Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27192
Title: ระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: A level of English reading ability of students aat the lower secondary education level
Authors: วีณา สังข์ทองจีน
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเปรียบเทียบระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในแต่ละระดับชั้น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1,440 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน คือสุ่มจังหวัดในแต่ละเขตการศึกษาและท้องที่การศึกษาในกรุงเทพมหานครมาร้อยละ 25 แล้วสุ่มโรงเรียนในแต่ละจังหวัด และในแต่ละท้องที่การศึกษาที่สุ่มได้มาร้อยละ 10 ได้โรงเรียน 24 โรง จากนั้นผู้วิจัยจึงสุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่สุ่มได้ด้วยวิธีการสุ่ม แบบง่ายมาชั้นละ 20 คน รวมเป็นโรงเรียนละ 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวัดระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ใช้ในการทดสอบให้สอดคล้องกับระดับพฤติกรรมการอ่าน ทั้ง 5 ระดับ ของรีเบ็คกา เอ็ม วาเล็ต และเรอเน เอส ดิสิค แบบสอบนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน และทดลองใช้สอบ 2 ครั้ง จนได้ข้อสอบอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ได้ คือมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 - .55 และค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .21 - .80 และค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ .78 ได้ข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ แบ่งเป็น 5 ตอน ๆละ 20 ข้อ ได้แก่ ระดับที่ 1 ระดับทักษะด้านกลไก ระดับที่ 2 ระดับความรู้ ระดับที่ 3 ระดับการถ่ายโอน ระดับที่ 4 ระดับการสื่อสาร และ ระดับที่ 5 ระดับการวิเคราะห์วิจารณ์ ให้เวลาในการทดสอบ 1 ชั่วโมง 40 นาที แล้วนำแบบสอบวัดระดับความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่คัดเลือกไว้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่าอัตราส่วนวิกฤติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนรวมทั้งฉบับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เท่ากับ 52.24 58.12 และ 63.38 ตามลำดับ ส่วนค่ามัชฌิมเลขคณิตในแต่ละระดับของนักเรียนแต่ละชั้นจะเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามระดับที่ 1-5 ดังนี้ คือ 1.1 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตั้งแต่ระดับ 1-5 มีค่าเท่ากับ 17.31 14.17 8.96 6.91 และ 4.89 1.2 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตั้งแต่ระดับ 1-5 มีค่าเท่ากับ 17.64 15.38 10.33 8.40 และ 6.37 1.3 ค่ามัชฌิมเลขคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งแต่ระดับ 1-5 มีค่าเท่ากับ 17.85 16.15 12.19 9.83 และ 7.36 2. เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ คือ ถ้าค่ามัชฌิมเลขคณิตในระดับใด เกิน 15 คะแนน ให้ถือว่านักเรียนมีความสามารถผ่านระดับนั้น พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษถึงระดับที่ 1 คือ ระดับทักษะด้านกลไก โดยค่ามัชฌิมเลขคณิตในระดับนี้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 17.31 ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษถึง ระดับที่ 2 คือ ระดับความรู้ โดยค่ามัชฌิมเลขคณิตในระดับที่ 1 และ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 17.64 และ 15.38 ตามลำดับ ค่ามัชฌิมเลขคณิตในระดับที่ 1 และ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 17.85 และ 16.15 ตามลำดับ 3. เมื่อเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตของตัวอย่างประชากรด้วยอัตราส่วนวิกฤติ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งคะแนนรวมทั้งฉบับ และคะแนนในแต่ละระดับ ยกเว้นระดับที่ 1 ที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
Other Abstract: The purposes of this study were to study the level of English reading ability of students at the lower secondary education level and to compare English reading ability of the students among the groups. The sample of this study consisted of 1,440 matayom suksa one to three students in lower secondary schools under the Department of General Education, Ministry of Education. They were selected by means if multi-stage stratified random sampling. First, twenty-five percent of provinces and educational zones were drawn from twelve educational regions and Bangkok Metropolis. Then, twenty-four schools, ten percent of all the schools in the target provinces and educational zones, were selected at random. Finally, sixty students in each of these schools selected by means of simple random sampling were asked to participate in this study. The researcher constructed an English reading proficiency test with the objectives and the contents in accordance with the five reading levels proposed by Rebecca M. Valette and Reńee S. Disick. The content validity and the appropriateness of the test were checked by six experts in English teaching field. The test were tried out twice until the power of discrimination of the test was .20 - .55 and the level of difficulty was between .21 and .80 and the reliability of the test was .78. The test consisted of one hundred items graded into five distinctive levels: Mechanical Skills, Knowledge, Transfer, Communication, and Criticism. In each level, there were twenty items. The students were given one hour and forty minutes to do the test. The obtained data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and t – test. The main findings of this study were as follows: 1. The average scores in all levels of matayom suksa one to three were 52.24 58.12 and 63.38 respectively. The average scores of the students in each level of each individual group were ranged from the first to the fifth level as follows: 1.1 The average scores in each level of matayom suksa one students were 17.31, 14.17, 8.96, 6.91 and 4.89 respectively. 1.2 The average scores in each level of matayom suksa two students were 17.64, 15.38, 10.33, 8.40 and 6.37 respectively. 1.3 The average scores in each level of matayom suksa three students were 17.85, 16.15, 12.19, 9.83 and 7.36 respectively. 2. In comparing with the criterion set by the researcher, fifteen marks were counted as the passing score in each level, it was found that matayom suksa one students were able to pass the first level-Mechanical Skills- with the average score of 17.31. Matayom suksa two and three students were able to pass the first and the second levels- Mechanical Skills and Knowledge. The average scores in the first and the second levels of matayom suksa two students were 17.64 and 15.38 and matayom suksa three students were 17.85 and 16.15 respectively. 3. To compare the average scores of the sample by t-test, it was found that the average score of matayom suksa two students was significantly higher than matayom suksa one students at the .01 level and the average score of matayom suksa three students was also significantly higher than matayom suksa one and two students at the .01 level in all levels and in each individual level expect for the first level- Mechanical Skills, in which the average score of matayom suksa three students was significantly higher than that of matayom suksa two students at the .05 level. It retained the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27192
ISBN: 9745681024
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_su_front.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_ch1.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_ch2.pdf18.79 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_ch3.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_ch5.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Weena_su_back.pdf15.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.