Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22783
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยทั้ง 4 สถาบัน เกี่ยวกับการเตรียมตัวทางด้านวิชาการ ที่ได้รับจากโรงเรียนเตรียมทหาร
Other Titles: A comparative study on opinions of the 4 groups of cadets concerning academic preparation from the Armed Forces Academies Preparatory School
Authors: อาภาพร กาญจนอัศว์
Advisors: ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายร้อยตำรวจเกี่ยวกับการเตรียมตัวทางด้านวิชาการที่ได้รับจากโรงเรียนเตรียมทหาร ตัวอย่างประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 สถาบัน 1,155 นาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 385 นาย ตอบแบบสอบถามกลุ่มละส่วน แบบสอบถามแต่ละส่วนเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นทางด้านความต่อเนื่องของเนื้อหาหลักสูตร และประเมินพฤติกรรมการเรียนการสอนหมวดวิชาสามัญ ในโรงเรียนเตรียมทหาร ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรและพฤติกรรมการเรียนการสอนในหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และสังคมศาสตร์ ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับหมวดวิชาคณิตศาสตร์แลภาษาไทย ส่วนที่ 3 เกี่ยวกับหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และทหาร-พลานามัย แบบสอบถามแต่ละส่วนนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบประเมินค่า สัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงชนิดสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถาม มีค่าตั้งแต่ 0.52 ถึง 0.99 เมื่อใช้กับตัวอย่างประชากรดังกล่าว ค่าเฉลี่ยและการกระจายของความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยแต่ละสถาบัน แสดงด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักพฤติกรรมการเรียนการสอนหมวดวิชาสามัญทุกหมวดตามประสบการณ์ของตัวอย่างประชากร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของน้ำหนักเฉลี่ยระหว่างคู่โดยการทดสอบค่า F ตามวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียนนายร้อยตำรวจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมตัวทางด้านเนื้อหาหลักสูตรที่ได้รับจากโรงเรียนเตรียมทหารแตกต่างกับนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายเรือ โดยนักเรียนนายร้อยตำรวจ แสดงความคิดเห็นว่า หมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีความจำเป็นและสามารถใช้พื้นฐานในการศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ในระดับน้อย สำหรับหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ หมวดวิชาภาษาไทย และหมวดวิชาสังคมศาสตร์ นักเรียนนายร้อยทั้ง 4 สถาบัน มีความเห็นว่าใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อได้ในระดับปานกลาง วิชาทหารและพลานามัยใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อได้มาก ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินพฤติกรรมการเรียนการสอนหมวดวิชาสามัญในโรงเรียนเตรียมทหารตามประสบการณ์นั้นพบว่า นักเรียนนายร้อยทั้ง 4 สถาบัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ นักเรียนนายร้อยทั้ง 4 สถาบันให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักพฤติกรรมการเรียนการสอนหมวดวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 นักเรียนนายเรืออากาศ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และนักเรียนนายเรือให้ค่าน้ำหนักเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนการสอนวิชาสามัญทุกหมวดวิชาตามประสบการณ์ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนนักเรียนนายร้อยตำรวจมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แตกต่างกันกับนักเรียนทหารบางเหล่าในแต่ละหมวดวิชา นอกจากหมวดวิชาภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the opinions of the 4 groups of cadets which were Army Cadet, Air Force Cadet, Navy Cadet and Police Cadet, concerning the academic training they received from their respective Armed Forces Academies Preparatory School. The First and second year students of these 4 institutions were the sample of this study. They were altogether 1,155 cadets devided into 3 groups, each group consisted of 385 cadets. The questionnaire was devided into various parts asking for the opinion about the4 continuity of the curriculum taught and the evaluation of the teaching and learning of the secular subjects. The first part of the questionnaire was about the curriculum, the teaching and learning of foreign language and Sociology. The second part was about Mathematics and Thai language. And the third part was about Science, military and Physical training. This questionnaire was constructed by the researcher, having the reliability analysed by α- coefficient between 0.52 to 0.99. The average means and the deviation of the opinion of each group showed in the form of Arithmetic means (X̅) and the standard deviation (SD), together with the comparision of the average weight of teaching behavioral of all the secular subject, in accordance with the experiences of the sample and the analysis of variance. And the comparison of the differences of the pair average weighted means by the value of F according to Sheffe’s methods. The result of this study showed that the opinion of the Police Cadet was different from that of the Army Cadet, Air force Cadet and Navy Cadet. They said the study of Science and Mathemetics was necessary and were basic subjects to further their study, for their preparation in lower level. As for the study of foreign language, Thai and Sociology they all agree that these were the basic subjects for them to study in the higher level. The most useful subject was the military and Physical training. As for the result of the analysis about the teaching behavioral of the secular subjects they had more or less the same opinions that was, the students of these 4 institutions valued the level of significance regarding Thai subjects at 0.05. For teaching behavioral of all the secular subjects, the Air Force Cadet, Army Cadet and Navy Cadet valued the level of significance at 0.05 while the Police Cadet valued it differently between 0.05 and 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22783
ISBN: 9745609641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apaporn_ka_front.pdf566.11 kBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_ch1.pdf528 kBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_ch2.pdf694.01 kBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_ch3.pdf511.37 kBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_ch4.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_ch5.pdf620.62 kBAdobe PDFView/Open
apaporn_ka_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.