Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65834
Title: รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะ ของสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Model of participative management in effective organization at faculty level in higher education institutions
Authors: อภิญญา กังสนารักษ์
Advisors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
ไพฑูรย์ สินลารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
paitoon@dpu.ac.th, Paitoon.Si@chula.ac.th
Subjects: การบริหารแบบมีส่วนร่วม
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
ประสิทธิผลองค์การ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับของสถาอบันอุดมศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ตัว และองค์ประกอบย่อย 22 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นคณบดี รองคณบดี จำนวน 114 คน และอาจารย์จำนวน 511 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบวัดการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับคณบดีและรองคณบดี และแบบวัดประสิทธิผลองค์การสำหรับอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และผู้วิจัยตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่ได้พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งได้จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี (ค่า GFI = 0.90, ค่า AGFI = 0.83 และค่า P = 0.66) โดยรูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบด้านการแบ่งปันอิทธิพล การแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และด้านการแบ่งปันอำนาจ 2. องค์ประกอบของการบริหารแบนมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา มี 3 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ องค์ประกอบด้านการแบ่งปันอิทธิพล องค์ประกอบด้านการแบ่งปันข้อมูล และองค์ประกอบด้านการแบ่งปันอำนาจ 3. ข้อค้นพบในการวิจัย คือ รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์การที่มีประสิทธิผลระดับคณะ ประกอบด้วยองค์ประกอบในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านการแบ่งปันอิทธิพล ผู้บริหารระดับคณะต้องเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจในความสำเร็จของงาน ได้รับการยอมรับนับถือ มีแรงจูงใจในการ ทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความก้าวหน้า มีความพึงพอใจในผลตอบแทนที่ได้รับ มีความมั่นคงในการทำงาน มีความพึงพอใจกับสภาพการทำงาน เพื่อนร่วมงานและนโยบายการบริหาร 2) ด้านการแบ่งปันข้อมูล ภายในคณะต้องมีระบบสารสนเทศในการบริหาร ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การที่เก็บ รักษาข้อมูล การประมวลข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล ตลอดจนมีลักษณะและประเภทของข้อมูลที่ ผู้บริหารระดับคณะให้กับบุคลากรในคณะ 3) ด้านการแบ่งปันอำนาจ ผู้บริหารระดับคณะ ควรมีพฤติกรรมแบบมุ่งคน และมีภูมิหลังด้านอายุ การศึกษา ประสบการณ์สอน ประสบการณ์บริหาร และ ตำแหน่งวิชาการ
Other Abstract: The purpose of this research were to develop the model of participative management affecting organizational effectiveness of faculty level in higher education institutions, to analyze the participative management factors affecting organizational effectiveness. The developed model was a LISREL model consisting of 3 main variables and 22 sub variables. The sample is 114 deans and assistant deans and 511 faculties in government higher education institutions. The research instrument was the participative management questionnaire for deans and assistant deans and the organizational effectiveness questionnaire for 511 faculties. SPSS program was performed to analyze basic statistics and LISREL program was performed for model testing. The research results indicated that: 1. The model of participative management affecting organizational effectiveness was very well fitted with the empirical data (GFI = 0.90 AGFI = 0.83 P = 0.66). Factor of the model were influence sharing, information sharing and power sharing. 2. The participative management factors affecting organizational effectiveness were consisted 3 factors of participative management component, ranging from the highest factor loading, they were influence sharing, information sharing and power sharing. 3. In conclusion, the model of participative management affecting organizational effectiveness were 1) influence sharing consists of administrator satisfaction of achievement, recognition, work itself, responsibility, advancement, wages, job security, working conditions, Colleague relationship and company policy and administration. 2) information sharing consist of management information system in faculty, characters and types of information flow. 3) power sharing consist of leader behaviors of consideration style and leader background of age, education, experience in academic and administration, and academic position.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65834
ISBN: 9740303676
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya_ka_front_p.pdf819.33 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_ch1_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_ch2_p.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_ch3_p.pdf866.53 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_ch4_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_ch5_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_ka_back_p.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.