Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25943
Title: | การเปรียบเทียบความเที่ยงแบบสอบซ้ำของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่มีจำนวนรายการคำตอบต่างกัน |
Other Titles: | A comparison of test-retest reliabilities of likert attitude scale with different numbers of categories |
Authors: | วิยะดา หอธรรมอนันต์ |
Advisors: | เยาวดี วิบูลย์ศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายในค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำ ความแตกต่างของค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายใน ของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3, 4, 5, 6, และ 7 รายการ และความแตกต่างของค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3, 4, 5, 6, และ 7 รายการ โดยเว้นช่วงเวลาระหว่างการสอบครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (สอบซ้ำ) 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 620 คน ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูธนบุรี วิทยาลัยครูสวนสุนันทา และวิทยาลัยครูจันทรเกษม วิทยาลัยครูละ 155 คน ใช้แบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพครู เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หาความเที่ยง แบบความคงที่ภายใน โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และหาค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำ โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน แล้วเปรียบเทียบค่าความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์ ซี ของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายใน ของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท 1.1 ในการทดสอบครั้งที่ 1 ค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายในของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่ได้จากมาตราวัดที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3 – 7 รายการไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายในที่ได้จากมาตราวัดที่มีจำนวนรายการคำตอบ 5, 6, และ 7 รายการ ให้ค่าสูงกว่าค่าความเที่ยงของมาตราวัดที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3 และ 4 รายการ 1.2 ในการทดสอบครั้งที่ 2 ค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายใน ของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่ได้จากมาตราวัดที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3 – 7 รายการ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกัน และค่าความเที่ยงแบบความคงที่ภายใน ที่ได้จากมาตราวัดที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3 – 7 รายการ เป็นอิสระจากจำนวนรายการคำตอบ 2. ค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำของมาตราวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ที่มีจำนวนรายการคำตอบ 3 – 7 รายการ ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และค่าความเที่ยงที่ได้จะเป็นอิสระจากจำนวนรายการคำตอบ แต่ค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำของมาตราวัดที่ใช้ช่วงเวลาในการสอบซ้ำ 2 และ 3 สัปดาห์ ให้ค่าสูงกว่าค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำของมาตราวัดที่ใช้ช่วงเวลาในการสอบซ้ำ 1 และ 4 สัปดาห์ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to investigate the internal consistency reliability, test-retest reliability and the differences of reliability coefficients of the Likert Attitude Scale, which contained three, four, five, six and seven categories of response; groups were tested and retested under one, two, three and four week intervals. The Likert Scale used for data collection included an Attitude Scale towards Teaching Professional. The sample employed in this research consisted of 620 students at the first year level of The Higher Certificate in Education from Bansomdej Choapraya Teachers College, Thonburi Theachers College, Suan-Sunanta Teachers College and Chandrakasem Teachers College. The data were analyzed by computing the reliability coefficient, using Cronbach’s Alpha Coefficient for the internal consistency reliability and The Pearson Product Moment Correlation for the test-retest reliability. The fisher’s Z Transformation was employed in comparing the reliability of attitude scale. The research results were: 1. In the first test, the internal consistency reliabilities of The Likert Attitude Scale, containing responses from three to seven categories, showed no significant differences at 0.5 level. The reliability coefficients of the scale which contained responses five, and seven categories were higher than those of three and four categories. 2. In the retest, the internal consistency reliabilities of the Likert Attitude Scale containing responses from three to seven categories showed no significant differences at 0.5 level, and the reliability coefficients of the scale were found to be independent of the number of scale points. 3. The test-retest reliability coefficients of the Likert Scale containing responses from three to seven categories showed no significant differences at 0.5 level. The test-retest reliability coefficients of the scale which contained responses from three to seven categories were independent of the number of scale steps employed. The test-retest reliability coefficient of the scale tested at intervals of two and three weeks were higher than one and four weeks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25943 |
ISBN: | 9745634514 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Viyada_Ho_front.pdf | 489.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_ch1.pdf | 551.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_ch2.pdf | 723.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_ch3.pdf | 475.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_ch4.pdf | 486.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_ch5.pdf | 381.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Viyada_Ho_back.pdf | 620.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.