Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72478
Title: การเปิดรับข่าวสารด้านการเมือง ความรู้ และทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Political information exposure, knowledge and attitude towards public hearing among Bangkok metropolis residents
Authors: พึงจิต แพทย์ศิลป์
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ประชาพิจารณ์
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
Public hearing
Political participation
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาความส้มพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการเมือง ความรู้และทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ชองประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 484 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแรงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัย พบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น สาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 2. การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 3. ความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 4. ผู้ที่มีเพศต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุและสถานภาพสมรสต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนแตกต่างกัน แต่มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลไม่แตกต่างกัน ผู้ที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อมวลชนไม่แตกต่างกัน แต่มีกาเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่อบุคคลแตกต่างกัน 5. ผู้ที่มีอายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีเพศและสถานภาพสมรสต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ไม่แตกต่างกัน 6. ผู้ที่มีเพศ อายุ การศึกษาและรายได้ต่างกัน มีทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีสถานภาพสมรสและอาชีพต่างกัน มีทัศนคติเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the correlation among political information exposure, knowledge and attitude towards public hearing among Bangkok metropolis residents. Questionnaires were used to collect the data from a total of 484 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, One - Way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient were employed for the analysis of the data. SPSS for Windows program was used for data processing. The results were as follows: 1. Exposure to mass media did not correlate with the knowledge of public hearing. However, exposure to interpersonal media negatively correlated with knowledge of public hearing. 2. Exposure to mass and interpersonal media did not correlate with attitude towards public hearing. 3. Knowledge of public hearing correlated with attitude towards public hearing. 4. Residents different in sex were exposed to mass and interpersonal media differently. Those different in age and marital status were exposed to mass media differently but were exposed to interpersonal media indifferently. Residents different in education, occupation and income were exposed to interpersonal media differently but were exposed to mass media indifferently. 5. Residents different in age, education, occupation and income had different levels of knowledge of public hearing. However, no difference in knowledge of public hearing was found between residents different in sex and marital status. 6. Residents different in sex, age, education and income were different in attitude towards public hearing. However, no difference in attitude was found between those different in marital status and occupation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72478
ISBN: 9741311052
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puangchit_pa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ825.51 kBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_ch1_p.pdfบทที่ 1810.37 kBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_ch2_p.pdfบทที่ 21.51 MBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_ch3_p.pdfบทที่ 3766.44 kBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_ch4_p.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.25 MBAdobe PDFView/Open
Puangchit_pa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก856.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.