Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26696
Title: | ปัญหาของครูพลานามัยเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรหมวดวิชาพลานามัย ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับปี พ.ศ. 2518 ของโรงเรียนรัฐบาล ในเขตการศึกษา 2 |
Other Titles: | Problems of physical education teachers in implementing the upper secondary school syllabus 2518 B.E. of government school in educational region 2 |
Authors: | สำเร็จ มณีเนตร |
Advisors: | อนันต์ อัตชู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | หลักสูตร พลานามัย -- หลักสูตร |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาของครูพลานามัยในการใช้หลักสูตรหมวดวิชาพลานามัยประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับปี พ.ศ. 2518 ของโรงเรียนรัฐบาในเขตการศึกษา 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งสอบถามครูพลานามัยจำนวน 23 คน ที่สอนอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 2 ปรากฏว่าได้รับแบบสอบถามคืนมาทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ผลของการวิจัยพบว่า ควรแยกวิชาพลศึกษา สุขศึกษา และจุดมุ่งหมายของวิชาทั้งสองออกจากกัน เนื้อหาวิชาสุขศึกษามีมากแต่กำหนดเวลาเรียนไว้น้อย การใช้หลักสูตรโรงเรียนยังเตรียมบุคลากร คู่มือหลักสูตร และประมาลการสอนยังไม่พร้อม ศึกษานิเทศก์ไม่ค่อยได้ช่วยเหลือแก้ปัญหาการใช้หลักสูตร เนื้อหาวิชาพลศึกษาที่เป็นวิชาบังคับยังไม่เหมาะสม โรงเรียนขาดอุปกรณ์การสอนวิชาสุขศึกษา การวัดและประเมินผลโรงเรียนใช้เกณฑ์ของโรงเรียนซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กรมพลศึกษาเสนอแนะไว้ ในส่วนของหลักสูตรเหมาะสม คือกำหนดวิชาเลือก 3 หน่วยกิตต่อภาคเรียน จุดประสงค์ของหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้ เนื้อหาวิชาพลศึกษาเหมาะสมกับเวลาเรียน อาจารย์ใหญ่ หัวหน้าสาย หัวหน้าหมวด ให้ความสนับสนุนวิชาพลศึกษา สุขศึกษา |
Other Abstract: | The purpose of this study was to survey the problems of physical education teachers in implementing the upper secondary school syllabus 2518 B.E. of government schools in educational region 2. The questionnaires, as the tool of this study, were sent to 23 teachers who taught health and physical education at the sampled schools. The questionnairs were all returned. The data were statistically treated to find the percentage. It was found that physical education should be separated from health education in both subject matter and objectives. The content of health education was too wide in scope to teach in the given time. the handbooks and personnel were not enough prepared for the curriculum. The supervisors seldomly helped solving the problems of implementing the curriculum. The content of physical education, the required subject, was not suitable. The schools were short of teaching equipment of health education. The measurement and evaluation process of the subject was in agreement with the criteria as set up by the Department of Physical Education. However, there were a few suitable parts of the curriculum, the credits of the electives, the obtainable objectives, the content of physical education being suitable with the given time, and the principals, the Department heads, and the Subject heads being cooperative. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samret_Ma_front.pdf | 404.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_ch1.pdf | 688.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_ch2.pdf | 523.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_ch3.pdf | 272.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_ch4.pdf | 882.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_ch5.pdf | 304.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samret_Ma_back.pdf | 747.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.