Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67864
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้หลักและรูบริคส์การให้คะแนนเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารจัดการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี
Other Titles: Development of key indicators and scoring rubrics for administration and management performance evaluation in Uthaitani Educational Service Area Office
Authors: นวพร ฉายเรืองโชติ
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Advisor's Email: Suwattana.s@chula.ac.th
Subjects: การบริหารการศึกษา
การประเมินผลงาน
School management and organization -- Thailand
Job evaluation
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการของสำนักเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี พัฒนาตัวบ่งชี้และรูบริคส์การให้คะแนนเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนแกนนำในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี จำนวน 150 คน (2) กลุ่มผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี จำนวน 15 คน (3) กลุ่มผู้รับผิดชอบการพัฒนาตัวบ่งชี้หลักของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15 คน การจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสนทนากลุ่มและการทดลองใช้ตัวบ่งชี้หลักและรูบริคส์การให้คะแนนในการประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารจัดการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1.การบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี มีสภาพปัญหาดังนี้ (1) ข้าราชการและ ครูอาจารย์ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้หลักของผลการปฏิบัติงาน (2) สำนักงานเขตพื้นที่ขาดงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลผลิตตามพันธกิจ (3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีอำนาจยกเลิกกฎระเบีบบของเขตพื้นที่การศึกษา (4) ความสามารถในการประหยัดงบประมาณของเขตพื้นที่การศึกษามีน้อย เพราะได้รับเงินจัดสรรที่จำกัด (5) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขาดคู่มือในการปฏิบัติราชการ (6) โรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนมาก จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายดูแลสูง (7) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขาดวัสดุ-อุปกรณ์ในการบริการ (8) การลดรอบเวลาทำงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (9) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขาดการวางแผนปรับปรุงแก้ไขบริการ (10) บุคลารกของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขาดความเข้าใจในการบริการ (11) ผู้บริการโรงเรียนขาดองค์ความรู้ที่ทันสมัยด้านการจัดการ และ (12) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนน้อย 2.ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้หลักเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารจัดการในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุทัยธานี ทำให้ได้ตัวบ่งชี้หลักครอบคลุม 4 มิติ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 10 ตัว และตัวบ่งชี้ย่อย 15 ตัว โดยแต่ละมิติมีจำนวนตัวบ่งชี้ ดังนี้ มิติที่ 1 คือ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ มีตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว และตัวบ่งชี้ย่อย 7 ตัว มิติที่ 2 คือ ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการ มีตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 2 ตัว มิติที่ 3 คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ มีตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 2 ตัว มิติที่ 4 คือ ด้านการพัฒนาองค์กร มีตัวบ่งชี้หลัก 4 ตัว และตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัว 3 ผลการพัฒนารูบริคส์การให้คะแนนระดับคุณภาพตามตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานการบริหารจัดการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี โดยใช้แนวทางการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรอบในการกำหนดคุณลักษณะทำให้ได้รูบริคส์การให้คะแนนคุณภาพ 5 ระดับ และระดับการปฏิบัติงาน 5 ระดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to study problems of administration and management in Uthaitani Educational Service Area Office and to develop key indicators and scoring rubrics 3 sample groups were 150 schools administrators in Uthaitani Educational Service Area, 15 administrators of UESAO and 15 officers who were responsible for UESAO indicators. The data were collected though focus group discussion and the experiment of evaluating the administration and management performance of UESAO by the developed key indicators and scoring rubrics. Data were analized by content analysis. Descriptive statistics and analysis of variance. The research findings were as follow: 1 There were 12 problems in administrating and managing Ulthaitani Educational Service Area Office. There were as follow. (1) The officers, school adminstrations and teachers were lack of understanding about key indicators (2) The ESAO lack of the support budget (3) The ESAO lack of power to cancel regulations (4) The ESAO not less ability to save budget because of limited budget was allowed. (5) The ESAO lack of working handbook (6) There were a lot of small schools which required high cost of management. (7) The ESAO lack of resource for providing service. (8) The reduction of working cycle did not achieved the goal. (9) The ESAO lack of the planning of service development. (10) The Officers did not fully understand their services. (11) School administrations lack of modern management knowledge. (12) The community had less participation in school activities 2 As a result of the development, there were 10 key indicators and 15 indicators which organized into 4 dimensions as follow. Dimension 1 was the effectiveness of mission had 2 key indicators and 7 indicators Dimension 2 was the efficiency of performance had 2 key indicators and 2 indicators. Dimension 3 was the service quality had 2 key indicators and 2 indicators. And dimension 4 was organizational development had 4 key indicators and 4 indicators. 3 The developed scoring rubrics of each indicators had 5 levels of output qualities 5 levels of performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67864
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1404
ISBN: 9745322415
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1404
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nawaporn_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ956.67 kBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1888.27 kBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_ch2_p.pdfบทที่ 23.8 MBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.39 MBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.8 MBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.18 MBAdobe PDFView/Open
Nawaporn_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.