Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48575
Title: การศึกษางานการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8
Other Titles: A study of educational supervisory tasks in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region eight
Authors: สถาพร พันธุประยูร
Advisors: วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Valairat.b@chula.ac.th
Subjects: การนิเทศการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษางานการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 8 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8 จำนวน 108 โรงเรียน โดยมีผู้บริหาร 302 คน และครู 367 คน เป็นผู้ใช้ข้อมูลรวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 669 คน แบบสอบถามส่งไปทั้งสิ้น 669 ฉบับ ได้รับกลับคืนเป็นฉบับสมบูรณ์ 579 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.54 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) และแบบปลายเปิด (Open-ended) การวิจัยข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนมากได้ปฏิบัติงานนิเทศการศึกษา ทั้ง 10 ด้าน ดังนี้คือ 1. งานด้านการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนมัธยมศึกษาจัดให้มีมากในการประชุมแนะนำชี้แจง การประชุมสัมมนาภายในกลุ่มโรงเรียน การรับเอกสารหลักสูตรจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และการประเมินผลการปฏิบัติงานทางวิชาการภายในหมวดวิชาปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางด้านหลักสูตร มีความล่าช้าและเอกสาหลักสูตรมีไม่เพียงพอ ให้ครูได้ศึกษา 2. งานด้านการจัดระบบการเรียนการสอน โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมาก ในการส่งเสริมให้ครูจัดกลุ่มนักเรียนตามความถนัดและความสามารถ และส่งเสริมให้ครูตกแต่งห้องเรียนให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้สอนมีส่วนร่วมในการกำหนดการสอนของตนเอง ให้มีการตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน ให้ครูในหมวดวิชาเดียวกันหรือสอนในระดับชั้นเดียวกันประชุมวางแผนร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ ครูบางคนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนที่ใช้อยู่ เพราะคิดว่าการสอนของตนดีแล้ว 3. งานด้านการบริหารบุคลากร โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมากในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติการสอน และการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาด้านการสอน เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ การขาดแผนปฏิบัติงานด้านการสอน ในโรงเรียนทั้งระยะสั้นและระยะยาว 4. งานด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียนมัธยมศึกษาได้จัดให้มีมาก ในการส่งเสริมให้ครูใช้งบประมาณเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างถูกต้องเหมาะสม และการสนับสนุนให้ครูพัฒนาคุณภาพของอาคารเรียน อาคารประกอบ และเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีอยู่เสมอ ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ ไม่มีการสำรวจติดตามผลการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน 5. งานด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมากในการแนะนำให้ครูทำการสำรวจสภาพและความต้องการการใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน การให้ความรู้แก่ครูด้านการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์การสอน และการส่งเสริมให้ครูตรวจสอบสภาพของวัสดุอุปกรณ์เป็นระยะ ๆ ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อการเรียนการสอน 6. งานด้านการฝึกอบรมครูประจำการ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมาก ในการส่งครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับด้านวิชาการตามที่สถานบันต่าง ๆ จัดขึ้น การจัดรายชื่อหนังสือหรือวารสารที่มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นบริการให้ครูทราบ และการสนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเลื่อนวิทยฐานะ และศึกษาต่อ ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ ขาดการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา ในการปฏิบัติงานครู 7. งานด้านการปฐมนิเทศครูใหม่ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมากในการแนะนำให้ครูใหม่รู้จักกับบุคลากรในโรงเรียน และการให้ความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการของโรงเรียนเพื่อใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ การเพิ่มประสบการณ์การสอนแก่ครูใหม่ เช่น ให้สังเกตการณ์สอนทำได้อย่างไม่เพียงพอ 8. งานด้านการจัดบริการพิเศษแก่ครู โรงเรียนมัธยมศึกษาได้จัดให้มีมากในการทำทะเบียนประวัติของบุคลากรในโรงเรียน และการพบปะสังสรรค์และรื่นเริงในบางโอกาส ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ ขาดการจัดรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน เพื่อให้ครูนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน 9. งานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ปฏิบัติมาก ในการรายงานผลการเรียนของนักเรียนให้ผู้ปกครองทาบ และสนับสนุนให้ครูนำบุคลากรในท้องถิ่นที่มีความสามารถเฉพาะหน้ามาเป็นวิทยากรในการเรียนการสอนปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ กิจกรรมบางอย่างไม่เป็นที่สนใจของชุมชน 10. งานด้านการประเมินผลการสอน โรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ปฏิบัติมากในการชี้แจงให้ครูเข้าใจวัตถุประสงค์ของการประเมินผลอย่างชัดเจน และการเก็บบันทึกผลในการประเมินไว้เป็นหลักฐาน ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนพบมาก คือ การที่ครูไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และระเบียบของการวัดผลและประเมินผลอย่างถูกต้องแท้จริง
Other Abstract: Purpose of the Study To study the Educational Supervisory Tasks in Secondary Schools under the Jurisdiction of the Department of General Education in Educational Region Eight Procedures of the Study The Sample of the study is composed of 108 secondary schools with 302 school administrators and 367 school teachers, Thus the total number is 669 Questionnaires; checklist and open ended were used in collecting data 669 questionnaires were sent to the selected sample and 579 or 86.54% were returned Percentage is used in data analysis Findings In studying educational supervisory tasks in large, medium and small size secondary schools as perceived by administrators and teachers; it was found that in all size of schools had similar educational supervisory practices and problems as follows: Task 1 Developing Curriculum. Most of the tasks arranged in the schools were curriculum orientation and workshops in adapting lesson plans, manuals and instructional activities to fit their localities, receiving curriculum materials from direct responsible departments, and evaluation of academic practices in every section. The problem mostly found was that the co-operation of the curriculum responsible departments was inefficiency and the lack of curriculum documents for teachers. Task 2 Organizing for instruction. Most of the tasks arranged in the schools were encovering teachers to group students by their aptitudes and competencies, to set classrooms for suitable instruction, to participate in constructing lesson plans and time-tables, to set learning objectives in teaching and to co-operate with each other in teaching. The problem mostly found was that some teachers did not change their teaching behavior. Task 3 Providing staff. Most of the tasks arranged in the schools were encovering teachers to study the details in teaching performance responsibility and providing inter-school seminar to develop teaching efficiency. The problem mostly found was the lack of instructional planning. Task 4 Providing facilities. Most of the tasks arranged in the schools were supporting teachers to use facility-budget properly and supporting to develop the quality of buildings and materials. The problem mostly found was the lack of surveying needs and evaluation facility-usage. Task 5 Providing material. Most of the tasks arranged in the school were suggesting teachers to survey situation and need assessment in using instructional media, educating teachers how to maintain the materials and encovering teachers to check the materials regularly. The problem mostly found was the lack of materials to make instructional media. Task 6 Arranging for in-service education. Most of the tasks arranged in the schools were sending teachers to attend meetings and academic lectures, providing the name of the academic books and journals for teacher service and encouraging teachers to upgrade their educational background and further studying. The problem mostly found was the lack of surveying and analyzing the problems and obstacles of teachers’ performance. Task 7 Orienting staff members. Most of the tasks arranged in the schools were introducing personnel in the school and in forming data and knowledge on academic responsibility for the use of instructional planning. The problem mostly found was that the teaching experience provided for new teachers was not sufficient. Task 8 Relating special teacher services. Most of the tasks arranged in the schools were organizing historical data of personnel in the school and arranging meetings and parties for recreation occasionally. The problem mostly found was the lack of collecting student-data for improving instruction. Task 9 Developing public relations. Most of the tasks arranged in the schools were reporting student achievement to parents and encouraging teachers to invite capable local personnel to be guest instructional lecturers. The problem mostly found was that the community had no interest in some school activities. Task 10 Evaluating Instruction. Most of the tasks arranged in the schools were clearly describing of instructional evaluation objectives to teachers and organizing evaluational results in the form of committee-responsibility. The problem mostly found was that the teachers had no clear concept on objectives and arrangement of instructional evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48575
ISBN: 9745676551
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathaporn_pa_front.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_ch2.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_ch3.pdf889.27 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_ch4.pdf30.08 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_ch5.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_pa_back.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.