Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72361
Title: สหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารห้องสมุดกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Correlations of library administrator behavior and librarian job satisfaction in academic libraries
Authors: ระเบียบ สุภวิรี
Advisors: เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: บรรณารักษ์ -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทย
ผู้บริหารห้องสมุด -- ไทย
Librarians -- Job satisfaction -- Thailand
Library administrators -- Thailand
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ และด้านมุ่งงานของผู้บริหารห้องสมุด ตามความคิดเห็นของผู้บริหารห้องสมุด และบรรณารักษ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ และด้านมุ่งงานของผู้บริหารห้องสมุด กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ สมมุติฐานของการวิจัย มีดังนี้คือ 1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารห้องสมุด ตามความคิดเห็นของผู้บริหารห้องสมุดและบรรณารักษ์ ไม่แตกต่างกัน 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ที่มีต่อผู้บริหารห้องสมุดที่มีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์และด้านมุ่งงาน ไม่แตกต่างกัน 3. พฤติกรรมของผู้บริหารห้องสมุดมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ เมื่อควบคุมผลของตัวแปรต่อไปนี้คือ อายุ การศึกษา และประสบการณ์ของบรรณารักษ์ ตลอดจนเพศ อายุ ตำแหน่ง การศึกษา ประสบการณ์ และสถานภาพของผู้บริหาร สถานภาพห้องสมุด ระบบการบริหารห้องสมุด ระดับการศึกษาที่เปิดสอนในสถาบัน และลักษณะการเรียนการสอนของสถาบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารห้องสมุด มี 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้บริหารห้องสมุด และตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ชื่อว่า Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับบรรณารักษ์ มี 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของบรรณารักษ์ ตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ชื่อว่า Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) และตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg ได้ส่งแบบสอบถามดังกล่าวไปให้ผู้บริหารห้องสมุด จำนวน 29 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาและนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้รวม 23 ชุด คิดเป็นร้อยละ 79.31 และให้บรรณารักษ์ 300 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาและนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้รวม 237 ชุด คิดเป็นร้อยละ 79.00 การวิเคราะห์ข้อมูลได้วิเคราะห์ตามสมมุติฐาน 3 ข้อที่ได้ตั้งไว้ โดยการใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหลัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพาร์เทียล และ อัตราส่วนวิกฤต t (t - test) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าสมมุติฐานที่ 1 และ 2 ปฏิเสธสมมุติฐาน และสมมุติฐานที่ 3 ยอมรับสมมุติฐาน ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทั้งผู้บริหารห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่า ผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์สูงกว่าพฤติกรรมด้านมุ่งงาน 2. ผู้บริหารห้องสมุดมีความคิดเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ และด้านมุ่งงานสูงกว่าความคิดเห็นของบรรณารักษ์ 3. ผู้บริหารห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์และด้านมุ่งงานของผู้บริหารห้องสมุด 4. บรรณารักษ์ส่วนมากมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ 5. บรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ และบรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งงาน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน คือบรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูงกว่าบรรณารักษ์ที่มีผู้บริหารห้องสมุดมีพฤติกรรมด้านมุ่งงาน 6. พฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์และด้านมุ่งงานของผู้บริหารห้องสมุดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ 7. เมื่อควบคุมผลของตัวแปรต่อไปนี้ได้แก่ อายุ การศึกษา และประสบการณ์ของบรรณารักษ์ ตลอดจนเพศ อายุ ตำแหน่ง การศึกษา ประสบการณ์ และสถานภาพของผู้บริหาร สถานภาพห้องสมุด ระบบการบริหารห้องสมุด ระดับการศึกษาที่เปิดสอนในสถาบัน และลักษณะการเรียนการสอนแล้ว พฤติกรรมด้านมุ่งกิจสัมพันธ์และด้านมุ่งงานของผู้บริหารห้องสมุด มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate consideration and initiating structure behaviors of library administrators basing upon the opinions of library administrators and librarians, to determine job satisfaction of librarians, to compare job satisfaction of librarians who had consideration administrators with job satisfaction of librarians who had initiating structure administrators, and to investigate the relationship between the consideration behaviors and the initiating structure behaviors of library administrators and the job satisfaction of the librarians. The hypotheses predicted chat 1. There was no significant difference between administrative behaviors of library administrators basing upon the opinions of library administrators and librarians. 2. There was no significant difference between job satisfaction of the librarians in academic libraries towards library administrators who had consideration behaviors and those who had initiating structure behaviors. 3. When the effects of the librarians' age, education, and experience; the administrators' sex, age, position, education; experience, and status; the status and the administrative system of the library; the educational level of the academic institutions; and the characteristics of teaching and learning of the institutions were controlled, the behaviors of library administrators was significant related to the job satisfaction of the librarians. Two sets of questionnaire were used in collecting data. The first set asked for information from the library administrators. This set comprised two sections. The first section dealt with the personal information of the library administrators. The second section, the questionnaire evaluating the behavior of the leaders of the University of Ohio is called "Leader Behavior Description Questionnaire" (LBDQ). The second set of questionnaire asking the librarians comprised 3 sections dealing with the private information of the librarians, the LBDQ questionnaire as mentioned in the first set, and the questionnaire evaluating the job satisfaction of librarians, established from the motivation theory of Herzberg respectively. The questionnaire were sent to 29 library administrators; 23 or 79.31 percent were returned and to 300 librarians; 237 or 79.00 percent were returned. The data were analyzed based on 3 stated hypotheses, by using correlation coefficient, partial correlation coefficient and t-test. Hypotheses 1 and 2 were rejected where as Hypotheses 3 was accepted. Based on the testing of those three hypotheses, the following conclusion were drawn : 1. Both the library administrators and the librarians had the same opinion that the library administrators had consideration behaviors higher than the initiating structure behaviors. 2. The library administrators opined that they, themselves, had consideration and initiating structure behaviors higher than in the librarians' opinions. 3. There was a significant difference between the opinion of the library administrators and the librarians concerning the consideration and the initiating structure behaviors of the library administrators. 4. Most of the librarians had a low job satisfaction. 5. There was a significant difference between job satisfaction of the librarians whose administrators had consideration behaviors and those whose administrator had initiating structure behaviors that the librarians whose administrators had consideration behaviors had higher job satisfaction than those whose administrators had initiating structure behaviors. 6. The consideration and initiating structure behaviors of the library administrators had a moderate positive significant relation with the librarians' job satisfaction. 7. When the effects of the librarians' age, education, and experience; the administrators' sex, age, position, education, experience, and status; the status and the administrative system of the library; the educational level of the academic institutions; and the characteristics of teaching and learning of the institutions are controlled, the behaviors of library administrators was moderate positive significant relation with the librarians' job satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72361
ISBN: 9745674362
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rabiab_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_ch2_p.pdfบทที่ 23.95 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.97 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.67 MBAdobe PDFView/Open
Rabiab_su_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.