Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8408
Title: ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย
Other Titles: Legal problems on access to microbial resources in Thailand
Authors: นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ
Advisors: อรพรรณ พนัสพัฒนา
ธนิต ชังถาวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
tanit@biotec.or.th
Subjects: เทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพ -- ไทย
เทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
จุลินทรีย์
การจัดการทรัพยากรชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากทรัพยากรชีวภาพจำพวกพืชและสัตว์ ตลอดจนคุณประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีต่อประเทศ ควบคู่ไปกับการศึกษากฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ กรณีศึกษา และมาตรการของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจำพวกจุลินทรีย์ จากการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์การเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ในประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพและขาดความชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาอยู่สองกรณี คือ ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายหรือระเบียบที่คุ้มครองจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 (แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2544) พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543 (แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2548) กฎหมายและระเบียบดังกล่าวล้วนแต่เป็นกฎหมายที่ไม่สามารถคุ้มครองครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ทุกชนิด และมิได้มีวัตถุประสงค์หลักในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์โดยเฉพาะ อีกทั้งกฎหมายบางฉบับก็มิได้มีหลักการควบคุมการเข้าถึงตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงก็ไม่ชัดเจน เกิดปัญหาความกระจัดกระจาย และความซ้ำซ้อนทางกฎหมาย อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายก็ยังขาดประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาในทางปฏิบัติเกิดขึ้นเนื่องจากจุลินทรีย์เป็นทรัพยากรที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การควบคุมการเข้าถึงจึงกระทำได้ยาก รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถขาดแคลนงบประมาณ ขาดการตระหนักถึงความสำคัญของจุลินทรีย์และขาดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนมาตรการการใช้สัญญาถ่ายโอนวัสดุชีวภาพเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการเข้าถึงที่สามารถกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้อย่างชัดเจนตามความต้องการของคู่สัญญา แต่จะมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น และยังขาดกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำที่จะต้องกำหนดไว้ในสัญญา ก่อให้เกิดความแตกต่างกันในมาตรฐานของสัญญาในแต่ละหน่วยงานได้ การเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์จึงต้องมีกฎหมายเฉพาะที่ชัดเจนเพื่อบัญญัติควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ทุกชนิด เพื่อให้หลักเกณฑ์การเข้าถึงมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
Other Abstract: This thesis aims to study the regulations related to access to microbial resources which is unique and different from plant or animal resources as well as the benefit of microbial resources to the country. The aim is also extended to explore Thailand's legislations, rules and regulations, case study and other measures currently applied to accessing to microbial resources. The study shows that the regulations related to access to microbial resources are still inefficient and unclear. This gives rise to two major problems : 1. Legal problems, as the existing laws and regulations regarding microbial resources protection, namely, Pathogens and Animal Toxins Act B.E. 2525 (as amended B.E. 2544), Plants Variety Protection Act B.E. 2542, Act on Protection and Promotion of Traditional Thai Medicinal Intelligence B.E. 2542 and Office of the Prime Minister's Regulation on Conservation and Utilization of Biological Resources B.E. 2543 (as amended B.E. 2548) do not cover all kinds of microbial resources and their main objectives are not established to specifically regulate access to microbial resources. In addition, the principles on regulating access to microbial resources used in certain laws or regulations are not in accordance with the Convention on Biological Diversity and remain unclear as to access procedures, consequently, it leads to un-united and duplication of laws. The enforcement of laws is also still inefficient. 2. The practical problems occur since microorganisms are too small to be seen by naked eyes, therefore it is difficult to regulate. There are also lack of experts, budgets, realization of the importances of microbial resources and scientific and technology advancement. Material Transfer Agreement is one of the measures that regulate access and specify rights and duties of each parties according to their own objectives. But the agreement could be bound by only the parties of such agreement and there are no standard agreement. Therefore, it brings about different standards in each section or department. There should be Sui Generis so regulate access to microbial resources which cover all kinds of microbial resources and being in accordance with Convention on Biological Diversity.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8408
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.818
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.818
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nontapat.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.