Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23015
Title: ความต้องการทางด้านการนิเทศของครูพลศึกษาโรงเรียนรัฐบาล ระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: Needs for supervision of the physical education teachers in the government secondary schools
Authors: พัชรี ศิลปไชย
Advisors: วรศักดิ์ เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการด้านการนิเทศของครูพลศึกษาโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษา โดยส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าหมวดพลานามัยและครูพลศึกษาโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษา 284 ชุด ได้รับแบบสอบถามคืนมา 203 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าตอบด้วยค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเป็นรายคู่โดยวิธีทดลองของนิวแมน คูลส์ (Newman – Keuls Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า ครูพลศึกษามีความต้องการทางด้านการนิเทศในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ 1) ด้านคุณสมบัติของพลศึกษานิเทศก์ ได้แก่ ต้องการให้พลศึกษานิเทศก์มีความรับผิดชอบในหน้าที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นกันเองเข้ากับผู้อื่นได้ดี มีความศรัทธาในอาชีพของตน มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเป็นประชาธิปไตย มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี 2) ด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ต้องการให้พลศึกษานิเทศก์จัดให้มีการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นตลอดจนเทคนิควิธีการสอนพลศึกษาระหว่างครูพลศึกษาในเขตการศึกษาเดียวกัน ช่วยจัดหาหรือแนะนำตำรา เอกสารหรือคู่มือที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนพลศึกษา และช่วยแนะนำวิธีการสอนแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ 3) ด้านอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ ได้แก่ ต้องการให้พลศึกษานิเทศก์ช่วยจัดหาอุปกรณ์กีฬาที่โรงเรียนขาดแคลน จัดหาโสตทัศนอุปกรณ์ประกอบการสอน ร่วมมือกับทางโรงเรียนในการหารายได้พิเศษเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสร้างสนามฝึกพลศึกษา และช่วยแนะนำในการผลิตอุปกรณ์ทางพลศึกษาขึ้นใช้เอง 4) ด้านการประเมินผล ได้แก่ ต้องการให้พลศึกษานิเทศก์จัดประชุม สัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ในด้านการวัดและประเมินผลพลศึกษาภายในเขตการศึกษาเดียวกัน ช่วยวิเคราะห์ปัญหาหลักสูตรและการเรียนการสอนพล-ศึกษา และช่วยสร้างแบบทดสอบมาตรฐานเพื่อวัดผลวิชาพลศึกษา 5) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่ ต้องการให้พลศึกษานิเทศก์ช่วยสนับสนุนส่งเสริม ยกระดับมาตรฐานทางกีฬาของโรงเรียนและส่งเสริมการแข่งขันกีฬาภายในและภายนอกโรงเรียน ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน และช่วยประสานงานระหว่างฝ่ายบริหารกับสายวิชาพลศึกษาเพื่อสนับสนุนและให้งบประมาณในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรทางด้านพลศึกษาอย่างเพียงพอ 6) ด้านอื่นๆ ชนิดของการนิเทศที่ครูพลศึกษาต้องการ ได้แก่ การนิเทศแบบเยี่ยมเยียน (โดยพลศึกษานิเทศก์มาเอง) แบบสาธิต และแบบประชุมใหญ่ การเปรียบเทียบความคิดเห็นของหัวหน้าหมวดพลานามัยกับครูพลศึกษาเกี่ยวกับความต้องการนิเทศด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนปรากฏว่า ความคิดเห็นของครูพลศึกษาแต่ละเขตการศึกษาทั้ง 12 เขต เกี่ยวกับความต้องการด้านการนิเทศ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the needs for supervision of physical education teachers in the government secondary schools. The questionnaires were sent to 284 heads of health and physical education departments and the physical education teachers. Seventy-one percent of questionnaires were returned. The obtained data were analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. A t-Test, one way analysis of variance and Newman- Keuls Multiple Comparison Methods were also employed to determine the level of significant difference. It was found that the supervision needed by physical education teachers were in the following areas ; 1. In the area of characteristic and qualification of the physical education supervisors were; a sense of responsibility, good human relationship, being friendly, dedication to the profession, self-confidence, being democratic, being a good leader, and being able to solve the problems, 2. In the area of learning and teaching were ; inservice training so that techniques and methods of teaching physical education could be exchanged, suggestion and acquisition for text-books and other materials for teaching and learning and also new methods in teaching physical education. 3. In the area of facilities and equipment were : needed help in seeking equipment and supplies including audiovisal aids and raising funds for buying equipment and constructing playing area for physical education activities. In addition, suggestion in producing physical education equipment was also needed. 4. In the area of measurement and evaluation were ; seminar and workshop in measurement and evaluation, analysis of the curriculum and the assistance in constructing the standardized test in physical education. 5. In the area of co-curricular activities were i supporting and promoting the standard of the sport players for the intramural and extramural athletic programs and assistance.coordinating the physical education programs between the school administrators and physical education teachers so that the programs could be financed adequately. 6. The types of supervision which physical education teachers needed were visitation, demonstration and conference, Through the t-test between the opinions of the heads of health and physical education departments and those of physical education teachers, it was revealed that there was no significant difference at the 0.05 level. Through the one way analysis of variance, it was also revealed that the needs for supervision among the all twelve educational regions were not significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23015
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Si_front.pdf576.21 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_ch1.pdf461.54 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_ch3.pdf311.87 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_ch5.pdf721.67 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Si_back.pdf921.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.