Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25723
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสุขศึกษา เกี่ยวกับการใช้หลัดสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of school administrators and health education teachers concerning the implementation of health education curriculum B.E. 2524 at the upper secondary education level in government schools in Bangkok Metropolis
Authors: ชัยยุทธ กุลตังวัฒนา
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูสุขศึกษาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูสุขศึกษาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามขึ้น 2 ชุด และส่งไปยังผู้บริหาร 186 คน และครูสุขศึกษา 186 คน ได้รับแบบสอบถามจากผู้บริหารคืนมา 152 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.72 และครูสุขศึกษา 154 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.79 นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าที (t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ ด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันและเห็นด้วยในระดับมากกว่า จุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย จุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาสุขศึกษามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชา และเขาคาดว่าโรงเรียนสามารถสอนให้บรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาสุขศึกษาแต่ละข้อได้ในระดับมาก ด้านโครงสร้างและเนื้อหารายวิชา ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากกับการที่หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนดให้วิชาสุขศึกษาเป็นวิชาบังคับ แต่เห็นว่าจำนวนหน่วยกิตมีความเหมาะสมน้อย ส่วนเนื้อหาเห็นว่ามีความสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย สอดคล้องกับสภาพและปัญหาสุขภาพของสังคม เหมาะสมกับวัยและความพร้อมของผู้เรียน เนื้อหาส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนมากในเรื่องความรู้และทัศนคติ แต่ส่งเสริมการปฏิบัติน้อย สำหรับหนังสือเรียนวิชาสุขศึกษา ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีเนื้อหาตรงตามหลักสูตร ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ใช้สำนวนภาษาน่าอ่านเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากว่าวิธีสอนแบบการสาธิตและฝึกปฏิบัติ การแบ่งกลุ่มค้นคว้า การสอนแบบแก้ปัญหา การอภิปราย มีความเหมาะสมในระดับมากสำหรับที่จะนำมาใช้ในการสอนวิชาสุขศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนวิธีสอนที่มีความเหมาะสมในระดับน้อยคือ การสอนแบบสืบสวนสอบสวน การสอนแบบศูนย์การเรียน ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากว่าครูสุขศึกษาควรใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้นเองหรือจัดทำโดยหมวดวิชา สำหรับการใช้สื่อการสอนวิชาสุขศึกษา ผู้บริหารและครูสุขศึกษาเห็นว่าโปสเตอร์และรูปภาพเป็นสื่อการสอนที่ใช้ในระดับมาก ด้านการวัดและประเมินผล ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนมีความเห็นว่าครูสุขศึกษามีความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการประเมินผลการเรียนและสามารถปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวได้ในระดับมาก ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าโรงเรียนจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสะอาดของโรงเรียน และโรงเรียนจัดให้มีการจัดประกวดความสะอาดของห้องเรียนในระดับมาก ด้านปัญหาและความต้องการ ผู้บริหารและครูสุขศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีปัญหาการใช้หลักสูตรในระดับน้อย และมีความต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรวิชาสุขศึกษาและต้องการให้ครูสุขศึกษาได้รับการส่งเสริมทางวิชาการในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสุขศึกษาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน
Other Abstract: The purposes of the study were to: study the opinions of school administrators and health education teachers concerning the implementation of health education curriculum B.E. 2524 at the upper secondary education level; and compare the opinions of school administrators and health education teachers concerning the implementation of health education curriculum at the upper secondary education level. Two sets of questionnaires were developed and mailed to 186 school administrators and 186 health education teachers. The 152 accounted for 81.72 percent and 154 accounted for 82.79 percent questionnaires were returned, respectively. The questionnaires were statistically analyzed by mean of percentage, means, standard deviations. The t-test was also employed to determine the significant differences. The findings revealed as follows: Objective of the Curriculum: Most school administrators and health education teachers accepted that the objectives of health education curriculum were strongly relevant to the upper secondary education curriculum, and the subject’s objectives were in accord with the objectives of health education curriculum. Both groups thought that each item of the curriculum’s objectives could be accomplished. Structure and Contents: Most school administrators and health education teachers strongly agreed that health education was a required subject, but they hardly agreed on the numbers of credits assigned. Both group thought that the contents were relevant to objectives of the upper secondary education level, state and problems of society’s health, and suitable to students’ ages and readiness. The health contents highly encouraged the students’ health behaviors in the aspects of knowledges and attitudes but less encouraged in health practices. Health education textbooks were thought to be relevant to the curriculum and scientific principles, relate to daily life. Also, the language used was suitable to students’ ages. Teaching and Learning Process: Most school administrators and health education teachers strongly agreed that the teaching methods as to the demonstrations and practices, group reports, problem solving, and group discussions, were highly suitable methods to be used at the upper secondary education level. The less suitable teaching methods were inquiry and learning-center methods. Both groups were in strongly accord that the lesson plans should be prepared by health education teachers or, otherwise, by their departments. Measurement and Evaluation: Most school administrators and health education teachers complied with the principles of evaluative criteria of the upper secondary education. They also thought that the health education teachers knew quite well about the evaluative criteria and could easily implement. Co-curricular Activities: Most school administrators and health education teachers thought that the most co-curricular activity successfully undertaken in schools was the classroom cleanliness competition. Problems and Needs: Most school administrators and health education teachers agreed that the problems related to curriculum implementation were little. Both group needed to participate in curriculum development. Health education teachers needed strongly academic support. Generally, the comparison of opinions between the school administrators and health education teachers concerning the implementation of the curriculum in the upper secondary education level revealed that there was no significant difference among all major areas at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25723
ISBN: 9745641529
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyut_Ku_front.pdf593.71 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_ch1.pdf377.83 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_ch2.pdf494.24 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_ch3.pdf327.92 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_ch5.pdf927.46 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ku_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.