Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26502
Title: การลดของเสียที่เกิดจากการไม่ผ่านการทวนสอบของเครื่องปรับความสมดุลในสายการประกอบแผ่นบันทึกข้อมูลโดยวิธีซิกซ์ ซิกม่า
Other Titles: Defect reducation from verify failed of balancer machine in hard disk drive assembly line by six sigma
Authors: ปรีชา สุดาทิพย์
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: การวิจัยนี้เสนอแนวทางการควบคุมคุณภาพโดยใช้แนวทางของซิกซ์ ซิกม่า เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการการประกอบชุดหัวอ่านสำเร็จ อันเนื่องมาจากข้อบกพร่องต่างๆ โดยนำวิธีการตามแนวทางซิกซ์ ซิกม่า มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความดุลแผ่นบันทึกข้อมูลในกระบวนการปรับดุล ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ของลูกค้า และหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของปัจจัยดังกล่าวในการผลิตที่จะทำให้ปริมาณของเสียลดลง โดยหน่วยวัดผลระดับการปรับปรุงของการวิจัยที่กำหนดคือ อัตราส่วนของเสียที่เกิดขึ้นซึ่งก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีของสัดส่วนของเสียที่เกิดจากการไม่ผ่านการทวนสอบเท่ากับ 2.90% ขั้นตอนการวิจัยดำเนินตามวิธีการทางซิกซ์ ซิกม่า ทั้ง 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นตอนนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต ตามลำดับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ สามารถกำหนดค่าของระดับของปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสมดุลในกระบวนการปรับดุลแผ่นบันทึกข้อมูลในฮาร์สดิสก์มีค่าเฉลี่ยลดลงจากเดิมโดยการนำปัจจัยนำเข้าทั้ง 2 ปัจจัยมาทำการออกแบบการทดลอง โดยใช้วิธีการ 22 Full Factorial Design โดยจากการวิเคราะห์หาระดับที่เหมาะสมของการปรับค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อทำให้ได้ค่าความแตกต่างน้อยที่สุดของค่าความสมดุลหลังจากผ่านการหมุนสกรูหลังการปรับดุล โดยการกำหนดค่าแรงการหมุนสกรูก่อนการปรับดุล (Pre-Torque) เท่ากับ 0.8 in.lb และแรงในการหมุนสกรูหลังการปรับดุล (Final Torque) เท่ากับ 4.4 in.lb แล้วทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลก่อนนำไปใช้งานจริงในกระบวนการผลิต จากนั้นทำการควบคุมปัจจัยนำเข้าที่สำคัญทั้งสองด้วยกระบวนการเชิงสถิติในขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ จากข้อมูลหลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่า มีปริมาณของเสียที่เกิดจากการไม่ผ่านการทวนสอบเกิดขึ้น 515 ชิ้นงานของการผลิต 37850 ชิ้นงาน ซึ่งคิดเป็น 1.36 เปอร์เซ็นต์โดยก่อนการปรับปรุงมีของเสีย 1254 ชิ้นงานของการผลิต 43218 ชิ้นงานหรือ 2.90% ดังนั้นหลังการปรับปรุงของเสียลดลง 1.54% หรือลดลง 53% ของอัตราส่วนของเสียเดิม
การวิจัยนี้เสนอแนวทางการควบคุมคุณภาพโดยใช้แนวทางของซิกซ์ ซิกม่า เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการการประกอบชุดหัวอ่านสำเร็จ อันเนื่องมาจากข้อบกพร่องต่างๆ โดยนำวิธีการตามแนวทางซิกซ์ ซิกม่า มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความดุลแผ่นบันทึกข้อมูลในกระบวนการปรับดุล ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ของลูกค้า และหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของปัจจัยดังกล่าวในการผลิตที่จะทำให้ปริมาณของเสียลดลง โดยหน่วยวัดผลระดับการปรับปรุงของการวิจัยที่กำหนดคือ อัตราส่วนของเสียที่เกิดขึ้นซึ่งก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีของสัดส่วนของเสียที่เกิดจากการไม่ผ่านการทวนสอบเท่ากับ 2.90% ขั้นตอนการวิจัยดำเนินตามวิธีการทางซิกซ์ ซิกม่า ทั้ง 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นตอนนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต ตามลำดับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ สามารถกำหนดค่าของระดับของปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสมดุลในกระบวนการปรับดุลแผ่นบันทึกข้อมูลในฮาร์สดิสก์มีค่าเฉลี่ยลดลงจากเดิมโดยการนำปัจจัยนำเข้าทั้ง 2 ปัจจัยมาทำการออกแบบการทดลอง โดยใช้วิธีการ 22 Full Factorial Design โดยจากการวิเคราะห์หาระดับที่เหมาะสมของการปรับค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อทำให้ได้ค่าความแตกต่างน้อยที่สุดของค่าความสมดุลหลังจากผ่านการหมุนสกรูหลังการปรับดุล โดยการกำหนดค่าแรงการหมุนสกรูก่อนการปรับดุล (Pre-Torque) เท่ากับ 0.8 in.lb และแรงในการหมุนสกรูหลังการปรับดุล (Final Torque) เท่ากับ 4.4 in.lb แล้วทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลก่อนนำไปใช้งานจริงในกระบวนการผลิต จากนั้นทำการควบคุมปัจจัยนำเข้าที่สำคัญทั้งสองด้วยกระบวนการเชิงสถิติในขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ จากข้อมูลหลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่า มีปริมาณของเสียที่เกิดจากการไม่ผ่านการทวนสอบเกิดขึ้น 515 ชิ้นงานของการผลิต 37850 ชิ้นงาน ซึ่งคิดเป็น 1.36 เปอร์เซ็นต์โดยก่อนการปรับปรุงมีของเสีย 1254 ชิ้นงานของการผลิต 43218 ชิ้นงานหรือ 2.90% ดังนั้นหลังการปรับปรุงของเสียลดลง 1.54% หรือลดลง 53% ของอัตราส่วนของเสียเดิม
Other Abstract: The objective of this research is to reduce the number of defects in hard disk drive assembly process. Six Sigma Approach is applied not only to study the factors influencing the imbalance and the product specification limit, but also to identify the appropriate operative conditions for reducing defects. The efficient improvement is measure by the defect rate . The current process has defect rate of Verify Failed is 2.90 %. The study has been proceeded according to the five-phase improvement models of Six Sigma methodology. The process begins with defining phase, measuring phase, analyzing phase, improving phase and controlling phase respectively. The results of the process is to determine KPlVs that significantly effect to imbalance value of before and alter final torque process. Two KPlVs have been used to perform and experiment with 22 Fractional Full Factorial with 5 center points in improvement phase. It is found that the appropriate average pre-torque value is 0.8 in.Ib, and final torque value is 4.4 in.lb. The preliminary experiments are conducted to confirm the results before applying to production line. Finally, the results of statistical analysis are set at the process of control phase. The data of Verify Failed defect after process improvement shows 515 drives of 37850 drives produced which is equal to 1.36 % of amount of defect .The defect before improving is 1254 drives of 43218 drives produced which is equal 2.90%.So, Verify Failed defect is reduced 1.54% or 53% of defect rate before process improvement.
Description: วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26502
ISBN: 9741746571
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_sud_front.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch1.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch2.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch3.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch4.pdf10.64 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch5.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch6.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch7.pdf821.44 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch8.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_ch9.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sud_back.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.