DSpace Repository

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author พนม คลี่ฉายา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-17T06:46:54Z
dc.date.available 2023-02-17T06:46:54Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81946
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายปัจจัยตัวบุคคล เทคโนโลยี แรงจูงใจ ในการใช้งานเทคโนโลยี สถานภาพการเข้าถึง การใช้งาน และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของกลุ่มผู้จะก้าวสู่วัยสูงอายุ และผู้สูงอายุวัยต้น และสังเคราะห์สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการ พัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2562 - มิถุนายน 2563 ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีกลุ่มตัวอย่างอายุ 50-70 ปีทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ระยอง สงขลา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 44 คน และผู้ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ 50-59 ปี จำนวน 20 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งการศึกษากรณีตัวอย่างผู้สูงอายุ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างความสัมพันธ์ สร้างรายได้ และผลผลิตชุมชน รวม 10 กรณีตัวอย่าง นำผลการวิจัยมาสังเคราะห์สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตมามากกว่า 5 ปี มีความคล่องแคล่วในการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง เกือบทั้งหมดมีโทรศัพท์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จำนวนมากกว่าครึ่งจ่ายค่าบริการแบบเหมา จ่ายรายเดือน มีค่าใช้จ่ายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ระหว่าง 300-600 บาทต่อเดือน ราคาโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้มีราคาระหว่าง 3,001-7,000 บาท แรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยีกลุ่มอายุ 50-54 ปี อยู่ระดับมาก ในขณะที่กลุ่มอายุ 55-70 ปี อยู่ระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละ 5-6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที -1 ชั่วโมง โปรแกรมที่ใช้มากที่สุดคือ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ โดยใช้สนทนา อ่านข่าวติดตาม ข่าวสารในระดับมาก ในขณะที่ใช้สืบค้นข้อมูลและโพสต์ข้อความในระดับปานกลาง และรับส่งอีเมล ซื้อสินค้าออนไลน์ และโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันในระดับน้อย และสร้างเนื้อหาด้วยตนเองในระดับ น้อยที่สุด ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว อยู่ในระดับมาก แต่ด้านสร้างรายได้ กลุ่มอายุ 50-54 ปี อยู่ในระดับน้อย และกลุ่มอายุ 55-70 ปี อยู่ในระดับน้อยที่สุด การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุกลุ่ม 60-70 ปี อยู่ระดับปานกลาง ในขณะที่กลุ่มผู้จะก้าวสู่วัย ผู้สูงอายุ กลุ่ม 50-59 ปี อยู่ระดับมาก ผลการวิจัยเชิงคุณภาพอธิบายเชิงลึกเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี ของผู้สูงอายุ ได้แก่ อาชีพ การเรียนรู้จากเทคโนโลยี ทักษะความสามารถ/การพัฒนาตนเอง ความ ซับซ้อนยุ่งยากของเทคโนโลยี ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและความคุ้มค่า บุตรหลานที่อยู่ ห่างไกลเป็นแรงผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารใกล้ชิดกัน ผู้สูงอายุมีอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ ปัญหาทางด้านสายตา การหลงลืม ภาษาอังกฤษ ความกังวลเรื่องความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้งาน ผู้สูงอายุต้องการการสนับสนุนด้านการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ต้องการ เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การสอนเรื่องของการใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้าชุมชน สร้างเพจหรือการผลิตเนื้อหาออนไลน์ และธุรกิจการสร้างรายได้จากสื่อออนไลน์ กรณีตัวอย่างผู้สูงอายุที่สามารถใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างพฤฒิพลังได้ มาจากความเป็น ตัวตน ความคิด ความรู้ ทักษะ ความสามารถที่สั่งสมมานานของผู้สูงอายุ การก้าวข้ามอุปสรรคด้าน เทคโนโลยีด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองและการสอนจากบุตรหลาน การสนับสนุนจากหน่วยงานและ องค์กรสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้การเชื่อมโยงระหว่างรุ่นวัยเป็นปัจจัย นอกจากนี้กรณีตัวอย่างสะท้อน ให้เห็นว่าการหารายได้แบบอิสระบนสื่อออนไลน์ เป็นเส้นทางสู่ความมั่นคงทางรายได้ของผู้สูงอายุได้ งานวิจัยสร้างข้อเสนอเพื่อการพัฒนาพฤฒิพลังผู้สูงอายุในสังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัล เน้น การเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมี ความมั่นคงทางรายได้ มีความสามารถในการสร้างผลผลิตชุมชนได้ ประกอบด้วยข้อเสนอเชิงนโยบาย 2 ด้านหลัก ได้แก่ แนวนโยบายสวัสดิการพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ 5G และ แนวนโยบายด้านความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยี en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to explore and explain in three dimensions (individuals, technologies, and motivations) of technology usages, access to digital technology, and ability to use digital technology of the elderly and near-elderly. Moreover, the research aims to propose policy recommendations on promoting Thai active and productive aging using digital technology. The research was conducted between July 2019 and June 2020, using mixed methods research combined with a survey research and an in-depth interview. A total of 1,400 samples for survey data were collected from samples aged 50 to 70 years nationwide including Chiang Mai, Ubon Ratchathani, Nakhon Sawan, Rayong, Songkhla, and Bangkok Metropolitan. For the in-depth interview, it comprised two age groups: 1) the elderly (above 60) and 2) the near-elderly (between the ages of 50 to 59) among 64 participants nationwide. In addition, the research examined 10 case studies of the elderly who utilized digital technologies for building relationship, making money and strengthening community productivity. Then, the results were analyzed to propose policy recommendations for promoting active aging. The results of survey research show that nearly half of samples have been using the internet for more than 5 years and become an expert in smartphone usages. Almost all of them have mobile devices to connect with the internet; the prices of smartphones are in between THB 3,001-7,000. Moreover, most of them resided in the area providing high speed internet, and more than half choose postpaid plans for internet packages costing THB 300-600 per month. While the elderly, aged 55-70, have moderate levels of motivation to use technologies, the age group of 50-54 reported high motivations. Moreover, the sample group accesses to the internet approximately 5-6 times per day and spent 30 mins to an hour for each access. The programs that the sample group mostly used are LINE, Facebook and YouTube, and the sample group highly used these programs for making conversations, followed by reading the news. Also, the sample group moderately used the internet for searching information and posting contents. Plus, the programs are used for sending and receiving emails, purchasing products online and transferring money through bank’s applications at a low level. Surprisingly, generating contents by himself/herself is in the lowest level of the purpose of usages. Besides, the ability in using technologies for building relationship with family members is at a high level. In using technologies for making money aspect, the age group of 50-54 is at the low level, when the age group of 55-70 is critically at the lowest level. Moreover, the elderly group (60-70 years) has moderate digital literacy while the near-elderly (50-59 years) is at a high level. Further in-depth interview showed that factors affecting the use of technology of the elderly were career, ability to learn from technology, skills in selfdevelopment, technology complexity, internet costs and value, and to keep in touch with children who live far away. However, to use technology the elderly also had obstacles such as vision problems, forgetfulness, English language, risks and dangers of use concerns. In addition, the elderly needs more support for access to high speed internet services, learning daily life technology usages and social media for business to sell community products online. They also need help and technical support in creating pages or online contents, and making money from social media. The case study of seniors demonstrated that the elderly is able to use technology for strengthening productive aging from their accumulated individuality, idea, knowledge, skills and efficacy. Moreover, overcoming technology barriers through self-learning and teaching from their children as well as supporting from agencies and not-for-profit organizations also help them become a productive aging through the inter-generation approach. On top of that, the cases revealed that earning money online was one of the way to achieve income security for the elderly. In conclusion, to promote productive aging of the elderly in the digital age society it should be emphasized the preparation for the elderly to be able to use technology in their daily lives with a high quality of life, income stability and the ability to produce community products. In general, these results suggest two main policy recommendations including 1) the basic welfare policy in technology as well as the quality of life in the 5G aging society and 2) the policy on security in the elderly life with digital technology. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย en_US
dc.subject เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ en_US
dc.subject คอมพิวเตอร์กับผู้สูงอายุ en_US
dc.title การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative Digital Technology Utitization of Elderly and Framework for Promoting Thai Active and Productive Aging en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record