Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16716
Title: | พันธกรณีของประเทศไทยในร่างความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา : ศึกษากรณีบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วน |
Other Titles: | Thailand's obligations under the draft Thailand-US FTS : a case study on express delivery services |
Authors: | รินทิพย์ ต่อปัญญาเรือง |
Advisors: | ศักดา ธนิตกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sakda.T@chula.ac.th |
Subjects: | ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา -- การค้ากับต่างประเทศ -- ไทย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงพันธกรณีของประเทศไทยในการแก้ไขกฎหมายภายใน ที่เกี่ยวข้องกับการบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วน เพื่อให้สอดคล้องต่อความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-สหรัฐอเมริกา ที่กำลังเจรจาในขณะนี้ โดยสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจในประเด็นการเข้าสู่ตลาดการค้าบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วน เนื่องจากผู้ประกอบการจากสหรัฐอเมริกามีความสามารถและประสิทธิภาพในการแข่งขันสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันนี้ด้วย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วน โดยตรงอยู่ 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ กฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีข้อจำกัดในการเข้ามาดำเนินการบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วนของผู้ประกอบการต่างด้าว ไม่ว่าในเรื่องจำนวนผู้ถือหุ้น จำนวนกรรมการของบริษัท สัญชาติของผู้มีสิทธิขอใบอนุญาตเพื่อประกอบการ รวมทั้งการกำหนดให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ผูกขาดการให้บริการไปรษณีย์ด้านจดหมายและไปรษณียบัตร ดังนั้นเพื่อให้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา สาขาบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วนเป็นไปอย่างเสรี ปราศจากอุปสรรคต่อความตกลง ผู้เขียนจึงได้เสนอให้ประเทศไทย มีพันธกรณีในการแก้ไขกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริการไปรษณียภัณฑ์ด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงดังกล่าว |
Other Abstract: | To study Thailand’s obligations to amend domestic laws which concern with express delivery services. As a result, the amendment will accord wit the draft Thailand-US FTA, which is negotiating. US has attended services market access especially express delivery services, due to US service providers are high efficiency and high ability for competition. So Thailand’s service provider, Thailand Postal Company Limited, shall prepare itself for this competition. This study has found that Thailand’s domestic laws concern with express delivery services are Postal Act B.E. 2477, Foreign Business Act B.E. 2542 and Land Transport Act B.E. 2522. These laws have limitation for foreigner providers on express delivery services whether number of shareholders, number of directors, nationality of the applicants and monopoly supplier of postal services by Thailand Postal Company Limited, in the supply of letter and postcard services. Therefore, Thailand-US FTA on express delivery services sector will operate independently, without burdens, Thailand has obligations to amend domestic laws which concern with express delivery services to conform to the subject of FTA. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16716 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1259 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1259 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rinthip_to.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.