Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26823
Title: การเพิ่มอัตราการทำลายผิวถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในลักษณะเป็นช่องแคบโดยการพัฒนาเครื่องมือทำลายคอนกรีตรูปแบบใหม่
Other Titles: Productivity improvement for demolition of narrow channel reinforced concrete pavement by developing a new concrete demolition tool
Authors: พลสินธุ์ สุวรรณ
Advisors: ธนิต ธงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: ในการวางท่อประปาในเขตตัวเมืองมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แนวท่อประปาจะต้องตัดผ่านแนวถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งในบางจุดที่แนวท่อประปาตัดผ่านมีความจำเป็นที่จะต้องมีการตัดและทำลายผิวถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยลักษณะการตัดและทำลายผิวถนนคอนกรีตเสริมเหล็กจะเป็นลักษณะเป็นแนวช่องแคบ ซึ่งความกว้างของช่องแคบที่จะทำลายขึ้นอยู่กับเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อประปาที่ตัดผ่าน โดยความกว้างของช่องประมาณ 30-50 เซนติเมตร และผิวถนนคอนกรีตมีความหนา 15-20 เซนติเมตร จากการสำรวจข้อมูลจากผู้รับเหมางานวางท่อประปาจำนวน 22 ราย พบว่าในขั้นตอนการเจาะทำลายผิวถนนคอนกรีตนั้นผู้รับเหมางานวางท่อประปา ส่วนมากนิยมใช้เครื่องเจาะคอนกรีตชนิดอาศัยแรงกระแทกจากแรงอัดอากาศ อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องมือดังกล่าวยังประสบปัญหาดังนี้คือ ชุดเครื่องมือมีราคาสูง มีเสียงดังต่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียง ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาแนวทางการเพิ่มอัตราการทำลายผิวถนนคอนกรีตและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้เครื่องเจาะคอนกรีตชนิดอาศัยแรงกระแทกจากแรงอัดอากาศ โดยแนวทางที่เลือกใช้คือการออกแบบและสร้างเครื่องมือทำลายคอนกรีตชนิดใหม่คือ “เครื่องทุบคอนกรีตชนิดชักรอก” ซึ่งในขั้นตอนการเจาะทำลายผิวถนนคอนกรีตจะนำเครื่องทุบคอนกรีตชนิดชักรอกมาทำการทดสอบทำลายผิวถนนคอนกรีตเสริมเหล็กแทนการใช้เครื่องเจาะคอนกรีตชนิดอาศัยแรงกระแทกจากแรงอัดอากาศขนาด 90 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที โดยผลการทดสอบเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องเจาะคอนกรีตชนิดอาศัยแรงกระแทกจากแรงอัดอากาศได้ผลดังนี้คือ อัตราการทำลายผิวถนนคอนกรีตสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.9 ต้นทุนการผลิตลดลง การเคลื่อนย้ายสะดวกขึ้น ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง
Other Abstract: To install the water supply pipes in a city, demolition of reinforced concrete pavement is usually found due to the intersection of water pipes and concrete roads. The demolition is normally a 30 - 50 centimeters narrow channel with 15 - 20 centimeters of concrete thickness, depending on the sizes of installed pipes. From the interviews of 22 water supply system contractors, the traditional tool that most water supply system contractors use for demolishing concrete pavement is a pneumatic breaker. However, the pneumatic breaker has many disadvantages to Thai Contractors. First, this demolition tool is expensive since it is imported from overseas. It produces noise and vibration to operators and nearby residents. It is also inconvenient to move and provides unfavourable conditions to the operators if they operate it for long time. This research is a study of the productivity improvement of reinforced concrete pavement demolition. The proposed alternative is a design and development of a new concrete demolition tool. The developed tool utilizes the direct impact of the 113 kilograms hammer on reinforced concrete pavement to break concrete into pieces. It is experimented to compare with the popularly used 90 cubic foot per minute pneumatic breaker. The results show that the average productivity of concrete demolition increases by 51.9 percents. The new tool produces lower noise and vibration and increase safety for operators. Since it is produced locally, the cost of development is comparatively very low. Although it has some limitations to be improved, the tool offers a better mobilization with a shorter time to be installed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26823
ISBN: 9741736304
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pholsin_su_front.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch1.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch2.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch3.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch4.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch5.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_ch6.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Pholsin_su_back.pdf9.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.