Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25631
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานฝึกอบรมระหว่างองค์การ ของรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่
Other Titles: comparative study of training administration between large stste and private enterprises in Thailand
Authors: วิโรจน์ สิทธิพลากุล
Advisors: ธนิษฏ์ชัย นาคะสุวรรณ
ไพลิน ผ่องใส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันองค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือธุรกิจเอกชน ต่างก็ให้ความสนใจในการฝึกอบรมมาก ในที่นี้จึงได้เลือกศึกษาเปรียบเทียบในด้านวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ความจำเป็นของการฝึกอบรม ระดับของการฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรม เทคนิคการฝึกอบรม อุปกรณ์และสถานที่ฝึกอบรม การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการฝึกอบรม เพื่อให้ทราบลักษณะที่คล้ายกันและแตกต่างกันอย่างไร มีจุดเด่นและจุดอ่อนอย่างไร การศึกษาครั้งนี้ใช้ตัวอย่างรัฐวิสาหกิจ 9 แห่ง และ ธุรกิจเอกชน 6 แห่ง โดยทำการศึกษาทั้งทางด้านข้อมูล เอกสารต่าง ๆ และการสำรวจ ทั้งในรูปของการสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม จากการศึกษาสามารถสรุปผลได้ดังต่อไปนี้ ในด้านวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมสำหรับองค์การ ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนเน้นมากที่สุดคือ เพื่อพัฒนาผลงานของการปฏิบัติงานให้ดี และเตรียมกำลังคนไว้รองรับการขยายตัวขององค์การในด้านวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมสำหรับพนักงาน ปรากกว่ารัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน เน้นมากที่สุด คือ เพื่อพัฒนาฝีมือ ความสามารถ ทัศนคติ และบุคลิกในการปฏิบัติงาน และเพื่อเรียนรู้งาน วิธีการ และระเบียบการปฏิบัติงานที่มีการนำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ หรือ เปลี่ยนแปลงไป ในด้านการสำรวจหาความจำเป็นในการฝึกอบรม ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนมีการปฏิบัติที่คล้ายกันมากทั้งในด้านลักษณะของการสำรวจ และเทคนิคที่ใช้ในการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม ในด้านระดับของการจัดฝึกอบรม ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญในระดับพนักงาน คนงาน และช่างเทคนิคมากกว่าธุรกิจเอกชน แต่ธุรกิจเอกชนให้ความสำคัญในระดับผู้บริหารชั้นต้น ผู้บริหารชั้นกลาง และผู้บริหารชั้นสูง มากกว่ารัฐวิสาหกิจ ในด้านเทคนิคของการฝึกอบรมปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจเลือกใช้เทคนิคในการฝึกอบรมมากวิธีกว่าธุรกิจเอกชน ในด้านการดำเนินการฝึกอบรม รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจเอกชน มีการจัดฝึกอบรมขึ้นเอง ในกรณีที่มีการจัดส่งคนไปเข้ารับการฝึกอบรมภายนอก รัฐวิสาหกิจนิยมจัดส่งไปตามรัฐวิสาหกิจแห่งอื่น ๆ และสถาบันการศึกษา ซึ่งแตกต่างกับธุรกิจเอกชนคือ นิยมจัดส่งไปตามสมาคมหรือสถาบันทางธุรกิจ ในกรณีที่มีการจัดส่งคนไปอบรมหรือดูงานต่างประเทศนั้น รัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนต่างก็นิยมจัดส่งพนักงานในระดับผู้บริหารชั้นกลางไปมากที่สุด ในด้านที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การฝึกอบรม สถานที่ และอุปกรณ์ผลิตเอกสารในการฝึกอบรมนั้นปรากฏว่าธุรกิจเอกชนมีความพร้อมมากกว่ารัฐวิสาหกิจ ในด้านการประเมินผลการฝึกอบรม รัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือ เพื่อทราบประสิทธิผล และเพื่อทราบข้อบกพร่องในการฝึกอบรม สำหรับเทคนิคในการประเมินผลนั้น รัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนโดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการสังเกต แบบสอบถาม การทดสอบ ควบคู่กันมากที่สุด ในด้านการติดตามผลการฝึกอบรมนั้น ธุรกิจเอกชนมีการติดตามผลการฝึกอบรมมากกว่ารัฐวิสาหกิจ สำหรับเทคนิคในการติดตามผลการฝึกอบรมนั้นคล้ายกันคือ ผู้บังคับบัญชาของผู้ผ่านการฝึกอบรมคอยสังเกตผลการปฏิบัติงานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางใด ในด้านที่เกี่ยวกับปัญหาในการฝึกอบรม ปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนต่างก็มีปัญหาที่สำคัญที่สุดคล้ายกัน 4 ประการคือ ปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานอื่น ๆ ขององค์การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล ปัญหาเกี่ยวกับการสำรวจวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม ปัญหาเกี่ยวกับวิทยากรในด้านต่าง ๆ ปัญหาเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่หน่วยฝึกอบรมไม่เพียงพอ ในที่นี้ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วย
Other Abstract: Today governmental organizations, state and private enterprises are paying increasing attention to training. In the present case the study is confined to comparison between state and private organization regarding training objectives, training needs, levels of training, training organization, training techniques, equipment and location, evaluation and follow-up of training. Problems related to training are also investigated to try to identify the similarities and differences in their characteristic. Samples used in this study consists of nine state enterprises and six private organizations. The study involves documentary research, questionnaires and field interviews. The results of the study are as follows: with regard to organizational objectives both state and private enterprises emphasize development of operational efficiency and the preparation for organizational expansion. Personnel objectives of the training also are found to be similar in that both aim at development of skill, ability, attitude and personality suitable for work environment. Training is also used for the purpose of teaching new technology, work method or when there is a change in work rules and regulation. Similar techniques of identifying training needs are used by both state and private enterprises a[superscript 1] though for the former, training itself are conducted are conducted for operative personnel relatively more than management personnel whereas for the private enterprises the situation is the opposite. More varieties of training technqies are put into practice by state enterprises and when they send their personnel outside for training the sources for state organizations are other government or state organizations or educational institutions but for private enterprises opt for professional or management associations. As far as training in foreign countries is concerned, both state and private enterprises send their middle-management level personnel out more frequently than other levels. With respect to training equipment, facilities and location if seems that private enterprises are in a relatively mare well-prepared state. About the evaluation of training it is found that both state and private organizations wants to measure their training effectiveness and any possible weaknesses in the training program. Evaluation techniques used are: observation, questionnaires and tests. As training follow-ups, it is found that private enterprises perform this function more actively although their follow-up techniques are similar in that both rely upon the observation of behavior changes by the trainees’ immediate supervisors. Private enterprises and state-owned organizations’ do have several similar problems which can be grouped into four headings: effective utilization of the training unit by other functions of the organization, survey of training needs, training instructors, and the inadequate manpower strength of the training organization Possible solutions to those problems are suppested.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25631
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Viroj_Si_front.pdf937.2 kBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch1.pdf639.63 kBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch2.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch3.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch4.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch5.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_ch6.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Viroj_Si_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.