Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรศักดิ์ เพียรชอบ-
dc.contributor.authorอารีวรรณ ผลโพธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-08-25T13:48:57Z-
dc.date.available2021-08-25T13:48:57Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745692069-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75099-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนวิชาพลศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบวิธีการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนวิชาพลศึกษา ระหว่างครูพลศึกษาในโรงเรียนราษฎรและในโรงเรียนรัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม ถามครูพลศึกษาที่สอนอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งประเภทโรงเรียนราษฏร์และโรงเรียนรัฐบาล ใน กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 50 โรงเรียน รวม 150 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 144 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.00 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยค่าที (t-test) และนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ครูพลศึกษาทุกคนทำการวัดและประเมินผลการเรียนในทุกด้าน ยกเว้นทาง ด้านสมรรถภาพทางกายซึ่งวัดเพียงร้อยละ 61.8 เท่านั้น โดยครูพลศึกษาส่วนใหญ่มีอัตราส่วนในการให้ คะแนนในแต่ละครั้งในแต่ละด้านดังนี้คือ ด้านความรู้ร้อยละ 20 ด้านทักษะร้อยละ 60 ด้านทัศนคติร้อยละ 10 และด้านคุณธรรมร้อยละ 10 แต่เมื่อจำแนกตามการให้คะแนนในแต่ละด้านของครูพลศึกษาแล้ว พบว่า ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ให้คะแนนด้านความรู้ร้อยละ 20 ให้คะแนนด้านทักษะร้อยละ 60 ด้านสมรรถภาพ ทางกาย ด้านทัศนคติ และด้านคุณธรรมให้ด้านละร้อยละ 10 สำหรับขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนในแต่ละด้านนั้น ด้านความรู้ส่วนใหญ่วัดใน เรื่องเกี่ยวกับวิธีการเล่น ระเบียบข้อบังคับ กฎ กติกาในการเล่น ประวัติความเป็นมา ประโยชน์ คุณค่า และความสำคัญของวิชาที่เรียน ด้านทักษะส่วนใหญ่วัดในเรื่องเกี่ยวกับทักษะส่วนบุคคล ด้าน สมรรถภาพทางกายส่วนใหญ่วัดในเรื่องเกี่ยวกับความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว การทรงตัว กาลัง และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้านทัศนคติส่วนใหญ่วัดในเรื่องเกี่ยวกับความสนใจ ความตั้งใจ ความ กระตือรือร้น การแต่งกาย และการมาเรียนตรงตามเวลา และด้านคุณธรรมนั้นส่วนใหญ่วัดในเรื่อง เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ความมีน้ำใจนักกีฬา ความรับผิดชอบ ความร่วมมือ ความเสียสละ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนระหว่างครูพลศึกษาในโรงเรียน ราษฎร์และในโรงเรียนรัฐบาลแล้ว โดยส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้น การวัดทางด้านทักษะในวิชายืดหยุ่น และทางด้านคุณธรรม-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the methods of administering tests and evaluation of physical education learning achievements in secondary schools and to compare the differences between the methods used by physical education teachers in the private and governmental secondary schools. Questionnaires were constructed and sent to 150 physical education teachers from 50 private and governmental secondary schools in Bangkok Metropolis. The 144 questionnaires accounted for 96.00 per cent were returned. The data were then analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. The t-test was also employed to determine the level of significant difference. It was found that all physical education teachers used all factors involved as criteria for grading in physical education except on physical fitness aspect which were only 61.8 percent of them used this criterion. The proportions of percentages given to each aspect in grading for each time were: knowledge, 20 percent; skill, 60 percent; attitude, 10 percent; and character, 10 percent. But when proportions percentage given by teachers in each aspect were considered, it was revealed that most teachers gave proportion percentages to knowledge aspect for 20 percent; skill, 60 percent; physical fitness, attitude and character, 10 percent each. The scope of measuring and evaluating in each aspect, it was revealed that in knowledge aspect, most areas covered in the tests and evaluation were in strategy, rules, history, usefulness, and the importances of the game; in the skill aspect, it was covered in individual skill; in physical fitness aspect, it was covered in agility, speed, balance, and muscular strength; in the attitude aspect, it was covered in eagerness, enthusiasm, uniformity, and punctuality; and in character aspect, it was covered in area of abiding by the game rules, sportmanship, responsibility, and cooperation. When methods of measuring and evaluating used by teachers in private and governmental secondary schools were compared it was found that most of methods used were not significantly different at .05, except in the area of measuring skills in tumbling and in character.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษาen_US
dc.subjectPhysical education and training -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectEducational evaluationen_US
dc.titleการศึกษาวิธีการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนวิชาพลศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeStudy of methods of administering tests and evaluation of physical education learning achievements in secondary schools, Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areewan_ph_front_p.pdf995.74 kBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_ch1_p.pdf805.14 kBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_ch2_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_ch3_p.pdf716.03 kBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_ch4_p.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_ch5_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Areewan_ph_back_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.