Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ นลราชสุวัจน์-
dc.contributor.authorขวัญวดี เชียรชัยนิรัติศัย, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2020-05-25T12:09:37Z-
dc.date.available2020-05-25T12:09:37Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9745313718-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66019-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น2 ส่วน โดยมีวัตถุประสงค์และผลการวิจัย ดังนี้ การวิจัยส่วนที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารและความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้สมรส และเปรียบเทียบการสื่อสารและความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้สมรสที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาการสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สมรสจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดการสื่อสารและความพึงพอใจในชีวิตสมรสวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ ด้วยวิธีของ Dunnett’s T3 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้สมรสใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องและแบบยึดติดเหตุผลในระดับปานกลางใช้การสื่อสารแบบคล้อยตามและแบบเฉไฉในระดับค่อนข้างน้อย และใช้การสื่อสารแบบตำหนิผู้อื่นในระดับน้อย และมีความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระดับสูง 2. ผู้สมรสหญิงใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสชาย ผู้สมรสที่มีระยะเวลาการสมรส 2-10 ปี ใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสที่มีระยะเวลาการสมรส 11-25 ปี ผู้สมรสที่ไม่มีบุตรใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสที่มีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ผู้สมรสที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพลงไป และผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 10,000 บาทต่อเดือนใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตํ่ากว่า 10,000 บาทต่อเดือน 3. ผู้สมรสที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปใช้การสื่อสารแบบยึดติดเหตุผลมากกว่าผู้สมรสที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพลงไป และผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ย 30,001 - 60,000 บาทต่อเดือนใช้การสื่อสารแบบยึดติดเหตุผลมากกว่าผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตํ่ากว่า 10,000 บาท ต่อเดือน 4. ผู้สมรสที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีความพึงพอใจในชีวิตสมรสมากกว่าผู้สมรสที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพลงไป โดยภาพรวมผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่ามีความพึงพอใจในชีวิตสมรสมากกว่าผู้สมรสที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตํ่ากว่า การวิจัยส่วนที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการสื่อสารระหว่างผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงและผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากงานวิจัยส่วนที่ 1 ได้ผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูง 48 คนและผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำ 56 คน รวม 104 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงใช้การสื่อสารแบบสอดคล้องมากกว่าผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2) ผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงใช้การสื่อสารแบบไม่สอดคล้อง อันได้แก่ การสื่อสารแบบตำหนิผู้อื่นและแบบเฉไฉน้อยกว่า (p< .001) และใช้การสื่อสารแบบยึดติดเหตุผลมากกว่าผู้สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ในขณะที่ใช้การสื่อสารแบบคล้อยตามไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThis research was divided into 2 parts; the purposes and the results are as follow: Part I investigated communication and marital satisfaction of married persons and compared the communication of married persons. The participants were 325 persons who are different in gender, age, stage of marital, number of children, education and monthly income per couple. The instruments used were a Communication Test; and a Marital Satisfaction Test. Data was analyzed using basic statistics, a one-way ANOVA design, followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett’s T3 test. The major findings were 1) Married persons moderately used congruent and super reasonable communication; mildly used placating and irrelevant communication and hardly used blaming communication; and married persons had high level of marital satisfaction. 2) Female married persons used congruent communication than male married persons; 2-10 year married persons used congruent communication more than 11-25 year married persons; and non child married persons used more congruent communication than married persons who have 3 children or more; married persons with bachelor degree (or higher) used congruent communication more than married persons with high school or occupational certification; and married persons with income more than 10,000 bath per month used congruent communication more than married persons with income less than 10,000 bath per month. 3) Married persons with bachelor degree (or higher) used super reasonable communication more than married persons with high school or occupational certification. 4) Married persons with bachelor degree (or higher) scored higher in marital satisfaction than married persons with high school or occupational certification. In general, married persons with higher average income scored higher in marital satisfaction than married persons with low average income. Part II compared communication between married persons with high level and low level of marital satisfaction. The participants which was selected from study I, were 48 married persons with high level and 56 married persons with low level of marital satisfaction. The t-test was utilized for data analysis. The results were as follow: 1) Married persons with high level of marital satisfaction significantly used congruent communication more than married persons with low level of marital satisfaction (p < .001). 2) Married persons with high level of marital satisfaction significantly used blaming and irrelevant communication less than married persons with low level of marital satisfaction (p < .001) and significantly used super reasonable communication more than married persons with low level of marital satisfaction (p < .05) while there is no difference in placating communication.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคู่สมรส -- การสื่อสารen_US
dc.subjectคู่สมรส -- ทัศนคติ -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectSpouses -- Communicationen_US
dc.subjectSpouses -- Attitudes -- Psychological aspectsen_US
dc.titleการสื่อสารกับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้สมรสen_US
dc.title.alternativeCommunication and marital satisfaction of married personsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKannikar.N@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kwanwadee_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ886.29 kBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1882.67 kBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.15 MBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.04 MBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6844.24 kBAdobe PDFView/Open
Kwanwadee_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.