Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55673
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของชายรักชาย ความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์ และการสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้ง กับความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของชายรักชาย
Other Titles: ASSOCIATIONS OF SEXUAL MINORITY STRESS, SEXUAL SATISFACTION, AND CONFLICT-RESOLUTION COMMUNICATION ON RELATIONSHIP SATISFACTION OF GAY MEN
Authors: ณัชชา วิรัชวัฒนกุล
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Panrapee.S@Chula.ac.th,cpanrapee@yahoo.com
isompoch@hotmail.com
Subjects: รักร่วมเพศชาย
การสื่อสารระหว่างบุคคล
ความเครียด (จิตวิทยา)
Male homosexuality
Interpersonal communication
Stress (Psychology)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของชายรักชาย การสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้ง 3 รูปแบบ (ได้แก่ การสื่อสารแบบต่อว่า การสื่อสารแบบถอนตัว และ การสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ทางบวก) รวมทั้ง ความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์ ที่มีต่อ ความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ของชายรักชาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นชายรักชาย 450 คนที่กำลังมีคนรัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ (α =.57-.92) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1.) การสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้งแบบปฏิสัมพันธ์ทางบวก การสื่อสารแบบถอนตัว และ ความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์ ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของชายรักชายได้ร้อยละ 46 โดยการสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ทางบวกและความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์มีอิทธิพลทางบวก ในขณะที่การสื่อสารแบบถอนตัวมีอิทธิพลทางลบ 2.) การสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้งแบบปฏิสัมพันธ์ทางบวก การสื่อสารแบบถอนตัว ความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์ และ ความเครียดของชายรักชาย ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ของชายรักชายได้ร้อยละ 40 โดยการสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ทางบวกและความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์มีอิทธิพลทางลบ ในขณะที่การสื่อสารแบบถอนตัวมีอิทธิพลทางบวก ประเด็นที่น่าสังเกตคือ ความเครียดของชายรักชาย สามารถอธิบาย ความไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ ของชายรักชาย แต่ไม่สามารถอธิบายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเมื่อคู่รักชายรักชายยังมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์ดีอยู่ ความเครียดของชายรักชาย จะไม่ส่งผลลบต่อความสัมพันธ์ แต่เมื่อไรก็ตามที่ชายรักชายเกิด ความไม่พึงพอใจในความสัมพันธ์ อิทธิพลจาก ความเครียดของชายรักชาย ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อความสัมพันธ์ของคู่รักได้
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the associations of sexual minority stress, sexual satisfaction, and three types of conflict-resolution communication (i.e., positive communication, withdrawal communication, and criticism communication) with relationship satisfaction and relationship dissatisfaction among gay men. Data were collected from 450 homosexual men who reported to be in a romantic relationship. Participants completed five scales (α=.57-.92). Using multiple regression analyses, results have revealed that; 1.) Positive communication and sexual satisfaction were positively associated with relationship satisfaction, whereas withdrawal communication yielded the negative association. The predictors in the model explained 46 percent of variance of the relationship satisfaction. Results have indicated that gay men with higher scores on positive communication and sexual satisfaction, but lower scores on withdrawal communication, tended to have better relationship satisfaction. 2.) Positive communication and sexual satisfaction were negatively associated with relationship dissatisfaction while withdrawal communication and, interestingly, sexual minority stress yielded positive associations on the criterion variable. The predictors in the model explained 40 percent of variance of the relationship dissatisfaction. Results have indicated that gay men with low scores on positive communication and sexual satisfaction, but high scores on withdrawal communication and sexual minority stress, tended to dissatisfied with their romantic relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55673
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.310
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.310
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877607938.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.