Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17245
Title: แนวทางหนึ่งในการแก้ไขพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาโดยการจัดตั้งองค์กรพัฒนาร่วม
Other Titles: Joint development authority as a solution on overlapping area between Thailand and Cambodia
Authors: ชนะพล สุทธิพิทักษ์วงศ์
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chumphorn.P@Chula.ac.th
Subjects: ทะเลอาณาเขต -- กัมพูชา
ทะเลอาณาเขต -- ไทย
กฎหมายทะเล
ไทย -- เขตแดน
กัมพูชา -- เขตแดน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลังจากที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณอ่าวไทย บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้กำหนดกรอบในการเจรจาในพื้นที่ทับซ้อนโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยส่วนบนตั้งแต่ 11 องศาเหนือขึ้นไปให้ทำการกำหนดเขตแดน ส่วนบริเวณตั้งแต่ 11 องศาเหนือลงมาให้ทำความตกลงพัฒนาร่วมกันเพื่อแสวงประโยชน์ในทรัพยากร เพื่อศึกษาแนวทางในการทำความตกลงพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณดังกล่าวจึงต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกับความตกลงพัฒนาร่วมอื่น เพื่อหาแนวทางในการเจรจาตกลงกันระหว่างประเทศทั้งสอง จากการศึกษาเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าหากต้องการทำความตกลงพัฒนาร่วมในพื้นที่ควรจะมีการกำหนดกรอบการเจรจาออกเป็น 7 เรื่องได้แก่ การแบ่งปันผลประโยชน์ การบริหารจัดการในพื้นที่พัฒนาร่วม สิทธิของผู้รับสัมปทานเดิม มาตรการเกี่ยวกับการป้องกันสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวการเงินและภาษี การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่พัฒนาร่วม และการระงับข้อพิพาทในพื้นที่พัฒนาร่วม ในกรณีประเทศไทยและประเทศกัมพูชาการทำความตกลงพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ควรจะตั้งองค์กรพัฒนาร่วมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเพื่อเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ ซึ่งจะทำให้การแสวงประโยชน์มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับทั้งสองประเทศ อุปสรรคที่จะทำให้การจัดตั้งองค์กรพัฒนาร่วมล่าช้าเกิดจากสภาพความสัมพันธ์ระหว่างกัน ปัญหากฎหมายภายในของแต่ละประเทศ และปัญหาเกี่ยวกับผู้รับสัมปทานเดิม
Other Abstract: After Thailand and Cambodia had signed Memorandum of Understanding (MOU) for solving overlapping area on Gulf of Thai. The MOU imposes scope of negotiation by separate area 2 sectors. First, above 11 'N prescribes delimitation. Second, below 11'N determines to make joint development area for exploitation. For study trend to make joint development agreement in this area, therefore; it should to comparative study other joint development agreement in order to find trend to negotiate the agreement between both states. From the comparative study, if it must make joint development agreement in this area. At least, it should have 7 subjects for negotiation such as sharing benefit, area management, previous granted interests, protecting marine environment measure, financial and tax provision, law enforcement and dispute settlement. In Thailand and Cambodia case, Joint development area should be to set up Joint development authority which has a juristic person to manage the area. It make exploit effectively and suitable for both states. Obstacles for setting up joint development authority delay are international relationship of both states, domestic law of both states and previous granted interests
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17245
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.133
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.133
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanapol_su_front.pdf546.44 kBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_ch1.pdf327.97 kBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_ch2.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_ch4.pdf733.51 kBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_ch5.pdf373.62 kBAdobe PDFView/Open
chanapol_su_back.pdf28.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.