Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64541
Title: การศึกษาการจัดการนิเทศครูเครือข่ายของครูแกนนำตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูแกนนำ เพื่อเป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Study of the leader teacher's supervision organization for teacher networks in the project on the promotion and development of leader teachers to be models of the learning process reform in secondary schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis
Authors: สาลินี เลิศอัคฆากร
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Boonmee.n@chula.ac.th
Subjects: การนิเทศการศึกษา
ครูต้นแบบ
การปฏิรูปการเรียนรู้
Supervised study
Learning
Issue Date: 2544
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการกัดการนิเทศครูเครือข่ายของครูแกนนำ ตามโครงการส่งเสริมเละพัฒนาครูแกนนำเพื่อเป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ ศึกษา กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ครูแกนนำในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 607 คน ได้รับคืนและมีสภาพสมบูรณ์ จำนวน 480 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 79.07 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความที่และหาค่า ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมการจัดการนิเทศ พบว่า ครูแกนนำ มีการวางแผนการจัดการนิเทศโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหรือภาพปัจจุบันปัญหาจาก ข้อมูลปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนของครูเครือข่าย มีการเตรียมบุคลากรโดยจัดการนิเทศครูเครือข่ายร่วมกับครูแกนนำคนอื่น ๆ การเตรียมกำหนดช่วงเวลาการนิเทศจะพิจารณาจากความพร้อมของครูเครือข่ายที่จะรับการนิเทศ มีการจัดทำตารางการนิเทศครูเครือข่ายโดยการนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง / คน ปัญหาที่พบ คือ ครูมีความกังวลว่าต้องเพิ่มภาระงาน ครูแกนนำไม่ได้รับการยอมรับจากครูเครือข่าย และ ทั้งครูเครือข่ายและครูแกนนำมิภาระงานมาก การดำเนินการนิเทศ พบว่า เทคนิคการนิเทศในห้องเรียน คือ การสังเกตการสอน เทคนิคการนิเทศนอกห้องเรียน คือ การปรึกษาหารือ เรื่องที่ดำเนิน การนิเทศ คือ วิธีการสอน , เทคนิคการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการติดตามนิเทศระหว่างการดำเนินการและมีการสอบถามให้คำแนะนำแก่ครูเครือข่ายโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการในครั้งต่อไป ปัญหาที่พบ คือขาดงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนิเทศ และครูแกน นำมเวลาในการนิเทศติดตามน้อย การประเมินผลการจัดการนิเทศ พบว่า มการประเมินผลในช่วงหลังการดำเนินการเครื่องมือในการประเมินผล คือ แบบสอบถาม ครูแกนนำทราบผล จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูเครือข่ายหลังได้รับการนิเทศ ปัญหาที่พบ คือ ครูแกนนำขาดความรูความเข้าใจในการประเมิน และ ไม่ได้รับความร่วมมือในการประเมิน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the states and problems of the leader teacher’s supervision organization for teacher networks in the project on the promotion and development of leader teachers to be models of the learning process reform in secondary schools under the Department of General Education , Bangkok Metropolis. Data were gathering from 607 leader teachers 1480 copies of questionnaire counted for 79.07 percent were completed and returned. The data were analyzed by means of frequency distribution and percentage. The findings were as follows : At the preparation stage ; Leader teachers planned the supervising activities by starting with conducting need assessment on instruction of network teachers. Network teachers were prepared together with other leader teachers. Supervising schedule was prepared according to the readiness of network teachers by which each network teachers will be supervised once a month. Problems founded were the anxiety of network teachers on more work load 1 leader teachers were less recognized , and both network teachers and leader teachers had heavy work load. At the operation stage ; Classroom supervising techniques found was classroom observation whereby outside classroom supervising techniques was consultation. Supervision task found was instructional technique and methods with emphasized on child-centered techniques . A follow-up was conducted during the operation through discussion and advising by aimed at improving the supervising operation. Problems founded were in appropriated of budget and supervising materials , and leader teachers had insufficient time. At the evaluation stage ; An evaluation was conducted after the supervising activities through a questionnaire, Leader teachers evaluated the network teachers through an observation. Problems founded were leader teachers had Insufficient knowledge on evaluation, and they had less cooperation on evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64541
ISBN: 9740306527
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salinee_lo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ856.02 kBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_ch1_p.pdfบทที่ 1826.1 kBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_ch2_p.pdfบทที่ 21.89 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_ch3_p.pdfบทที่ 3668.43 kBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_ch4_p.pdfบทที่ 41.59 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_ch5_p.pdfบทที่ 51.06 MBAdobe PDFView/Open
Salinee_lo_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.