Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17731
Title: การนำเสนอเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างพุทธศักราช 2528-2537
Other Titles: Proposed goals of Chulalongkorn University during B.E.2528-2537
Authors: ศิรินาถ บุณยสงวน
Advisors: ประกอบ คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันอุดมศึกษา
การศึกษากับสังคม
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
นโยบายกำลังคน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลภายในที่ไม่มีตำแหน่งบริหาร และมีตำแหน่งบริหาร ที่มีต่อเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5. เพื่อเสนอเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาสถานภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต จากเอกสารต่างๆ เมื่อได้วิเคราะห์สิ่งดังกล่าวจากเอกสารแล้ว ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มี ความรู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อนำแนวคิดของท่านมาวิเคราะห์และหาข้อสรุปร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร และนำประเด็นสำคัญๆ ไปสร้างเป็นข้อกระทงในแบบสอบถาม สำหรับการทำวิจัยครั้งนี้ ได้อาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งอันเป็นแนวคิดและทัศนะเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนในการทดสอบและวิเคราะห์ในเชิงสถิตินั้น ได้อาศัยประชากรที่เป็นอาจารย์ประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติราชการอยู่ ในภาคปลายปีการศึกษา 2528 จำนวน 2,401 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายมาร้อยละ 14 ของประชากรคิดเป็นร้อยละ 331 คน ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืน 282 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.20 กลุ่มบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่นอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปรากฏชื่อใน A Who’s Who Directory Thailand Executives 1985 และเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย จำนวน 402 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายร้อยละ 55.21 ของประชากร คิดเป็น 230 คน ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืน 200 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.96 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนแรก เป็นสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่สองเป็นแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนแบบสอบถามใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทีเทศต์ และการจัดลำดับความสำคัญ สรุปผลการวิจัย การสรุปผลการวิจัยแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง สรุปผลจากการวิเคราะห์ ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ ส่วนที่สอง สรุปผลข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ พบว่า สภาพเศรษฐกิจสังคมการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัยมีผลกระทบต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมากในขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาลัยที่มีตัวป้อน คือ นิสิต อาจารย์ งบประมาณ อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกดีมีคุณภาพ แต่ด้วยการบริหารงานภายในแบบระบบมหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องใช้ระบบบริหารบุคคล ระบบบริหารการเงิน ระบบบริหารงานวิชาการ ที่ไม่เหมาะสมกับองค์กรวิชาการแบบมหาวิทยาลัย ตลอดจนระบบการเมืองในมหาวิทยาลัย ได้นำมหาวิทยาลัยไปสู่ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ อันมีผลกระทบต่อผลผลิตของมหาวิทยาลัยที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของบัณฑิต งานวิจัยหรือการสร้างความรู้ให้สังคม รูปแบบการบริการวิชาการ และงานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลถึงภาพพจน์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งของสังคมจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการเกื้อหนุนของสังคมดังนั้นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อมุ่งปรับปรุงผลผลิตของมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งที่ควรแสวงหา และดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ผลการวิจัยข้อมูลจากแบบสอบถาม 1. ลำดับความสำคัญของเป้าประสงค์ ปรากฏว่าบุคคลภายในและบุคคลภายนอกมีความคิดเห็นว่าในอนาคต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีเป้าประสงค์ด้านต่างๆ เรียงตามลำดับความสำคัญมากที่สุดดังนี้ ด้านการผลิตบัณฑิต ควรผลิตบัณฑิตในระดับวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า ด้านลักษณะบัณฑิต ควรเป็นบัณฑิตที่เก่งงาน ด้านลักษณะงานวิจัย ควรเป็นวิจัยที่ประยุกต์ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาชุมชน ด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคม ควรเป็นแหล่งข้อมูลวิชาการที่เผยแพร่แนวคิดใหม่ๆ กลุ่มเป้าหมายที่ควรให้บริการคือ ชาวนาและเกษตรกรภารกิจที่ควรกระทำคือ การผลิตบัณฑิต สาขาวิทยาการที่ควรให้ความสำคัญ คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการบริหารและการดำเนินการในอนาคต ควรดำเนินการเพื่อรักษาและเพิ่มพูนศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำทางวิชาการของประเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลภายในและบุคคลภายนอกต่อเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 มีดังนี้ 2.1 บุคคลภายในเห็นด้วยมากกว่าบุคคลภายนอก ในเป้าประสงค์ด้านการผลิตบัณฑิตระดับวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และปริญญาเอกเทียบเท่า ลักษณะบัณฑิตแบบเก่งคิด ลักษณะงานวิจัยเพื่อสร้างความรู้ในวิชาการระดับสูง ลักษณะงานบริการวิชาการแก่ชุมชนเกือบทุกประเภท กลุ่มเป้าหมายที่ควรให้บริการคือ กลุ่มชาวนาและเกษตรกร และกลุ่มกรรมกร และผู้ใช้แรงงาน ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัยและการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สาขาวิทยาการเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาสังคมศาสตร์ มนุษศาสตร์ การดำเนินการด้านการจัดระบบประชาสัมพันธ์ เพื่อเสนอข่าวสาร ข้อมูล ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยให้ภายนอกได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการจัดระบบบริหารบุคคลที่เอื้อให้อาจารย์ ข้าราชการ ได้ทำงานตามความพอใจและความมุ่งหวังของตนเอง และการดำเนินการจัดระบบธุรการและงานสนับสนุนวิชาการให้คุณภาพ 2.2 บุคคลนอกเห็นด้วยมากกว่าบุคคลภายใน ในเป้าประสงค์ด้านการผลิตบัณฑิตระดับวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ลักษณะงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ประเภทการจัดการศึกษาภาคค่ำ หรือภาคพิเศษนอกเวลาราชการ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการทำงาน กลุ่มเป้าหมายที่ควรให้บริการในอนาคตคือ กลุ่มองค์การภาคธุรกิจเอกชน การดำเนินการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกจากอาชีพต่างๆ ได้เขามาเป็นกรรมการสภาหาวิทยาลัย การดำเนินการสรรหานักบริหารอาชีพมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยควรให้การสรรหาและเลือกผู้บริหารในแต่ละระดับเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้บริหารระดับสูงแทนระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน การดำเนินการจัดให้มีระบบติดตาม ประเมินผลการทำงานของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ รับทราบ และประเมินความล้มเหลว ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยได้ การดำเนินการเปิดโอกาสให้สภามหาวิทยาลัยได้ใช้อำนาจในการตัดสินใจอย่างจริงจัง และฉับไวแบบคณะกรรมการของบริษัทเอกชน การดำเนินการจัดระบบบริหารบุคคลให้เอื้อต่อการปลดถ่าย บุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ออกจากมหาวิทยาลัยได้ ตลอดจนการดำเนินการจัดระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรให้ยืดหยุ่นตามผลงานที่ปรากฏ 3. ความคิดเห็นของบุคคลภายในที่ไม่มีตำแหน่งบริหาร และที่มีตำแหน่งบริหารที่มีต่อเป้าประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Purposes of study : The Purposes of this study were : 1. To study the present status of Chulalongkorn University. 2. To study the perceptions of experts toward goals of Chulalongkorn University. 3. To compare perceptions of faculty members who did not have administrative positions and faculty members with administrative positions toward goals of Chulalongkorn University. 4. To compare perceptions between university teachers and outside persons toward goals of Chulalongkorn University. 5. To propose goals of Chulalongkorn University. Methodology : As part of the research that went into the designing of questionnaire, the researcher thoroughly studied the present status, problems and trends of development of Chulalongkorn University from various research and related literature. Upon an extensive study, the researcher interviewed experts who had knowledge about Chulalongkorn University and higher education in Thailand in order to procure their perceptions concerning the present status, problems and trends of development of Chulalongkorn University. After the preliminary study by interviewing experts and reviewing literature, the author had constructed a questionnaire that best suited the purpose of this study. In order to gather qualitative data, such as opinions and perceptions of goals of Chulalongkorn University, 10 experts in the field of university management, higher education, and general management were interviewed. For the information required in statistical testing, two groups of population were selected. The first was the faculty of Chulalongkorn University during the second semester of academic year 1986, 14 percent of the total population (2,401) or 331 persons were selected as the sample size for this study. From a total of 331 distributed questionnaires, 282 or 85.20 percent were returned. The second group of population was distinguished persons working in various organizations outside Chulalongkorn University. Their names were listed in Who s who Directory Thailand Executives 1985 and were alumni of Chulalongkorn University. Of the total population, 230 persons, or 55 percent, were selected as the sample size of the study and followingly, 200 or 85.96 percent of the sent questionnaires were returned. The questionnaire used as the main instrument of this study was conctructed by the researcher with two different parts. The first part of the questionnaire was the demographic data which was analyzed as independent variables such as age, sex, academic rank, etc. The second part of the questionnaire was a sery of statements pertaining to goals of Chulalongkorn University to which the respondents were asked to indicate their levels of agreement or disagreement. In this part, the Likert’s Five-Point-Scale was used. Data Analysis : Data obtained from interviewing and literature was used for the content analysis. Percentage, means, standard-deviation, ranking and t-test were used for the treatment of data from the returned questionnaires. Summary of Findings: The summary of findings was concluded into two parts, findings from interviewing and documents, and findings concluded from questionnaires were as follow : 1. The present status and problems of Chulalongkorn University were affected by the socio-economic and political vicissetude of the nation. 2. The performance of Chulalongkorn University depended so much on the quality of inputs as entering students, faculty, funds, building and facilities. However, in order to manage a university effectively internal system had to be congruent with this expected goals. As viewed by the external experts invited in this research project, the present status of financial, personnel, and academic administration was hampered by the internal politics. The financial as well as human resources were not effectively utilized up to the potential of the university. The analyses of questionnaire results were as follow : 1. The faculty members and the outsiders saw the university's goals concentrated in the areas of graduate education, producing graduates who were practical and "good with hands", producing research work relevant to the society, providing knowledge and new ideas, serving the targeted groups of less fortune such as farmers, concentrating in the fields of sciences and technologies, and maintaining the university status of the leading institution of the country. 2. In comparing opinions of faculty members and outsiders; results with significant differences were presented as follow : 2.1 Faculty members, as compared to the outsiders, saw concentration of university goals in the area of graduate education, producing graduates good with their "head" producing basic research, providing nearly all kinds of community services, serving the targeted groups of farmers and laborers, concerning on teaching research work and maintaining national culture, pay rather higher importance to more fields of study, stressing public relation, providing greater flexibility for personnel in achieving their personnel job satisfaction, and providing better clerical and supporting services for faculty members. 2.2 The outsiders, who were also alummi of the university, paid greater attention in undergraduate education, providing night classes or extension courses to working population, stressing the targeted group of business circles, providing opportunities for outsiders to be represented in the university governing board, employing professional executives to run the university, leaving recruiting and selection of department heads and deans to the high-leveled executives instead of using the balloting or democratic process of the present, providing performance evaluations of personnel and organization, providing opportunities for the public to be informed of both failure and success of the university, letting the governing board to perform decisively like the corporate board, providing the personnel management flexible enough to eliminate ineffective faculty members, and finally, to restructure the remunerative system flexible and rewarding to job performance. 3. As viewed by faculty members who did not have administrative positions and faculty members with administrative positions, toward goals of Chulalongkorn University, there were no significant differences regarding the goals of Chulalongkorn University.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17731
ISBN: 9745667277
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinart_Bo_front.pdf367.57 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_ch1.pdf302.71 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_ch2.pdf560.79 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_ch3.pdf286.31 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_ch4.pdf995.1 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_ch5.pdf517.56 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Bo_back.pdf392.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.