Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72133
Title: ปัญหาข้อจำกัดการรอการลงโทษและรอการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
Other Titles: Problems concerning the limitations of Suspension of Punishment under Section 56 of Thai Penal Code
Authors: อัยยรัช บุญส่งสุวรรณ์
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรอการลงโทษ
โทษปรับ
การลงโทษ
กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56 บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ไม่ให้ผู้ที่ศาลพิพากษาให้ต้องโทษจำคุกในระยะเวลาอันสั้นต้องได้รับโทษจำคุก ทั้งนี้มีข้อจำกัดทางกฎหมายว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกเนื่องจากการกระทำความผิดโดยเจตนามาก่อนเว้นแต่เคยได้รับโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งหมายถึงการกระทำความผิด ที่ผู้กระทำมิได้เจตนา บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56 นี้ได้ให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจว่าสมควรที่จะให้มีการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษหรือไม่โดยพิจารณาจากเหตุอันควรปราณีภายใต้ข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าว จากแนวทางการศึกษาจึงเห็นได้ว่าผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดโดยประมาทแม้นจะถูกจำคุกเป็นระยะเวลานานเพียงใดศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้อีก นอกจากนี้ผู้ที่เคยได้รับพิจารณาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษมาแล้วก็อาจได้รับการพิจาณาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้อีกซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมานี้ไม่แตกต่างจากหลักกฎหมายในต่างประเทศอาทิ เช่น ประเทศ ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, และเกาหลีแต่สำหรับประเทศ ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, และเกาหลีนั้นยังมีหลักเกณฑ์ที่ยอมรับว่าแม้นผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้รอการลงโทษจะเคยต้องโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดโดยเจตนาศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจให้รอการลงโทษได้อีก จากข้อจำกัดของประมวลกฎหมายอาญามาตรา56 ดังกล่าวทำให้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงโทษจำคุกในระยะสั้นเนื่องจากไม่ต้องการให้ผู้กระทำความผิดเล็กน้อยเข้าไปปะปนกับผู้ร้ายอาชีพและเรียนรู้พฤติกรรม, แต่ทั้งนี้ผู้กระทำความผิดโดยประมาทอาจจะเคยได้รับโทษจำคุกเป็นระยะเวลานานเกินสองปีหรือกว่านั้นมาแล้วแต่กลับได้รับการยกเว้นให้ได้รับการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษได้อีก ส่วนผู้กระทำความผิดเล็กน้อยและเคยถูกลงโทษจำคุกระยะสั้นๆ จากการกระทำความผิดโดยเจตนากลับไม่ได้รับการพิจารณาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจึงควรแก้ไขบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้แม้ผู้กระทำความผิดจะเคยกระทำความผิดโดยเจตนาและได้รับโทษจำคุกมาก่อนทั้งนี้จะต้องพิจารณาประเภทของโทษแล‘ะจำกัดอัตราโทษจำคุกที่เคยได้รับมาแล้วจะต้องไม่เกินหนึ่งปี และจะได้รับการพิจารณาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้อีกต่อเมื่อระยะเวลาห้าปีได้ผ่านพ้นไปแล้วนับจากวันที่ผู้กระทำความผิดพ้นโทษในคดีก่อน
Other Abstract: Suspension of punishment under section 56 of thai penal code is to prevent the short term imprisonment defendant to be imprisoned, providing that, the defendant must not be imprisoned due to his intention except his light penalty or his carelessness, it means the person has done it unintentionally, the provision on section 56 empower the court inconsideration whether being of suspension of punishment for reasonable mercy under the legal limitation. On the study we see that the defendant, ever imprisoned for any long time his carelessness, the court can make his determination to suspend his penalty, futhermore, the defendant who has been suspended of penalty will have further- like decision again, this process is indifferent from any other countries: for example, japan, france, korea but they countries to accept the person who was imprisoned can be suspend again. On the limitation of criminal code,section56 we can not achieve our objective in avoiding short term imprisonment where they try to prevent the miner guilty to stay with inherited their and to learn the activities in prisons, however, the carelessness person with over two years imprisoned can be exempted to do only suspension of punishment while the minor guilty with short term imprisonment can not be suspended, therefore, should have the provision in section56 criminal code corrected so that court can take his discretion to suspend, even though the person may be intentionally guilty or being imprisoned that we can consider the category of penalty or reprieve that must not be over one year by consideration whether to be suspended when it is over five year since the imprisonment person relieved form the prison.
Description: วิทยนิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72133
ISBN: 9741300611
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aiyarat_bu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ776.85 kBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_ch1_p.pdfบทที่ 1731.71 kBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_ch2_p.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_ch3_p.pdfบทที่ 31.98 MBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_ch4_p.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_ch5_p.pdfบทที่ 5837.09 kBAdobe PDFView/Open
Aiyarat_bu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก682.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.