Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65441
Title: กระบวนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป : กรณีศึกษา โครงการชลลดา รัตนาธิเบศร์
Other Titles: Housing construction process using partial precast technique : a case study of Chonlada Ratanatibeth Housing project
Authors: บุษบง เจริญพันธ์โยธิน
Advisors: ชวลิต นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chawalit.N@Chula.ac.th
Subjects: บ้านสำเร็จรูป
อาคารสำเร็จรูป
การสร้างบ้าน
Prefabricated houses
Buildings, Prefabricated
Dwellings -- Design and construction
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยเรื่องกระบวนการก่อสร้างที่อาศัยโดยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป กรณีศึกษาโครงการชลลดา รัตนาธิเบศร์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปและศึกษาถึงกระบวนการก่อสร้างที่อยู่ อาศัยที่นำเอาระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปนี้มาร่วมใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงการศึกษาด้านคุณภาพ ระยะเวลา และต้นทุนของการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป โดยการนำแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 95 ตารางเมตร มาเป็นกรณีศึกษา การดำเนินวิธีวิจัยใช้วิธีการเฝ้าสังเกต จดบันทึก และถ่ายภาพเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปในการก่อสร้าง จากผลการศึกษากระบวนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโครงการชลลดา รัตนาธิเบศร์ คือ ระบบการก่อสร้างที่นำเอาชิ้นส่วนสำเร็จรูปคอนกรีตเสริมเหล็กมาร่วมใช้ในการก่อสร้างโครงการการที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนการก่อสร้างรวม 950 หสัง รูปแบบของอาคารในโครงการมีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 95 ถึง 150 ตารางเมตร ในส่วนของโครงสร้างคานคอดิน(คานซอย), เสา, คาน,แผ่นพื้นห้องน้ำและแผ่นพื้นระเบียง เป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ทำการผลิตในโรงงานที่ตั้งอยู่ในโครงการมาร่วมใช้ในการก่อสร้าง ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหล่านี้มีการประดิษฐ์ให้มีแผ่นเหล็กยึดเกาะฝังไว้ในเนื้อคอนกรีตตามจุดรอยต่อ จากนั้นจึงทำการเชื่อมรอยต่อโดยการเชื่อมทาบแผ่นเหล็กเข้าด้วยกัน เพื่อให้การประกอบโครงสร้างบ้านมีความแข็งแรงตามแบบก่อสร้าง แผ่นเหล็กยึดเกาะนี้มีกระบวนการติดตั้งกับชิ้นส่วนของชิ้นงาน โดยการประกอบแผ่นเหล็กลงในแบบหล่อเสาและคานตามตำแหน่งที่ต้องการก่อนทำการเทคอนกรีตหล่อชิ้นงาน การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้ทำการผลิตในโรงงานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณโครงการที่ทำการก่อสร้าง(Factory on site) ใช้พื้นที่ในการสร้างโรงงานจำนวน 2 ไร่ มีต้นทุนการก่อสร้างโรงงานจำนวน 2,285,259 บาท การขนย้ายชินส่วนสำเร็จรูปที่ผลิตสำเร็จเพื่อประกอบติดตั้งยังตัวอาคารที่ทำการก่อสร้างใช้รถเครนน้ำหนัก 21 ตันเป็นตัวยกชิ้นส่วนสำเร็จรูปในการประกอบติดตั้ง จากแบบบ้านที่ทำการศึกษา 1 วันสามารถประกอบติดตั้งได้จำนวน 4 หลัง ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า การก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 95 ตารางเมตร ในอัตราส่วนการก่อสร้างจำนวน 10 หลังด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีการใช้แรงงานรวมทั้งหมด 22 คน แบ่งเป็นผู้จัดการโครงการ 1 คน ช่างคุมงาน 3 คน ฝ่ายการผลิตมีช่างไม้ 7 คนและช่างเหล็ก 3 คน ฝ่ายติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีช่างติดตั้ง 7 คนและช่างเชื่อมเหล็กผู้ชำนาญการที่มีใบรับรอง 1 คน รวมเวลาการดำเนินการผลิตและติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นจำนวน 22 วัน มีต้นทุนในการผลิตและติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นจำนวน 153,063 บาทต่อหลังหรือ 1,611 บาทต่อตารางเมตรระยะเวลาทำการวิจัยอยู่ในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2545ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2546
Other Abstract: The main purposes of this study were to research the process of partial precast techniques and the use of partial precast in housing construction. In addition, it studied the partial precast in terms of quality, duration and cost based on the construction of two-storey detached houses with functional areas of 95 square meters. The study was carried out through observing, recording and taking photographs of the manufacturing process and installation process. According to the case study, 950 houses were built by using precast reinforced concrete. They were detached houses with functional areas between 95 square meters and 150 square meters. Ground pole post, beams, bathroom floor and porch floor were ready-made products manufactured in a factory on site. Such products were equipped with iron sheets implanted in the concrete where bonding areas were. The products were joined together by soldering the iron sheets to strengthen the house. The factory covered an area of 2 rai. Its construction cost was 2,285,259 baht. The products were transported to the construction site by a crane weighing 21 tons. During a 1-day observation, by using precast products 4 houses could be finished. To finish 10 two-storey detached houses with a 95-square-meter functional area by using precast products, 22 people were involved. They were 1 project manager, 3 supervisors, 7 carpenters, 3 blacksmiths, 7 installation workers and 1 expert in iron soldering. This expert had to have a certificate. The construction lasted 22 days. The total cost of manufacturing and installing the products was 153,063 baht per house or 1,611 baht a square meter. The duration of the study was from June, 2002 to January, 2003
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65441
ISBN: 9741720807
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Butsabong_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ940.71 kBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1724.25 kBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.34 MBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3864.46 kBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.13 MBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch5_p.pdfบทที่ 57.29 MBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch6_p.pdfบทที่ 61.45 MBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_ch7_p.pdfบทที่ 7764.54 kBAdobe PDFView/Open
Butsabong_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.