Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74141
Title: การเพาะเลี้ยงเชลล์พืชไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) ในสภาพแขวนลอยเพื่อผลิตฮอร์โมนลอกคราบ
Other Titles: Suspension culture of Vitex Glabrata R.Br. cell for molting hormone production
Authors: อุทัยพรรณ ประเสริฐสม
Advisors: สัณห์ พณิชยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การลอกคราบ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ไข่เน่า (พืช)
อาหารเลี้ยงเชื้อ
Ecdysone
Plant tissue culture
Culture media ‪(Biology)‬
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยน้ำวัตถุประสงค์ฑจะศึกษาลักษณะเซลล์ การเจริญ และการผลิตเบตา-เอคไดโซนของเซลล์แขวนลอยพืชไข่เน่า (Vitex glabrata R.Br.) ที่เพาะเลี้ยงจากแคลลัสส่วนต่าง ๆ คือ ส่วนเปลือก ส่วนต้น และส่วนใบ การศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ คือ ชนิดและปริมาณของสารควบคุมการเจริญและสารตั้งต้นของการผลิตเบตา-เอคไดโซนต่อการเจริญ และการผลิตเบตา-เอคไดโซนโดยใช้เซลล์จากส่วนต้นเป็นต้นแบบ พบว่าเซลล์แขวนลอยทั้งสามชนิดให้ผลผลิตเบตา-เอคไดโซนใกล้เคียงกัน โดยที่เซลล์จากส่วนใบมีการเจริญต่ำสุด สารควบคุมการเจริญ กรด 2,4 –ไดคลอโรฟีนอกซีอะซีติคเหมาะสมสำหรับการเจริญและการผลิตเบตา-เอคไดโซน ในขณะที่กรดอินโดลอะซีติคไม่เหมาะสม เซลล์เพาะเลี้ยงในอาหารสูตร B-5 จะให้การเจริญและการผลิตเบตา-เอคไดโซนได้สูงกว่าเมื่อเลี้ยงในอาหารสูตร 1/2 MS การใช้โคเลสเตอรอลและสติกมาสเตอรอล-ซิโตสเตรอลสามารถเพิ่มผลผลิตเบตา-เอคไดโซนได้เล็กน้อย ในขณะที่กรดเมวาโลนิคทำให้การผลิตลดลงเล็กน้อย ค่าการเจริญสูงสุดของเซลล์แขวนลอยส่วนต้นที่เพาะเลี้ยง อย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในระยะเวลา 7 เดือน อย่างไรก็ตามการผลิตเมตา-เอคไดโซน มีค่าไม่คงที่แต่ไม่แตกต่างกันมากนักตลอดการเพาะเลี้ยง 7 เดือน โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.04-0.05 กรัม เปอร์เช็นต์น้ำหนักแห้ง
Other Abstract: Cell suspension cultures of vitex glabrata R.Br. were established from callus cultures, namely, epidermal, stem and leaf piece. They were then used as a source to study the morphology, growth and production of ß-ecdysone. The stem piece suspension cells were selected as a model to investigate the effect of various factors including their precursors on t h e production of ß-ecdysone. The content of ß-ecdysone in those kinds of culture cells were in the same range, although the leaf piece cells gave the minimum cell mass with similar growth pattern. 2,4 - Dichlorophe - noxyacetic acid (2,4-D) was superior over indole acetic acid (IAA) in support growth and production of the hormone by V. glabrata R.Br. cultures. Cell cultivated in B-5 medium yielded higher growth and productivity of ß- ecdysone than the 1/2 MS medium, cholesterol and stigmasterol-sitosterol slightly effected to stimulate the hormone production, while mevalonic acid slightly decreased production. The maximum cell growth of the plant cell under the in vitro condition was diminished slowly during the 7 months. However, the production of ß - ecdysone was rather fluctuated (0.04 - 0.05 gram percents dry weight.)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74141
ISBN: 9745778567
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthaiphun_pr_front_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Uthaiphun_pr_ch1_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Uthaiphun_pr_ch2_p.pdf966.52 kBAdobe PDFView/Open
Uthaiphun_pr_ch3_p.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Uthaiphun_pr_ch4_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Uthaiphun_pr_back_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.