Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18306
Title: การศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน
Other Titles: A study of Thai language instruction conditions in royal awarded secondary schools
Authors: พวงเพ็ญ เปล่งปลั่ง
Advisors: สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน ในด้านการใช้หลักสูตรและหนังสือเรียน วิธีสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการนิเทศการสอน ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามขึ้น 1 ชุด สำหรับตัวอย่างประชากรที่เป็นครูภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน ขนาดเล็ก 49 คน โรงเรียนขนาดกลาง 159 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 264 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน ที่ได้รับรางวัลในปีการศึกษา 2526 – 2527 จำนวน 69 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1. ในด้านการใช้หลักสูตรและหนังสือเรียน ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาดเห็นว่า มีการดำเนินการด้านจุดประสงค์ของหลักสูตรมาก ส่วนการดำเนินการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หนังสือเรียนและหนังสืออ่านนอกเวลาและปัญหาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรและหนังสือเรียนเห็นว่ามีน้อย 2. ในด้านวิธีสอน ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด เห็นว่า มีการปฏิบัติตามหลักการและระเบียบวิธีการสอนภาษาไทยมาก ส่วนการศึกษาวิธีสอนแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนภาษาไทยนั้น ครูในโรงเรียนขนาดเล็กศึกษาวิธีสอนด้วยวิธีการต่างๆ น้อย แต่ครูในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ศึกษาวิธีสอนด้วยวิธีการต่างๆมาก และการนำวิธีสอนแบบต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยและปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอนภาษาไทยมีน้อย 3. ในด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาดเห็นว่า มีการใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ มีการจัดหาสื่อการเรียนการสอนด้วยวิธีการต่างๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนน้อย 4. ในด้านการวัดและการประเมินผล ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาดเห็นว่า มีวัตถุประสงค์ในการวัดและประเมินผลมากทุกประเด็น นอกจากนี้ยังมีการปฏิบัติตามหลักการ เพื่อวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย มีการออกข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย และมีการนำวิธีต่างๆ มาใช้ในการวัดและประเมินผลมาก ส่วนในด้านความต้องการด้านการวัดและประเมินผลนั้น ครูในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีความต้องการมาก แต่ครูในโรงเรียนขนาดเล็กมีความต้องการน้อย และมีปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลน้อย 5. ในด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาดเห็นว่า มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรประเภทต่างๆน้อย ส่วนการประเมินผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยวิธีการต่างๆ และการดำเนินงานเพื่อวางแผนและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยวิธีการต่างๆ มีการปฏิบัติมาก และเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรน้อย 6. ในด้านการนิเทศการสอน ครูในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาดเห็นว่า ได้รับความช่วยเหลือจากศึกษานิเทศก์น้อย แต่ต้องการได้รับการนิเทศจากบุคลากรประเภทต่างๆ มาก นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการนิเทศด้วยวิธีการต่างๆ มาก ส่วนในด้านการนิเทศภายในโรงเรียนนั้นมีน้อย และในด้านความต้องการการนิเทศนั้น ครูต้องการให้มีการนิเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทยมากทุกด้าน ในด้านปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศนั้นพบว่ามีปัญหาน้อย
Other Abstract: The purpose of this research was to study Thai language instruction condition in Royal Awarded Secondary schools, in the aspects of curriculum implementation and textbooks, methods of teaching, utilization of instructional media, measurement and evaluation, co-curricular activities and supervision. The research constructed one set of questionnaire to collect data from Thai language teachers in 69 Royal Awarded secondary schools; 49 teachers from small schools, 159 teachers from medium schools and 264 teachers from large schools. All of these schools were awarded during the academic year of 1938-1984. The collected data were analysed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and presented in tables and description. The findings were as follows: 1. In the aspect of curriculum implement and textbooks, teachers from schools of all sizes agreed that curriculum objectives were operated at the high level but learning objectives, utilization of textbooks, problems concerning curriculum implementation and textbooks were found at the low level. 2. In the aspect of method of teaching, the teachers from schools of all sizes agreed that they practiced a lot in the principles and methods of teaching Thai language. In acquiring various methods of teaching to increase teaching efficiency, teachers from small schools practiced at the low level, but teachers from medium and large schools practiced at the high level. Introduction of various methods of teaching Thai language and problems concerning method of teaching Thai language were found at the low level. 3. In the aspect of utilization of instructional media, Thai language teachers in 3 sizes of schools agreed at the low level that they used and prepared many kinds of instructional media in teaching; problems concerning utilization of instructional media were operated also at the low level. 4. In the aspect of measurement and evaluation it was found that all Thai language teachers agreed at the high level that they had measurement and evaluation objectives. The items which were operated at the high level were : following the rules and regulation of Thai language measurement and evaluation, producing tests for Thai language evaluation, and introducing various techniques of evaluation. Concerning needs for measurement and evaluation, the teachers from large schools and medium schools needed them at the high level but the teachers from small schools needed them at the low level; problems concerning measurement and evaluation were also found at the low level. 5. In the aspect of co-curricular activities, the teachers in 3 sizes of schools agreed that it was practiced at the low level. Evaluation, planning and organizing co-curricular activities were operated at the high level while they had problems concerning the organization of co-curricular activities at the low level. 6. In the aspect of utilization of supervision, it was found that, all the Thai language teachers agreed that they got a little advice from the supervisors and they needed more advice from supervisory personnel. Moreover, various methods of supervision were needed at the high level. In the aspect of school supervision, it was practiced at the low level. Thai language teachers all agreed that they needed supervision in every aspect. They agreed that they had problems of supervision at the low level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18306
ISBN: 9745669954
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puangpen_Pl_front.pdf367.12 kBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_ch1.pdf322.06 kBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_ch3.pdf301.62 kBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_ch5.pdf493.65 kBAdobe PDFView/Open
Puangpen_Pl_back.pdf776.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.