Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71704
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Study of state and problems of the operation of the Pre-primary Education Development Center under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission
Authors: สถาพร กรีธาธร
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Cheerapan.B@Chula.ac.th
Subjects: ศูนย์พัฒนาการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
การศึกษาขั้นก่อนประถม
Pre-primary Education Development Center
Preschool children
Education, Preschool
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการ ศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ตัวอย่างประชากร ได้แก่ ศึกษานเทศก์จังหวัดผู้รับผิดชอบงานการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา รวม 144 คน จาก 75 ศูนย์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบศึกษาเอกสาร นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้แจกแจงความถี่ และคำนวณหาค่ารอยละ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากร ส่วนใหญ่จัดทำโครงการไวในแผนปฏิบัติงานของ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด การพัฒนาบุคลากรใช้การฝึกอบรม/สัมมนา การประเมินผลการพัฒนาบุคลากรทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการ ด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนใหญ่กำหนดตามปัญหาและความต้องการ นิเทศการศึกษาโดยให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา การประเมินผลการนิเทศใช้วิธีการสัมภาษณ์ ด้านการจัดแหล่งวิชาการ ส่วนใหญ่จัดทำโครงการไวในแผนปฏิบัติงานของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด การจัดหาสื่อและเอกสารจิพิจารณาตามความต้องการและความจำเป็น สื่อที่ผลิต คือ เกมการศึกษา เอกสารที่ผลิต คือ บทความทางวิชาการ ด้านการทำวิจัยทางการศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษานเทศก์จังหวัดเป็นผู้ทำวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการนิเทศการศึกษา ปัญหาที่พบ คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ขาดบุคลากรที่มีความรู้ และขาดการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้านการนิเทศการศึกษา ขาดงบประมาณ บุคลากร และเกณฑ์ในการประเมิน ด้านการจัดแหล่งวิชาการ ขาดงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ด้านการทำวิจัยทางการศึกษา ขาดบุคลากรที่มีความรู้ และขาดแหล่งค้นคว้าในการทำวิจัย ข้อเสนอแนะ คือ ควรพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของแต่ละจังหวัด ควรกำหนดเกณฑ์ มาตรฐานในการนิเทศการศึกษา ควรมีการจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ และควรจัดอบรมความรู้เรื่องการทำวิจัยแก่บุคลากรของศูนย์
Other Abstract: The purpose of this research was to study the state and problems concerning the operation of the pre-primary education development center. The 144 samples were the provincial supervisors and officials who were responsible for the pre-primary education from 75 centers1. The instruments used in this research were questionaires, interviewing forms, observations forms, and document analysis forms. Data was analyzed by frequency and percentage. The findings indicated that most projects were set and put in the Provincial Primary Education Commission Office operational plan. The training workshop and seminar were used in personnel development. The evaluation was done at the end of each training course. As for the instructional supervision, it was done in accordance with the needs and problems by giving advice nd solutions, and the evaluation was done by interviewing. The academic resource provision depended on their needs, the materials produced were educational games and the documents produced were academic articles. Beside this, most of the educational research were dbne and used as informations for instructional supervision by the provincial supervisors. The problems confronted in personnel development were the lack of experienced personnel and successive evaluation; lack of budget, personnel and criteria for evaluation in supervising; lack of budget and officials for centers in providing academic resouces; and lack of experienced personnel and study resources in educational research. The suggestions proposed were that the personnel development should be done according to each province’s needs, the criteria of instructional supervision standards should be formed, the district (Amphur) level center should be set up, and how to do a research should be trained to the all personnel of the centers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71704
ISBN: 9746371118
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sataporn_gr_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ344.66 kBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_ch1.pdfบทที่ 1622.45 kBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_ch2.pdfบทที่ 23.12 MBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_ch3.pdfบทที่ 3439.19 kBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_ch4.pdfบทที่ 43.15 MBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_ch5.pdfบทที่ 51.63 MBAdobe PDFView/Open
Sataporn_gr_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.