Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19478
Title: | อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ : ศึกษาข้อกฎหมายกรณีการลักลอบใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สาย |
Other Titles: | Computer crime : a study on the legal issues of the internet piracy trough wireless network |
Authors: | บุญทัศน์ ยังน้อย |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อินเตอร์เน็ต อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารไร้สาย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สายของผู้อื่น ทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของเจ้าของเครือข่ายไร้สายและในบางกรณีเป็นสาเหตุของการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นด้วย แต่บทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีความครอบคลุมเพียงพอ การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการหาคำตอบว่าการกระทำดังกล่าวควรจะมีรับผิดตามกฎหมายหรือไม่เพียงใด รวมทั้งศึกษาถึงหน้าที่ของเจ้าของเครือข่ายไร้สายที่ควรจะต้องดูแลระมัดระวังเครือข่ายไร้สายของตนมิให้ผู้อื่นมาใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดด้วย ผลการวิจัยพบว่า ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ไม่ได้คุ้มครองเครือข่ายไร้สายที่เจ้าของเครือข่ายไร้สายไม่ได้ตั้งมาตรการป้องกันการเข้าถึงไว้ ส่งผลให้เกิดการลักลอบใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สายได้ อีกทั้งการไม่ตั้งมาตรการป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายไร้สายจะส่งผลให้ผู้ลักลอบใช้เครือข่ายไร้สายกระทำความผิดโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายเป็นเครื่องมือได้โดยง่าย ดังนั้น จึงสมควรที่จะต้องมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อลงโทษผู้ลักลอบใช้เครือข่ายไร้สายของผู้อื่นโดยมีวัตถุประสงค์ในการกระทำความผิด และลงโทษเจ้าของเครือข่ายไร้สายที่ไม่ได้ตั้งมาตรการป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายไร้สายของตนจนเป็นเหตุให้มีการกระทำความผิดขึ้นด้วย |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study matters of law that are about stealing of surfing internet through the others' wireless including domestic and international law beause this action affects the benefit of the wireless host and some case of this is the other causes of computer crime too. On the contrary, the present covenant which is used now does not cover enough. Therefore this research is to search for the answer that whether this action should be responsble in law and to study the duty of the wireless host who should tke care of his own wireless by being careful the othrs who may use it as a tool of doing something wrong The result of the research found that the act of computer mistake of the year of 2550 does not cover the wireless of the host who does not set the measur to protect the acess the stealng of surfing internet through the others' wireless and it affect the smuggler to use the wireless as a tool easily. As a result, it should legislate the law to punish the smuggler who steal using the others wireless whose purpose is the mistake and to penaize the host of wireless who does not set the method of the protection of the access that cause the wrong action too. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19478 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.501 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.501 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
boontut_yo.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.