Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33206
Title: การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย
Other Titles: Communication and identity discourses of the elderly in Thai society
Authors: กำจร หลุยยะพงศ์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ผู้สูงอายุ -- ไทย
อัตลักษณ์
การสื่อสารกับวัฒนธรรม
การสื่อสาร -- แง่สังคม
Older people -- Thailand
Identity (Philosophical concept)
Communication and culture
Communication -- Social aspects
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพวางอยู่บนกรอบแนวคิดอัตลักษณ์ของสำนักวัฒนธรรมศึกษา ซึ่งสนใจอำนาจที่กำหนดผู้สูงอายุทั้งอำนาจจากผู้อื่นและตัวผู้สูงอายุเอง และเพื่อจะแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทั้งสองด้านของผู้สูงอายุไทย งานวิจัยชิ้นนี้จะใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ โดยศึกษาเอกสาร และศึกษาผู้สูงอายุสองกลุ่มที่ต่างกันในแง่พื้นที่และฐานะ คือ กลุ่ม OPPY และชมรมผู้สูงอายุ ต.โพธิ์ไทรงามจ.พิจิตรผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เหรียญด้านแรก อัตลักษณ์ผู้สูงอายุถูกกำหนดจากสถาบัน 5 แห่งคือ สังคม การแพทย์ รัฐ เศรษฐกิจ และการสื่อสาร จนทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นวัตถุ นอกจากนั้น อัตลักษณ์ผู้สูงอายุยังมีความหลากหลายจนสามารถจำแนกได้ตามอำนาจของสังคมที่กำหนดแบ่งตามยุค คือ ยุคแรกสังคมเกษตรกรรม: ความชราตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีพระคุณ และร่างกายอ่อนแอตามสังขาร ยุคที่สอง สังคมอุตสาหกรรม: การจัดระเบียบความชรา จะเป็นยุคที่สถาบันการแพทย์ รัฐ เป็นสถาบันหลักระบุว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่อ่อนแอ พึ่งพิง จึงจำเป็นต้องก้าวมาจัดระเบียบ ส่วนอัตลักษณ์ที่มีอยู่เดิมนั้นถูกลดระดับเป็นอัตลักษณ์รอง และยุคที่สาม สังคมข้อมูลข่าวสาร: ความชราที่จัดการได้ เป็นยุคที่สถาบันการสื่อสาร ใช้แนวทางการแพทย์และสังคมสมัยใหม่เริ่มให้ผู้สูงอายุผู้ที่สามารถจัดการตนเองได้ เป็นผู้ที่ชะลอหรือหยุดยั้งความชราในเหรียญอีกด้าน แม้สถาบันสังคมกำหนดความหมายอย่างเข้มข้น แต่ผู้สูงอายุบางกลุ่มกลับมีอำนาจในการต่อสู้ต่อรองอัตลักษณ์ อาทิ ปฏิเสธอัตลักษณ์ด้านลบคือความอ่อนแอและพึ่งพิง แต่ก็เลือกยอมรับอัตลักษณ์บางส่วนที่เหมาะกับตน เช่น ความกตัญญู และการเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมชาติ อีกทั้งสร้างความหมายใหม่ด้วยการยืนยันความเชี่ยวชาญในบางด้าน โดยที่กลุ่ม OPPY สร้างอัตลักษณ์ “ผู้สูงวัยหัวใจไฮเทค” ส่วนชมรมผู้สูงอายุ ต.โพธิ์ไทรงาม กำหนดว่า “ผู้สูงอายุคือผู้มีศักยภาพต่อชุมชน” นอกจากนั้นผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มยังได้ผนวกอัตลักษณ์เดิมขอตน เช่น ผู้รู้ ผู้มีฐานะ เพื่อยืนยันตัวตนในแง่บวกอัตลักษณ์ผู้สูงอายุของสังคมไทยจึงเป็นทั้งอำนาจที่ถูกสังคมกำหนด ในเวลเดียวกันภายใต้กรอบที่กำหนดผู้สูงอายุก็ยังสามารถคัดเลือก ต่อรอง รวมถึงประกอบอัตลักษณ์ด้านอื่นๆ เข้ามาเป็นตัวตนของตน
Other Abstract: Adopting a cultural studies theory, this research project aims to examine how old-aged identities are constructed and reconstructed by old persons and other people. To reveal this construction of selves in Thai society, the project draws on Foucault’s concept of power and Fairclough’s discourse analysis approach, exploring two different elderly communities: the OPPY internet community inBangkok and the old people club in Po-Sai-Gnam district, Phichit province. The research project proved that Thai old people are defined by five significant institutions,namely, social institutions, medical institutions, the state, economic institutions and media institutions.There are three phases in which identities of the Thai elderly are generated. In the first phase, or in anagricultural period, oldness is regarded to be natural. Inspired by Buddhism, an old-agedperson is seenas an expert, a respectful person and a person whose body is decayed by a law of nature. In the secondphase, or in an industrial period, elderly people are viewed by the state and medical institutions asvulnerable, and dependent. Thus their identities are crucially disciplined by political power of the stateand medical institutions. And in the third phase, or in the period ofinformation society, ageing is(re)constructed and manipulated by media institutions under modern medical knowledge. That is to say,with medical science, old-aged identities can be managed by old people themselves.Nevertheless, whilst meanings of old people are defined by social mechanisms, old peoplehave a capacity to negotiate with these constructed images and meanings. For instance, although old people embrace respectful and expertise identities, they may reject vulnerable and dependent selves.Members of the OPPY internet community construct an identity of “old-aged but hi-tech”. Old people in the Po-Sai-Ngam club define themselves to be a contributor to their local village. In this sense, old people produce and reproduce self-identities in a positive way.Investigating discursive practices of the elderly, this thesis concludes that on the one hand,ageing identities in Thai society are dominated by social power. On the other hand, in these practices,old people, to some extent, have a potential to select, negotiate and articulate their self-identities
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33206
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.300
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.300
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamjohn_lo.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.