Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18109
Title: ปัญหาการสอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Problems in teaching physical education in large elementary schools under the auspices of The Office of the National Primary Education
Authors: ทำนูล โชติกเสถียร
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการสอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเปรียบเทียบปัญหาการสอนพลศึกษาของครูที่มีวุฒิทางพลศึกษา และครูที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังครูที่สอนวิชาพลศึกษาจำนวน 300 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 150 โรงเรียน ได้รับแบบสอบถามคืน 243 ชุด คิดเป็นร้อยละ 81 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการสอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ครูพลศึกษาประสบปัญหาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และปัญหาที่ประสบส่วนใหญ่คือ การขาดแคลนอุปกรณ์ และขาดแหล่งวิชาในการค้นคว้า ครูพลศึกษาส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาในการสอนพลศึกษาด้วยตนเองและให้เพื่อครูช่วย สำหรับปัญหาด้านอุปกรณ์ในการสอนพลศึกษาประสบปัญหาอยู่ในระดับน้อย วิชาที่ที่ประสบปัญหาด้านอุปกรณ์มากคือ การสอนกิจกรรมเข้าจังหวะ และยิมนาสติก ส่วนปัญหาด้านสถานที่ในการสอนพลศึกษา วิชาที่ประสบปัญหามากคือ การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน กิจกรรมเข้าจังหวะ ยิมนาสติก กีฬา และกรีฑา ครูที่สอนวิชาพลศึกษาที่มีวุฒิทางพลศึกษาและที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ประสบปัญหาส่วนใหญ่ไม่มีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the problems in teaching physical education in large elementary schools under the auspices of the Office of the National primary Education. Questionnaires were sent to 300 teachers in 150 large elementary schools. Two hundred and forty-three questionnaires (constituting of eight-one percent) were returned. The data were analyzed into percentage, mean, standard deviations and t-test in order to determine the level of significant difference. It was found that physical education teachers had problems in teaching physical education in low encountered and the main problems of teaching physical education were : lack of equipments and lack of handbooks for physical education teachers. Most physical education teachers solved problems by themselves and with their colleagues . The problems of equipment in teaching physical education which encountered the most were the equipments used for teaching rhythmic activity and gymnastics. The problems of facilities used in teaching physical education which encountered the most were : the facilities for teaching rhythmic activity and gymnastics, basic movement, sports and track and field. There was no significant difference on the most encountered problems between the trained and non trained physical education teachers at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18109
ISBN: 9745619728
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thamnool_Jo_front.pdf448.96 kBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_ch1.pdf363.26 kBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_ch2.pdf453.69 kBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_ch3.pdf286.37 kBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_ch4.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_ch5.pdf604.04 kBAdobe PDFView/Open
Thamnool_Jo_back.pdf981.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.