถาม 4) การเสนอทางเลือก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เสนอทางเลือก 2 เรื่องคือสถานภาพของสถาบันและสถานภาพของบุคลากร 5) การยกร่างนโยบาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างขึ้นมาโดยเฉพาะ สภามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจยกร่างนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีไม่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างแต่ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อปรับระบบให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล สภาสถาบันเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจยกร่างนโยบาย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพบว่า 1) โครงสร้างองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโครงสร้างองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะแบบระบบราชการ 2) ภาวะผู้นำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีลักษณะผู้นำแบบใช้การเห็นพ้องต้องกัน ส่วนภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะผู้นำแบบเป็นที่ปรึกษา 3) วัฒนธรรมองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีลักษณะแบบราชการ ส่วนวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีลักษณะแบบรวมกลุ่ม 4) การเมืองภายในองค์การของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเรื่องของความคิดเห็นขัดแย้งระหว่างบุคลากรและผู้บริหาร ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นเรื่องการแข่งขันแย่งชิงการดำรงตำแหน่งอธิการบดี ปัจจัยสภาพแวดล้อมได้แก่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง พบว่าเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of the study were 1) to study the autonomous university policy formulation process of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi 2) to study factors relating to this policy formulation process and 3) to compare this policy formulation process of Chulalongkorn University with the one of King Mongkut's University of Technology Thonburi. Findings of the study were as follow : After studying the autonomous university policy formulation process of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi. It was found that : 1) Problem Specification : A major problem of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi is their framework of bureaucratic system. 2) Policy initiative : The government policy initiated their formulation process. 3) Relevant data : Chulalongkorn University collected data and information through meetings, questionnaires, public hearings and research. King Mongkut's University of Technology Thonburi collected data and information through through meetings and questionnaires only. 4) Generated policy alternative : Both Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi proposed alternative policies for two issues : oganization status and staff status. 5) Drafting policy : Chulalongkorn University formed a committee with the goal to draft policy. The university council had authority for university policy formulation process. However King Mongkut's University of Technology Thonburi did not form such a committee. A working group had to help with to autonomous university policy formulation process and the university council had authority for this process. Factors relating to autonomous university policy formulation process of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi. It was found that : 1) The organization structure of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi tends to be a bureaucracy organization operating in an excessively mechanical way. 2) The leadership style of Chulalongkorn University takes the form of concensus building of its leaders. However, The leadership style of King Mongkut's University of Technology Thonburi is a consultative process. 3) The organizational culture of Chulalongkorn University is a hierarchy culture, whereas the organizational culture of King Mongkut's University of Technology Thonburi is a clan culture. 4) The organizational politics of Chulalongkorn University is about clashes of opinion between the staffs and the executives whereas King Mongkut's University of technology Thonburi organizational politics is about the competition for the organization's president chair. Environmental factors, i.e. social, economic and political factors : such factors were found to have a relationship with the autonomous university policy formulation process of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi. |
en |
dc.format.extent |
1908583 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.858 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--การออกนอกระบบราชการ |
en |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี--การออกนอกระบบราชการ |
en |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ--ไทย |
en |
dc.title |
การศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
en |
dc.title.alternative |
A study of autonomous university policy formulation process of Chulalongkorn University and King Mongkut's University of Technology Thonburi |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
พัฒนศึกษา |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Chumpol.P@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2004.858 |
|