Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31719
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นักศึกษาและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการพัฒนารายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ โปรแกรมศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฎ
Other Titles: Opinions of instructors, students and entrepreneurs concerning for the development of visual communication design course in fine arts program at the bachelor degree level, Rajabhat Institute
Authors: อารักษ์ ศาสตระสิงห์
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการพัฒนารายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ในด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหารายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้สอนวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 12 คน นักศึกษาโปรแกรมศิลปกรรม สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ จำนวน 193 คน ผู้ประกอบการในสายวิชาชีพ ออกแบบนิเทศศิลป์ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในด้านวัตถุประสงค์ของรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 1 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการ และนักศึกษามีความคิดเห็นเรียงลำดับดังนี้คือ ควรเน้นการปฏิบัติงานด้านการออกแบบเพื่อการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ และความเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ในรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 2 อาจารย์ผู้สอน และผู้ประกอบการ มีความคิดเห็นว่า ควรเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ นักศึกษาเห็นว่าควรเน้นให้เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ในด้านเนื้อหารายวิชาของ รายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 1 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการ และนักศึกษามีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังนี้คือ ควรเน้นเนื้อหาเรื่องความเป็นมา วิวัฒนาการ และกระบวนการการออกแบบงานนิเทศศิลป์ในด้านต่าง ๆ คอมพิวเตอร์กราฟฟิค และเนื้อหาควรเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ในรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 2 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการและนักศึกษามีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังนี้คือ ควรเน้นเนื้อหาการปฏิบัติงานด้านออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์ ควรเน้นเนื้อหาทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิค และเนื้อหาควรสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ในด้านการจัดการเรียนการสอน ของรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 1 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการและนักศึกษามีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังนี้คือ ควรใช้วิธีสอนโดยการใช้ตัวอย่าง มีการปฏิบัติงานให้จริงจังเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้จริง และควรใช้เทคนิคการสอนที่ทันสมัย ในรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 2 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการ และนักศึกษามีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังนี้คือ ผู้สอนควรกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้นักศึกษาอยู่เสมอ ควรใช้วิธีการสอนให้จริงจังเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้จริง และควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่ทันสมัย ในด้านการประเมินผลของรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 1 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการและนักศึกษา มีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังคือ ควรประเมินผลจากผลงาน กระบวนการทำงาน และจากความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 2 อาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบการและนักศึกษา มีความคิดเห็นเรียงตามลำดับดังนี้คือ ควรประเมินจากผลงาน กระบวนการทำงาน และจากความคิดสร้างสรรค์
Other Abstract: The purpose of this research was to study the opinions of instructors, students and entrepreneurs concerning for the development of visual communication design course in fine arts program at the bachelor degree level, Rajabhat Institute in the aspects of objective, course content, Instructional organization, and evaluation. The population used in this research was 12 instructors in communication design course of higher education institution, 193 students studying in communication design course, and 12 entrepreneurs. The research instruments were interview schedule and questionaure. Data were analyzed by mean of percentage, arithmetic means and standard deviation. It was found that in the part of the objective of the communication design course1, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: it should be emphasized on the operation of the design for communication, creative thinking and suitable for the occupation. In the communication course 2, instructors and entrepreneurs had the opinions that it should be emphasized the creative thinking while students thought that it should be emphasized on the suitable for occupation. In the part of the content of the communication design course 1, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: it should be emphasized on the content of the background, evaluation, the process of communication design in any part computer graphic and the content should be suitable for the current situation. In the communication design course 2, it should be emphasized on the operation of symbol and logo design and the content of computer graphic and the whole course content should be suitable for the current situation. In the part of instructional organization of the communication design course 1, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: the example of teaching method should be used. It should had the real performance practice for the performance in the real world. The new teaching teachnique should be used. In the communication design course2, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: instructors should always arouse the students’ s creative thinking. They should use the certain teaching method for the performance in the real world and the new teaching teachnique should be used. In the part of evaluation of the communication design course 1, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: it should be evaluation from the working product, working process and creative thinking. In the communication design course 2, instructors, entrepreneurs and students had the following opinions respectively: it should be evaluation from the working product, working process and the creative thinking.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31719
ISBN: 9746314548
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arak_sa_front.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_ch1.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_ch2.pdf14.15 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_ch3.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_ch4.pdf13.15 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_ch5.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open
Arak_sa_back.pdf12.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.