Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69204
Title: ประสิทธิภาพของยาทา 1% เทอร์บินาฟีน เทียบกับยาหลอกในการรักษาผู้ป่วยโรคเกลื้อนที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Effectiveness of 1% terbinafine cream and placebo in the treatment of pityriasis versicolor at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ศิวาพร ยิ่งศักดิ์มงคล
Advisors: วัณณศรี สินธุภัค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wannasri.S@Chula.ac.th
Subjects: เกลื้อน -- ผู้ป่วย
เทอร์บินาฟีน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เกลื้อนเป็นโรคติดเชื้อยีสท์ที่ชอบไขมัน ชื่อ Malassezia furfur พบมากในคนหนุ่มสาวในประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น การดำเนินการโรคเรื้อรัง มีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูงแม้ได้รับการรักษา การวิจัยนี้ ศึกษาประสิทธิภาพของยาทา 1% เทอร์บินาฟีนเทียบกับยาหลอกในการรักษาโรคเกลื้อนในผู้ป่วยจำนวน 67 คน ใช้วิธีการศึกษาแบบ randomized double-blinded placebo-controlled trial ผู้ป่วยจำนวน 34 คน ได้รับยาเทอร์บินาฟีน และผู้ป่วย 33 คน ได้รับยาหลอก ผู้ป่วยทายาครึ่งลำตัวบนวันละ 2 ครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ นัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 1, 2, 4, 8 และ 12 ตามลำดับ ประเมินผลทางคลินิก โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของอาการคัน ขุยขาว และสีของผื่น และประเมินผลทางห้องปฏิบัติการ โดยย้อมดูเชื้อราจากผิวหนังด้วยน้ำยา Methylene blue ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีการลดลงของขุยขาวและอาการคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) รวมทั้งมีการลดลงของความแดง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 2 พบว่าร้อยละ 54.8 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาเทอร์บินาฟีนและร้อยละ 53.6 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก ตรวจไม่พบเชื้อรา ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม กลับมีอาการแสดงทางคลินิกขึ้นมาอีก โดยผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา 1% เทอร์บินาฟีน มีอาการมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) แต่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าร้อยละ47.6 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาเทอร์บินาฟีน และร้อยละ40 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก มีการตรวจพบเชื้อรา ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) และในการติดตามผลข้างเคียงของการรักษา พบเพียง 3 ราย ที่มีอาการคันเพียงเล็กน้อย โดย 2 รายเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยา 1% เทอร์บินาฟีน และอีก 1 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก โดยอาการเหล่านี้พบว่าไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องหยุดการรักษา จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า การทายา 1% เทอร์บินาฟีนติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ให้ผลการรักษาโรคเกลื้อน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอก (p> 0.05)
Other Abstract: Pityriasis versicolor is a chronic disease caused by a lipophilic yeast, known as Malassezia. furfur. Young adults in tropical climate are most susceptible to this infection. Despite the large varieties of therapeutic modalities, treatment is usually associated with high recurrence rate. This randomized-controlled, double-blinded study was conducted to compare the efficacy of 1% terbinafine cream to that of placebo in the treatment of pityriasis versicolor. Thirty-four patients received 1% terbinafine cream while thirty-three patients received placebo. They were advised to apply the cream to the whole trunk twice daily for 2 weeks. Follow-up visits took place at weeks 1.2, 4, 8 and 12. The severity of the clinical signs and symptoms was documented and skin scraping using Scotch-tape technique with methylene blue was done. After 2-week treatment, itching and scaling were statistically significantly better than prior to treatment (p <0.01). Erythema improved but'there was no statistical significance. At the 2 "d week, there was also no statistical significance in mycological cure rate ie 54.8% in the active group vs. 53.6% in the placebo group (P> 0.05). During the follow-up period, most of the patients in both groups developed recurrence. Patients in the terbinafine group had more clinical symptoms than the patients in the placebo group (p <0.05). The mycological recurrent rate in the terbinafine group (47.6%) was higher than that of the placebo group (40%) but there was no statistical significance (p> 0.05). There were 2 patients in the terbinafine group and 1 patient in the placebo group who complained of mild itching after application of the drug. In conclusion, there is no statistically significant difference between 2-week application of topical 1% terbinafine cream and placebo for the treatment of pityriasis versicolor.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69204
ISSN: 9743313826
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sivaporn_yi_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ524.75 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch1.pdfบทที่ 1382.48 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch2.pdfบทที่ 2677.41 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch3.pdfบทที่ 3940.66 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch4.pdfบทที่ 4318.95 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch5.pdfบทที่ 51.81 MBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch6.pdfบทที่ 6556.34 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_ch7.pdfบทที่ 786.24 kBAdobe PDFView/Open
Sivaporn_yi_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก488.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.