Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การนับถือศาสนา (การนับถือศาสนาจากแรงจูงใจภายใน และการนับถือศาสนาจากภายในจากแรงจูงใจภายนอก) การเผชิญปัญหาของครอบครัว (การส่งเสริมการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว การรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเข้าใจการรักษาโรค) การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นคืนพลังของสมาชิกครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการนับถือศาสนา มาตรวัดการเผชิญปัญหาของครอบครัว มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม และมาตรวัดการฟื้นคืนพลังของครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบใส่ตัวแปรทุกตัวเข้าไปในสมการ ผลการวิจัยพบว่า 1. การนับถือศาสนาจากแรงจูงใจภายใน และ การนับถือศาสนาจากภายในจากแรงจูงใจภายนอกมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .34, p < .01 และ r = .38, p < .01 ตามลำดับ) สำหรับการเผชิญปัญหาของครอบครัว คือ การรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว การคงไว้ซึ่งการสนับสนุนทางสังคมในมีและ การเข้าใจการรักษาโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .37, p < .01; r = .36, p <. 01 และ r = .33, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ (r = .58, p<.01) 2. การนับถือศาสนา การเผชิญปัญหาของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการฟื้นคืนพลังของครอบครัวได้ร้อยละ 58 โดยมีการเข้าใจในการรักษาโรคมีนํ้าหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .35, p < .01) รองลงมา คือ การคงไว้ซึ่งการสนับสนุนทางสังคม (β = .25, p < .01) เพศ (β = .23, p < .01) ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยที่สุด (β =.16, p <.01) การคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในครอบครัว (β = .13, p <.01) การนับถือศาสนาจากภายนอก (β = .10, p <.01) การนับถือศาสนาจากภายใน (β = .02, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม (β = -.05, p < .01)
Description:
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013