Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19011
Title: | ความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยและผู้บริหาร เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Opinions of Thai language teachers and school administrators concerning the implementation of Thai language curriculum at the lower secondary education level |
Authors: | สุชาติ วงศ์สุวรรณ |
Advisors: | สุจริต เพียรชอบ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ภาษาไทย -- หลักสูตร -- ทัศนคติ |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยและผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม 2 ชุด โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นผู้บริหาร 145 คน และครูผู้สอน 141 คน นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าที (t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญนำข้อมูลเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย ด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร ครูผู้สอนและผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันและเห็นด้วยในระดับมากว่าจุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาภาษาไทยมีความสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นพื้นฐานและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต มีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์วิชาบังคับ วิชาเลือกกับจุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาภาษาไทย และคาดว่าครูภาษาไทยจะสามารถสอนให้บรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรวิชาภาษาไทยแต่ละข้อได้ในระดับมาก ด้านโครงสร้างและเนื้อหารายวิชา ครูผู้สอนและผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นด้วยระดับมากที่สุดกับการที่หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นกำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับ และเห็นด้วยในระดับมากกับการแบ่งออกเป็นวิชาบังคับ วิชาเลือก ความเหมาะสมของเวลาเรียนสำหรับวิชาบังคับ การกำหนดหนังสือให้เลือกอ่าน ส่วนเนื้อหาเห็นว่าส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ในระดับมากโดยเฉพาะทักษะการอ่าน เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาวิชาบังคับเหมาะสมกับวัยและความพร้อมของนักเรียน สำหรับเนื้อหาของรายวิชาเลือกทุกรายวิชามีประโยชน์แก่นักเรียนในระดับมาก ด้านการเรียนการสอน ครูผู้สอนและผู้บริหารเห็นด้วยในระดับมาก กับการสอนภาษาไทยโดยการสัมพันธ์ทักษะและเห็นว่าวิธีสอนแบบฝึกทักษะ แบ่งกลุ่มค้นคว้า การแสดงบทบาทสมมุติมีความเหมาะสมในระดับมาก สำหรับที่จะนำมาใช้ในการสอนภาษาไทยตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 ส่วนวิธีสอนที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับน้อยคือ การบรรยาย ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากว่าครูภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นควรใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้นเอง หรือจัดทำโดยหมวดวิชาในด้านหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยนั้นครูผู้สอนและผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่ามีเนื้อหาตรงตามหลักสูตร มีความถูกต้อง ใช้สำนวนภาษาน่าอ่านและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ด้านการวัดผล ประเมินผล ครูผู้สอนและผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 ตลอดจนมีความเห็นว่าครูภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการประเมินผลการเรียนและสามารถปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวได้ในระดับมาก ส่วนสิ่งที่เป็นปัญหาในการวัดผล ประเมินผลสำหรับครูภาษาไทยในระดับมากคือ การสร้างเครื่องมือวัดผลให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละรายวิชา |
Other Abstract: | The purposes of study were: 1. To study opinions of Thai language teachers and school administrators concerning the implementation of the Thai language curriculum at the lower secondary education level. 2. To compare opinions of Thai language teachers and school administrators concerning the implementation of the Thai Language curriculum at the lower secondary education level. Procedures: The researcher constructed two set of questionnaires, one for 145 school administrators, the other for 141 Thai language teachers. The questionnaires were analyzed statistically by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test then tabulated and explained descriptively. Conclusion: Objectives of the curriculum : both groups accepted that the objectives of Thai language curriculum were in agreement very well with the secondary school curriculum and they accepted that most of Thai language teachers would be able to teach and reach the aims of those objectives Structure and content: both groups strongly agreed that Thai language was a required subject. They also strongly agreed that Thai language were set as required and electives courses. Teaching and learning process: both groups strongly agreed that four language skills, listening, speaking, reading and writing were taught simultaneously. They also thought that skill mastering group discussion and role playing were the right methods to be used at the secondary education level. They also strongly agreed that the teachers should use the lesson plans prepared by themselves or by the Thai language department. Finally, they thought that Thai textbooks were proper for the students. Evaluation: both groups agreed that the evaluative criteria set in lower secondary curriculum B.E. 2521 were proper. They also thought that the Thai language teachers knew quite well about the evaluative criteria and could implement them easily. The problems that the teachers faced were how to construct the test for evaluating the objectives. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19011 |
ISBN: | 9745610003 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchart_Wo_front.pdf | 544 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_ch1.pdf | 554.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_ch2.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_ch3.pdf | 351.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_ch4.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_ch5.pdf | 825.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_Wo_back.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.