Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64504
Title: บทบาทของพื้นที่โล่งว่างในชุมชนแออัด : กรณีศึกษาชุมชนพัฒนาการ 1 และชุมชนคลองด่าน เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The role of outdoor space in slum communities : case studies of Pattanakarn1 and Klong Dan Yannawa District, Bangkok
Authors: กฤติยา ไชยธนะสัณฑิต
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: พื้นที่โล่ง
ชุมชนแออัด
ชุมชนพัฒนาการ1 (กรุงเทพฯ)
ชุมชนคลองด่าน (กรุงเทพฯ)
Open spaces
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงบทบาทของพื้นที่โล่งว่างต่อการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะการใช้พื้นที่ภายใต้ข้อจำกัดในชุมชนแออัด ทำการศึกษาโดยวิธีการสังเกตการณ์และออกแบบสอบถามเป็นหลัก และเพื่อที่จะเก็บข้อมูลจากพื้นที่มาใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ จึงได้กำหนดทบทวนวรรณกรรมและสำรวจพื้นที่จำแนกลักษณะการใช้ประโยชน์พื้นที่โล่งว่างของผู้อยู่อาศัยในชุมชนออกเป็น 2 ลักษณะคือ การใช้พื้นที่เพื่อการจอดหรือวางวัตถุอุปกรณ์ และเพื่อการประกอบกิจกรรม โดยแบ่งวัตถุ อุปกรณ์ที่จอดหรือวางอยู่บนพื้นที่โล่งว่างออกเป็น 4 ประเภทหลักคือ ยานพาหนะอุปกรณ์ประกอบอาชีพ อุปกรณ์เกี่ยวกับครัวเรือน และอุปกรณ์เฉพาะกิจกรรม (อุปกรณ์กีฬาและเครื่องเล่นเด็ก) และแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ กิจกรรมจำเป็น กิจกรรมทางเลือก และกิจกรรมสังคม ถึงแม้ว่ากิจกรรมการเล่นของเด็ก ๆ จะจัดเป็นกิจกรรมสังคมประเภทหนึ่ง แต่ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาแบ่งกิจกรรมของเด็กออกมาเพื่อทำการศึกษาเฉพาะ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะการใช้พื้นที่เฉพาะ จากการศึกษาพบว่า พื้นที่โล่งว่างในชุมชนแออัดเป็นพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในชุมชนเป็นพื้นที่มีบทบาทต่อการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันและกิจกรรมเพื่อการสันทนาการต่าง ๆ ของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นอย่างมาก โดยบทบาทของพื้นที่โล่งว่างที่จัดได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนแอออัดคือ บทบาทในการเป็นพื้นที่รองรับการใช้ประโยชน์ในการจอดหรือวางวัตถุ อุปกรณ์ที่ล้นออกมาจากตัวอาคารพักอาศัยในชุมชน หรือเพื่อทดแทนพื้นที่ใช้สอยที่ขาดหายไปจากตัวอาคารในชุมชน โดยสภาพทางกายภาพของพื้นที่โล่งว่างที่ไม่ได้รับการออกแบบหรือวางแผนในชุมชนแออัดนั้นมีบทบาทในการส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในด้านการปะทะสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังพบว่าการที่พื้นที่โล่งว่างในชุมชนแออัดเป็นพื้นที่ที่มีบทบาทในการรองรับกิจกรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้พื้นที่โล่งว่างบางส่วนมีการซ้อนทับกันของกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ การปรับปรุงหรือพัฒนาพื้นที่โล่งว่างในชุมชนแออัดจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการปะทะสัมพันธ์ของผู้อาศัยในชุมชนแออัดเป็นอย่างมาก โดยการพัฒนาจะต้องอาศัยความร่วมมือและการพัฒนาในหล่ายด้านร่วมกัน ตั้งแต่การจัดการภายในชุมชน ความช่วยเหลือจากหน่วยงานท้องถิ่น การพัฒนาปรับปรุงสภาพทางกายภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แลเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว หน่วยงานวางแผนทางด้านกายภาพหรือหน่วยงานวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินควรจะต้องพิจารณาเอาพื้นที่ที่พักอาศัยหนาแน่นมากนี้เข้าร่วมในการวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ด้วย
Other Abstract: The objective of the thesis is to study the role of outdoor space in the everyday life o f crowded communities' residents. This study leads to the better understanding of how to utilize the outdoor space within the limitation of crowded communities. The research is mainly conducted by observations and questionnaires. Literature surveys and targeted physical surveys also have been done in order to collect the data for quantitative analysis. Outdoors space utilization in crowded communities is classified into two (2) major categories: Outdoors space utilization for equipment installations and outdoors space for utilization for activities. The former is sub div ide d into four (4) main groups: spaces for vehicles, professional tools, household equipments, and specific equipments for a particular activity (i.e., sport equipments and children toys.) Similarly, the latter is subdivided into 4 main groups: necessary activities, optional activities, social activities and children activities. It is notable to break up children activities into a new group, event though it is a part of social activities, du e to its special characteristic in outdoor space utilization. According to the study, a free space in crowded communities is closely related to dwellers' ways of life. The spaces have a strong impact both on residents' working behaviors and recreational activities. The interesting characteristic of the spaces is to use as storage for the surplus or as working space extended from the dwelling. Physically, an unorganized free space in the communities is both favorable and unfavorable to the communities at the same time, especially in people interaction. Moreover, being used for various activities, the free space with overlapped activities ten ds to cause a conflict within the community. The development of this free space in crowded communities will greatly affect the improvement in quality of life and interaction among the residents. However, in order to achieve this goal, the cooperation from numerous portions is needed; ranging from community management, supports from local authorities, physical developments from related organizations as well as, importantly, a land use plan which takes into account the significant in crowded communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64504
ISBN: 9740310117
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittiya_ch_front_p.pdf887.11 kBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch1_p.pdf773.94 kBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch2_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch3_p.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch4_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch5_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_ch6_p.pdf959.22 kBAdobe PDFView/Open
Krittiya_ch_back_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.