Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67754
Title: ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู
Other Titles: Effects of teacher participatory program design for teacher professional development
Authors: ปริญญา มีสุข
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siripaarn.S@Chula.ac.th
Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: ครู
วิชาชีพ
Teachers
Professions
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทาง วิชาชีพของครู 2) ออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู และ 3) ศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู วิธีวิจัยที่ใช้เป็นการประยุกต์ใช้การวิจัยและพัฒนา โดย มีกระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสำรวจสภาพปัจจุบันของการออกแบบโปรแกรม ระยะ ออกแบบโปรแกรมการพัฒนาครู และระยะทดลองใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างของการสำรวจ เป็นครูในเขต กรุงเทพมหานครจำนวน 406 คน จาก 3 สังกัดได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การออกแบบโปรแกรมใช้กลุ่มตัวอย่างครู 14 คน จากโรงเรียนเอกชนที่ สอนระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 1 โรงเรียนร่วมออกแบบ และการทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างครู 14 คน จากโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2 โรงเรียน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัย 1) ครูส่วนใหญ่มีการใช้รูปแบบการพัฒนาทางวิชาชีพ 8 รูปแบบ ได้แก่ การฝึกอบรม การสังเกต การ มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา การศึกษาเป็นกลุ่มโดยคณะครูทั้งโรงเรียน การวิจัยปฏิบัติการ การเรียนรู้ด้วย ตนเอง การมีระบบพี่เลี้ยง และการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และพบว่าครูใช้รูปแบบการพัฒนาทางวิชาชีพ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุดและใช้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาน้อยที่สุด วิธีการออกแบบโปรแกรมใน ปัจจุบันเป็นการออกแบบแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานและการออกแบบแบบผสมผสานเป็นส่วนใหญ่ และโรงเรียน ทั้งสามสังกัดมีค่าเฉลี่ยความสำเร็จของโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียนสังกัด กทม.พบความสำเร็จ ของโปรแกรมมากที่สุด รองลงมาคือโรงเรียนสังกัด สช. และโรงเรียนสังกัด สพฐ. พบความสำเร็จของโปรแกรม น้อยที่สุด 2) การออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู โดยใช้การประเมินความ ต้องการจำเป็นทำให้ครูมีส่วนร่วมในการออกแบบโปรแกรมมากยิ่งขึ้น 3) ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างครูที่มีส่วนร่วมในการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพ มีความสำเร็จสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างครูที่ไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research is conducted with three objectives; (1) to explore present status of Teacher Professional Development Program design (2) to design Teacher Participatory Professional Development Program and (3) to study the effects of Teacher Participatory Professional Development Program, Using the Research and Development method, this research involved 3 phases; the exploratory phase, the design phase, and the experimental phase. Subjects randomly selected for the exploratory phase included 408 teachers from 3 sectors of schools in Bangkok including Office of the Basic Education Commission (OBEC), Department of Education Bangkok Metropolitan Administration (BMA), and Office of the Private Education Commission (OPEC). Data were collected via survey form. For the design phase, 14 primary teachers from private schools were selected for Teacher Participatory Professional Development Program, while during the experimental phase, 14 teachers from 2 schools were recruited for the purpose of comparing the participatory results. Research findings were:- 1) For the exploratory phase, most teachers used 8 types of development programs including workshop, observation, ,collaboration, school project, classroom action research, self learning, coaching, and further studying at the graduate level, with self learning was employed the most and further education was employed the least. Present program design was mostly a school based approach blended with a mixed method program design. It was also found that average success scores of schools from three sectors were at a moderate level, BMA’s schools got the most success, followed by OBEC’s schools and OPEC’s schools respectively. 2) For the design phase, it was found that needs assessment research could stimulate teachers to participate more in the program design. 3) For the experimental phase, higher success was significantly found from those joining Teacher Participatory Professional Development Program than from those who did not join the program. (P<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67754
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.637
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.637
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parinya_me_front_p.pdf936.73 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_ch1_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_ch2_p.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_ch3_p.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_ch4_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_ch5_p.pdf911.54 kBAdobe PDFView/Open
Parinya_me_back_p.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.