Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79352
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: A study of the relationships of job complexity, job control, selection, optimization, and compensation and work engagement in middle adulthood, with focus on opportunities at work as a moderator variable
Authors: ปัทมา นามทอง
Advisors: นิปัทม์ พิชญโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ลูกจ้าง -- ภาระงาน
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
ความพอใจในการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
Employees -- Workload
Work -- Psychological aspects
Job satisfaction
Organizational commitment
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน การจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น และความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยมีการรับรู้โอกาสในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่วัยกลางคนจำนวน 200 คน ลักษณะโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.50) มีอายุระหว่าง 40-44 ปี (ร้อยละ 45.50) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 46.50) อายุงานในองค์การปัจจุบันอยู่ระหว่าง 1-10 ปี (ร้อยละ 38.50) ประเภทขององค์กรที่ทำงานเป็นภาครัฐ (ร้อยละ 70.00) และตำแหน่งงานที่ทำคือพนักงานระดับปฏิบัติ (ร้อยละ 60.00) จากนั้นนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานรวมทั้งการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน การมีอำนาจตัดสินใจในงาน และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน โดยมีรายละเอียดค่าทางสถิติดังนี้ ความซับซ้อนของงาน (B = .187, p < .01) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = .348, p < .01) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .240, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกและร่วมกันอธิบายความผูกพันในงาน ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันในงานได้ร้อยละ 31.7  ในขณะที่การรับรู้โอกาสในการทำงานไม่ได้มีบทบาทในฐานะตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน (B = .014, n.s.) การมีอำนาจตัดสินใจในงาน (B = -.025, n.s.) และการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น (B = .104, n.s.) ที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันในงาน โดยประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้นี้ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่แสดงถึงทิศทางและระดับความสัมพันธ์ของความผูกพันในงานของผู้ใหญ่วัยกลางคน สำหรับการประยุกต์ใช้ในองค์กร คือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริบทต่าง ๆ ในการทำงานให้มีความสอดคล้องกับพนักงานในแต่ละช่วงวัย ทั้งในด้านลักษณะของงาน (Work Characteristics) ได้แก่ ความซับซ้อนของงาน และการมีอำนาจตัดสินใจในงาน รวมถึงกลยุทธ์การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ (Successful aging strategies) ซึ่งเป็นการจัดการทรัพยากรเพื่อปรับตัวกับอายุที่เพิ่มขึ้น  ในการสร้างแรงจูงใจคนทำงานวัยกลางคนในการพัฒนาการทำงานและดึงศักยภาพการทำงานของบุคคลช่วงวัยกลางคนให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลควรตระหนักเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความผูกพันในงานที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการทำงานและการมีสุขภาวะจิตที่ดีในการทำงาน
Other Abstract: The objective of this research was to investigate the relationships of job complexity, job control, selection, optimization, and compensation with focus on opportunities at work and work engagement in middle adulthood. The study was conducted by collecting data from 200 middle-aged adult participants. Most of them were females (62.50%), aged 40–44 years (45.50%), completed a bachelor's degree (46.50%), and were currently employed in the organization for between 1–10 years (38.50%). Most participants worked in the government sector (70%), and in the operational type of position (60%). The data from the samples were analyzed by using descriptive and inferential statistics, including multiple regression analysis. The results showed that the three independent variables were job complexity, job control, selection, optimization, and compensation were positively correlated with work engagement. The statistical details were as follows: job complexity (B = .187, p < .01), job control (B = .348, p < .01), and selection, optimization, and compensation (B = .240, p < .05). There were positive correlations and mutually described job engagement. All independent variables combined could account for 31.7% of the variation in engagement. While focus on opportunities at work did not act as a positive moderator of the relationship between the independent variables: job complexity (B = .014, n.s.), job control (B = -.025, n.s.), selection, optimization, and compensation (B = .104, n.s.). The contribution of this study was to identify factors associating with the direction and level of work engagement in middle adulthood. For the application in the organizations, the study findings suggested focusing on the development of employees in various working contexts to be consistent with the employees’ ages, their work characteristics, i.e., job complexity, job control, and successful aging strategies (i.e., selection, optimization, and compensation).  These would motivate middle-aged workers to craft their work and maximize their work-related performance. Individual employee may consider these factors as well to promote one’s work engagement that related to work efficiency and good mental health at work.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79352
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.586
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.586
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270017138.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.