Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65365
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ของผู้เรียนวิชานาฏศิลป์ไทยในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: The development of an instructional model of dance improvisation to enhance creative thinking in Thai dramatic-arts learners in higher education institutions
Authors: อุษา สบฤกษ์
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
สุชาติ ตันธนะเดชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: dwallapa@dpu.ac.th
Suchart.T@Chula.ac.th
Subjects: นาฏศิลป์ไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
นาฏศิลป์
นาฏยประดิษฐ์
ความคิดสร้างสรรค์
Dramatic arts, Thai -- Study and teaching (Higher)
Dramatic arts
Choreography
Creative thinking
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทาง นาฏศิลป์ของผู้เรียนวิชานาฏศิลป์ไทยในสถาบันอุดมศึกษาและแบบวัดทางนาฏยสรรค์ เปรียบเทียบพัฒนาการของนักศึกษาในด้านความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ และทักษะในการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย ระหว่างนักคิกษากลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนปกติ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสอนนาฏยสรรค์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ได้แก่ การสอนท่ารำต้นแบบ การคิดสร้างสรรค์ท่ารำอย่างอิสระ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการประเมินผล ย้อนกลับ ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้นตอน คือ การนำเข้าสู่เนื้อหา การฝึกปฏิบัติ ฝึกการสังเกตและการวิเคราะห์ การฝึกคิดประดิษฐ์ท่ารำอย่างอิสระ การนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ การสรุปและประเมินผล แบบวัดนาฏยสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำจากกระบวนการเชื่อมโยงสัมพันธ์ลีลาท่ารำ การปรับปรุงท่ารำเดิม การจินตภาพและจินตนาการ ด้วยการบันทึกท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นในแบบทดสอบตามเวลาที่กำหนด ลักษณะเด่นของแบบวัดนาฏยสรรค์ คือการวัดระดับความสามารถของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในการสร้างสรรค์ท่ารำ หาค่าบรรทัดฐานจากการทดสอบกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขานาฏศิลป์ไทย ชั้นปีที่ 1-4 ทั่วประเทศ จำนวน 800 คน สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์เป็นวิธีการสอนที่เน้นการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับกับฝึกปฏิบัติจริง เพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเกต และฝึกการคิดสร้างสรรค์ท่ารำ ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน กระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น สร้างความเชื่อมั่นในตนเองด้วยการให้นักศึกษาคิดสร้างสรรค์ท่ารำและแสดงออกอย่างอิสระ การนำรูปแบบการเรียนการสอนนาฏยสรรค์ไปใช้ สรุปผลการทดลองเป็นตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ดังนี้ 1. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์และทักษะการปฏิบัติผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to analytically study instructional methods of dance improvisation, which promoted dramatic arts creative thinking among learners both in and outside Thailand, to develop an evaluation form of dance improvisation for evaluating dramatic arts creative thinking of the learners, to develop and evaluate an instructional model of dance improvisation, which promoted dramatic arts creative thinking of the Thai dramatic arts learners in higher education institutions, and to compare the dramatic arts creative thinking and practical skills of the learners in the experimental group and the control group. The instructional methods of dance improvisation were the dance patterns established to freely create dancing postures, to promote the teaching-and-learning atmosphere with freedom and feedback. The six teaching procedures for dance improvisation included introduction, practice, observation and analysis, practice of free creation of dancing postures, presentation of creative works, conclusion and evaluation. The dance improvisation evaluation form was designed and developed to evaluate the time-limit creation of dancing postures based on connected style and movement, original dancing postures, imagery and imagination. Based on the experiment on 800 Thai dramatic arts students nationwide, this dance improvisation evaluation form was outstanding in a way that the learners in higher education institutions’ abilities to create dancing postures could be evaluated by means of norm. Dance improvisation instruction focused on how creative thinking had been integrated into practice of Thai dramatic arts skills through additional activities promoting the learners’ abilities in opinion expression, analysis, observation, and creation of dancing postures. Through opportunities provided to create dancing postures and freestyle presentation, the learners’ enthusiasm and self confidence were then stimulated in the appropriate teaching-learning atmosphere. Upon using the evaluation form of dance improvisation in the experiment, the result complied with the following hypotheses: 1. After experiment, an average score of dramatic arts creative thinking of the learners in the experimental group was statistically significant at 0.05 level higher than the control group 2. After experiment, an average score of skills in practicing dramatic arts creative thinking of the learners in the experimental group was statistically significant at 0.05 level higher than the control group 3. The posttest experiment average score of dramatic arts creative thinking and skills in practicing dramatic arts creative thinking of the learners in the experimental group was statistically significant at 0.05 higher than their pretest experiment average score.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65365
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.698
ISSN: 9741715862
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.698
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usa_so_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ909.24 kBAdobe PDFView/Open
Usa_so_ch1_p.pdfบทที่ 11.16 MBAdobe PDFView/Open
Usa_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.69 MBAdobe PDFView/Open
Usa_so_ch3_p.pdfบทที่ 31.73 MBAdobe PDFView/Open
Usa_so_ch4_p.pdfบทที่ 43.07 MBAdobe PDFView/Open
Usa_so_ch5_p.pdfบทที่ 51.72 MBAdobe PDFView/Open
Usa_so_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.