Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26006
Title: การแยกและการทำให้บริสุทธิ์ของกรดไฮยาลูโรนิกจากการหมักด้วยเยื่อแผ่นกรอง
Other Titles: Isolation and purification of hyaluronic acid from fermentation by membrane filtration
Authors: อัจฉรา สุจิตวนิช
Advisors: นลิน นิลอุบล
ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2547
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการแยกกรดไฮยาลูโรนิกเพื่อให้มีความบริสุทธิ์เหมาะสมกับการนำไปใช้งานจากน้ำหมัก โดยเลี้ยงเชื้อ Streptococcus zooepidermicus UN-7 เพื่อผลิตกรดไฮยาลูโรนิกในระดับถังหมักขนาด 5 ลิตร ซึ่งได้ความเข้มข้นของกรดไฮยาลูโรนิกในน้ำหนัก 1,995 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อนำน้ำหมักก่อนแยกเซลล์มาสกัดกรดไฮยาลูโรนิกที่ติดอยู่กับเซลล์โดยใช้โซเดียมโดเดซิลซัลเฟต พบว่าปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกเพิ่มขึ้นเป็น 2,122 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนนี้ส่งผลต่อให้น้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกลดลง และอาจเพิ่มส่วนประกอบของเซลล์ปนเปื้อนในน้ำหมัก จึงไม่นำวิธีการสกัดกรดไฮยาลูโรนิกด้วยโดเดซิลซัลเฟตมาใช้ ดังนั้นจึงแยกกรดไฮยาลูโรนิกโดยนำน้ำหมักที่แยกเซลล์ออกแล้ว มาตกตะกอนกรดไฮยาลูโรนิกด้วย 95 เปอร์เซ็นต์เอทิลแอลกอฮอล์ โดยใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 2 ส่วนต่อน้ำหมัก 1 ส่วน นำตะกอนที่ได้มาละลายในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.2 โมลาร์ และดูดซับโปรตีนที่ปนเปื้อนด้วยถ่านกัมมันต์ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการอัลทราฟิลเทรชัน โดยใช้เยื่อแผ่นที่มี molecular weight cut off 300,000 ดาลตัน เพื่อจำกัดสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลเล็ก เมื่อผ่านกระบวนการข้างต้นพบว่าได้สารละลายกรดไฮยาลูโรนิกที่มีความเข้มข้น 2,100 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำหนักโมเลกุลอยู่ในช่วง 2.1 ถึง 2.3 x 106 ดาลตัน มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 83.79 และมีผลผลิตร้อยละ 65.24 ของปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกในน้ำหมักเริ่มต้น นอกจากนี้ยังไม่พบการปนเปื้อนโปรตีนจากการวิเคราะห์โดยวิธีลาวรี เมื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพ คือ อุณหภูมิ และ ความเร็วรอบของการกวน และปัจจัยเคมี คือ ค่าความเป็นกรดด่าง และ เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกที่เตรียมได้ พบว่า น้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกลดลงประมาณร้อยละ 20 เมื่อบ่มที่อุณหภูมิ 50 70 และ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 0.5 และ 0.08 ชั่วโมง ตามลำดับ เมื่อความเร็วรอบของการกวน 200 และ 400 รอบต่อนาที เป็นเวลา 4 และ 0.5 ชั่วโมง ตามลำดับ เมื่อค่าความเป็นกรดด่างเป็น 1 3 และ 13 เป็นเวลา 0.5 1 และ 0.25 ชั่วโมง ตามลำดับ และเมื่อมีการปนเปื้อนของเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดสเพียง 0.5 ไมโครกรัมต่อมมิลลิลิตร หรือคิดเป็น 0.5 ยูนิตของเอนไซม์ต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 0.10 ชั่วโมง
Other Abstract: The purpose of this research was to study the purification of hyaluronic acid for futher application. Hyaluronic acid was produced by Streptococcus zooepidermicus UN-7 in a 5-liter fermentor and the product concentration was 1,995 mg/l. Culture cells in fermentation broth was treated with sodium dodecyl sulfate to remove membrane bound hyaluronic acid. The hyaluronic acid concentration was raised to 2,122 mg/l. However its molecular weight was decreased and this step may increase contamination of fermentation broth with intracellular components, therefore, this step was not used in the purifying process. Hyaluronic acid at the ratio of ethyl alcohol to culture broth of 2 : 1. The precipitate was redissolved in 0.2 M sodium chloride solution. The protein was adsorbed by activated carbon and the low molecular weight contaminants were removed by ultrafiltration using 300,000 dalton molecular weight cut off membrane. The final concentration of hyaluronic acid solution was 2,100 mg/l with molecular weight in the range of 2.1-2.3 x 106 dalton. The purity was 83.79 percent The yield was 65.24 percent of the initial hyaluronic acid content. The contaminated protein was undetectable by Lowry method. The effects of variables on the molecular weight of the prepared hyaluronic acid were studied. The physical factors were temperature and stirring speed. The chemical factors were pH and enzyme hyaluronidase. It was found that, the molecular weight decreased approximately 20 percent at temperature 50, 70 and 100 ℃ for 48, 0.5 and 0.08 hours respectively or stirring speed of 200 and 400 rpm for 4 and 0.5 hours respectively or maintain at pH 1, 3 and for 13 for 0.5, 1 and 0.25 hour respectively or in the presence of enzyme hyaluronidase only µg/ml or 0.5 unit enzyme activity/ml for 0.10 hour.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26006
ISBN: 9741761066
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atchara_su_front.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch1.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch2.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch3.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch4.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_ch5.pdf744.44 kBAdobe PDFView/Open
Atchara_su_back.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.