dc.contributor.advisor |
พิษเณศ เจษฎาฉัตร |
|
dc.contributor.author |
ฆะฏะนาวดี โกสุมบงกช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-24T15:00:29Z |
|
dc.date.available |
2020-05-24T15:00:29Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.issn |
9745320943 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65956 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษานโยบายของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ในช่วงก่อนและหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และเพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่มีต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตน้ำตาลทรายในประเทศไทย การศึกษาผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล ได้นำเอาแนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการในเรื่องส่วนเกินของผู้บริโภคและส่วนเกินของผู้ผลิต มาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยทำการประมาณการสมการอุปสงค์และสมการอุปทานน้ำตาลทรายก่อน และคำนวณผลกระทบต่อผู้บริโภคน้ำตาลทรายจากผลต่างของส่วนเกินของผู้บริโภค ณ ระดับราคาภายในประเทศที่เกิดขึ้นจริง กับส่วนเกินของผู้บริโภค ณ ระดับราคาที่ไม่มีการแทรกแซงจากการใช้นโยบายของรัฐ และคำนวณ ผลกระทบต่อผู้ผลิตน้ำตาลทรายจากผลต่างของส่วนเกินผู้ผลิต ณ ระดับราคาที่ผู้ผลิตได้รับจริง กับส่วนเกิดของผู้ผลิต ณ ระดับราคาที่ไม่มีการแทรกแซงจากนโยบายของรัฐ ซึ่ง ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบจากนโยบายยกระดับราคาอ้อยให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้แก่ มาตรการรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออก มาตรการควบคุมปริมาณการผลิต การนำเข้าและส่งออก มาตรการทางด้าน ภาษี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบเพื่อการส่งออก กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย นโยบายส่งเสริมการผลิตเอทานอล และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากระบบ 2 ราคา คือ กำหนดราคาจำหน่วยน้ำตาลทรายภายในประเทศให้สูงกว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลก
ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบจากนโยบายของรัฐภายหลังพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ในช่วง พ.ศ. 2527 - 2546 ทำให้ผู้บริโภคน้ำตาลทรายในประเทศเสียประโยชน์รวมทั้งสิ้น 126,752 ล้านบาท ในขณะที่นโยบายดังกล่าวของรัฐทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลทรายในประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 352,726 ล้านบาท โดยผลกระทบจากนโยบายของรัฐส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายยกระดับราคาอ้อยมากกว่านโยบายระบบ 2 ราคา |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this thesis were to study government policies on sugar-cane and sugar industry before and after the proclamation of Cane and Sugar Act 1984 and to study the economic impact on consumers and sugar producers after the enforcement of Cane and Sugar Act 1984. The study of economic impact from government policies was based on the basic concept of welfare economics i.e. consumer’s surplus and producer’s surplus. To obtain consumer’s surplus and producer’s surplus, the demand and supply equations had to be estimated first. The impact on consumers was calculated from the difference between consumer’s surplus at the constant domestic price and consumer’s surplus at the non-intervention price. The impact on producers was calculated from the difference between producer’s surplus at the actual price and producer’s surplus at the nom-intervention price. The impact of government policies on consumers and producers could be divided into 2 components: (1) Impact from raising sugar-cane price polices for sugar-cane farmers which resulted from packaging credit measures, control on production, import and export, tax measures, use of sugar as a raw material for export goods, cane and sugar fund, and the promotion of ethanol production; and (2) Impact from two-price policy which set the domestic sugar price higher than the world market price. The findings indicated that the impact of government policies after the Cane and Sugar Act 1984, during 1984 - 2003, the total consumer’s loss was 126,752 million Baht, while the producer’s gain was 352,726 million Baht. Most of impact from the government policies came from the raising sugar-cane price policy rather than the two-price policy. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.613 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมน้ำตาลทราย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอ้อย |
en_US |
dc.subject |
อ้อย -- นโยบายของรัฐ |
en_US |
dc.subject |
น้ำตาลทราย -- นโยบายของรัฐ |
en_US |
dc.subject |
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 |
en_US |
dc.subject |
Sugar trade |
en_US |
dc.subject |
Sugarcane industry |
en_US |
dc.subject |
Sugarcane -- Government policy |
en_US |
dc.subject |
Sugar -- Government policy |
en_US |
dc.title |
ผลกระทบทางเศรษฐกิจของนโยบายอ้อยและน้ำตาลหลังจากพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 |
en_US |
dc.title.alternative |
Economic impact on Thai sugar policies since the cane and sugar Act 1984 |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Phitsanes.J@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2004.613 |
|