Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29695
Title: ผลของการให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันและการคิดหาเหตุผลที่ขัดแย้งกัน ที่มีต่อการชะลอการได้รับความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of contradicting information and contradicting reasons on delay of cratification of students in prathom suksa one
Authors: สุวิมล นราองอาจ
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันและการคิดหาเหตุผลที่ขัดแย้งกันที่มีต่อการชะลอการได้รับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนในกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันมีความสามารถในการชะลอการได้รับความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนในกลุ่มทดลองที่มีการคิดหาเหตุผลที่ขัดแย้งกันมีความสามารถในการชะลอการได้รับความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนในกลุ่มทดลองที่มีการคิดหาเหตุผลที่ขัดแย้งกันมีความสามารถในการชะลอการได้รับความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ในระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลอง – นักเรียนในกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลที่ขัดแย้งกันตัดสินใจเลือกรับรางวัลในระยะทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ - นักเรียนในกลุ่มทดลองที่มีการคิดหาเหตุผลที่ขัดแย้งกันตัดสินใจเลือกรับรางวัลในระยะทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ - นักเรียนในกลุ่มควบคุมตัดสินใจเลือกรับรางวัลในระยะทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ในระยะติดตามผลนักเรียนในกลุ่มควบคุมมีความสามารถในการชะลอการได้รับความพึงพอใจมากกว่าในระยะทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม จำนวน 108 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 36 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นรายบุคคล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบไคสแควร์
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of contradicting information and contradicting reasons on delay of gratification of students in prathom suksa one. Results show that : 1. Students in the treatment group with contradicting information showed significantly more delay of gratification than students in the control group. (p < .05) 2. Students in the treatment group with contradicting reasons showed significantly more delay of gratification than students in the control group. (p < .05) 3. Students in the treatment group with contradicting reasons showed significantly more delay of gratification than students in the treatment group with contradicting information. (p < .05) 4. On the follow up phase 2 weeks after the treatment phase - There was no significant difference in the decision to recieve rewards between the treatment phase and the follow up phase among the students in the treatment group with contradicting information. - There was no significant difference in the decision to recieve rewards between the treatment phase and the follow up phase among the students in the treatment group with contradicting reasons. - There was significant difference in the decision to recieve rewards between the treatment phase and the follow up phase among the students in the control group at the .05 level : On the follow up phase students in the control group showed more delay of gratification than on the treatment phase. Subjects were 108 prathom suksa one students from Watpailom School Amphor Muang, Changwat Nakorn Pathom. The student were equally devided into two treatment groups and one control group. They were individually tested. The data were analysed by using the chi-square test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29695
ISBN: 9745762113
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwimon_na_front.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_ch1.pdf11.36 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_ch2.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_ch3.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_ch4.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_ch5.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_na_back.pdf15.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.