Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71423
Title: กฎหมายการรับขนทางถนนระหว่างประเทศ : ศึกษาความเหมาะสมในการมีกฎหมายเฉพาะสำหรับประเทศไทย
Other Titles: Law on the international carriage of goods by road : the study on the need for having a specific law in Thailand
Authors: ยุทธพงศ์ ภูรีเสถียร
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
จุฬา สุขมานพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: อนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขนของทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1956
การขนส่งสินค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ใบตราส่ง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎหมายการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์และสาระสำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขนของทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1956 รวมทั้งศึกษาถึงกฎหมายไทยที่จะมีผลใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า อนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขนของทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1956 ได้กำหนดถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ตามสัญญารับขนของทางถนนระหว่างประเทศไว้เป็นการเฉพาะ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มีผลใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์การรับขนของทางถนนระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะทำให้ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ลักษณะรับขน บังคับกับนิติสัมพันธ์ด้งกล่าว อย่างไรก็ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่มีความทันสมัย และไม่มีความสอดคล้องและไม่เหมาะสมกับนิติสัมพันธ์การรับขนของระหว่างประเทศเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรับผิดของผู้ขนส่งซึ่งกำหนดไว้เคร่งครัดมาก เนื่องจากกำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดโดยข้อกฎหมายไว้เพียงสามประการ รวมทั้งไม่ได้ให้สิทธิในการจำกัดความรับผิดโดยข้อกฎหมายไว้ กรณีจะกระทำได้ก็มีเพียงแต่การตกลงกันระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งอย่างชัดแจ้งให้ผู้ขนส่งสามารถยกเว้นหรือจำกัดความรับผิด ทำให้ผู้ขนส่งตามกฎหมายไทยตกอยู่ในฐานะที่ เสียเปรียบเป็นอย่างมากหากต้องแข่งขันกับผู้ขนส่งต่างประเทศ นอกจากนั้น กฎเกณฑ์ในหลายๆ ประการที่ได้รับการยอมรับและบัญญัติไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการรับขนของระหว่างประเทศ ก็ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ปัญหาในทางกฎหมายดังกล่าวนั้นจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาระบบการขนส่งและการค้าของประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้นำหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขนของทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1956 มาเป็นแนวในการออกกฎหมายเฉพาะสำหรับประเทศไทย เพื่อใช้บังคับคับการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศในทำนองเดียวกับการตราพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 รวมทั้งประเทศไทยควรจะเป็นผู้นำในการจัดทำร่างความตกลงขึ้นใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์การรับขนของทางถนนระหว่างประเทศสำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำหลักการที่เป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอื่นแล้วมาเป็นพื้นฐานสำหรับ ร่างความตกลงในภูมิภาคนี้ และเพื่อที่จะเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศและผู้ใช้บริการให้ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: This thesis is aimed at exploring the law on international carriage of goods by road, with particular emphasis on significant rules and contents as reflected in the Convention on the Contract for the International Carnage of Goods by Road 1956. The study is also extended to the investigation of positions or approaches taken by Thai laws regarding this mode of carnage. The examination by this thesis reveals that while the Convention on the Contract for the International Carnage of Goods by Road 1956 sets out specific rules for application to legal relations arising out of a contract for the international carriage of goods by road, no particular law in this instance has been in place in Thailand. The absence of specific legislation governing this matter results in the provisions of the Civil and Commercial Code in respect of a general contract of carriage being called into play with regard to legal relations in a contract for the international carriage of goods as well. However, the Civil and Commercial Code has, since its promulgation, survived a passage of a great length of time, which has now rendered the Code outdated and unsuitable to legal relations involving the international carriage. In particular, under the Civil and Commercial Code of Thailand, liability of the carrier is very strictly provided, with only three defences being set out by the Code and the carrier not being allowed to exclude liability at all. The carrier in Thailand is thus put at great disadvantage vis-a-vis competing carriers abroad. In addition, a number of principles generally recognised and set forth in international conventions on international carriage of goods have not been found in the Civil and Commercial Code of Thailand. All this, indeed, constitutes barriers to the development of transport and trade in Thailand. This thesis suggests that underlying legal principles as contained in the Convention on the Contract for the International Carriage of Goods by Road 1956 be adopted as guidance for the enactment of specific legislation intended to be applicable to the international carriage of goods by road, as with the previous enactment of the Carriage of Goods by Sea Act, B.E. 2534 (1991). Further, Thailand should, in effect, play a leading role in preparing a Draft Agreement for application to legal relations emerging from the international carriage by road in the South East Asian region. In this connection, the principles which have already gained general recognition in other regions may well be taken as a basis for the intended Draft and as a means to facilitate a greater degree of justice to international transport operators as well as users of transport services.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71423
ISBN: 9743469346
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yoottapong_pu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ868.44 kBAdobe PDFView/Open
Yoottapong_pu_ch1_p.pdfบทที่ 1734.8 kBAdobe PDFView/Open
Yoottapong_pu_ch2_p.pdfบทที่ 26.79 MBAdobe PDFView/Open
Yoottapong_pu_ch3_p.pdfบทที่ 33.28 MBAdobe PDFView/Open
Yoottapong_pu_ch4_p.pdfบทที่ 4888.74 kBAdobe PDFView/Open
Yoottapong_pu_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.