Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65836
Title: | การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้าง เพื่อใช้งานในประเทศไทยสำหรับอาคารที่พักอาศัย |
Other Titles: | Study on a guideline for developing construction price index in Thailand for residential building |
Authors: | อภิรักษ์ วัชรวิทูร |
Advisors: | ธนิต ธงทอง วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tanit.T@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ดัชนีราคา การก่อสร้าง -- ราคา ที่อยู่อาศัย -- ราคา |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างเพื่อใช้งานในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำดัชนี ซึ่งในปัจจุบันดัชนีชนิดนี้ยังไม่มีการจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาแนวทางการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างของอาคารที่พักอาศัย 3 ประเภทได้แก่ บ้านพักอาศัยทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ที่ก่อสร้างขึ้นภายในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล โดยมีขั้นตอนในการศึกษาของงานวิจัยคือ 1) ศึกษาการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ในต่างประเทศ 2) จัดเก็บข้อมูลเพื่อกำหนดตัวแทนของงานก่อสร้างแต่ละเภท 3) กำหนดตัวแทนของงานก่อสร้างแต่ละประเภทจากพื้นที่ใช้สอยที่มีจำนวนบ้านในช่วงนั้นเป็นจำนวนมากที่สุด 4) จัดทำต้นแบบดัชนีราคางานก่อสร้างและเปรียบเทียบดัชนีราคางานก่อสร้างกับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง และ ค่า K ซึ่งผลของศึกษาคือ แนวทางการจัดทำและตัวอย่างดัชนีราคางานก่อสร้างในปี 2543-2544 โดยแยกเป็น 1) Input price index 2) Output price index และ 3) Seller’s price index ซึ่งตัวแทนของบ้านพักอาศัยเป็นบ้านพักอาศัย 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 110-119 ตารางเมตร และ 220-229 ตารางเมตร ตัวแทนของทาวน์เฮาส์คือทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 90-99 ตารางเมตร ตัวแทนของอาคารพาณิชย์คืออาคารพาณิชย์ 3 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 200 ตารางเมตร และเมื่อทำการเปรียบเทียบดัชนีราคางานก่อสร้างกับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างและค่า K พบว่าค่าดัชนีราคางานก่อสร้างที่ได้ให้ค่าดัชนีที่มีความแตกต่าง ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของดัชนีราคางานก่อสร้างมีการกำหนดตัวแทนของงานก่อสร้างและใช้สัดส่วนค่าใช้จ่ายของงานก่อสร้างจากตัวแทนจริง โดยนำค่าแรง ค่าดำเนินการ มารวมใช้ในการคำนวณ ทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาของงานก่อสร้างในแต่ละช่วงเวลาได้เหมาะสมกว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง และ ค่า K ปัญหาหลักของการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างคือการได้มาของข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้าง เนื่องจากยังไม่เคยมีการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างมาก่อน จึงไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถใช้ได้โดยตรงและแนวปฏิบัติในการก่อสร้างหลายอย่างยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐานของประเทศทำให้ข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบสำคัญไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งการให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการต่าง ๆ ของการให้ข้อมูลราคาที่ไม่ต้องการเปิดเผย ทำให้ต้องมีสมมุติฐานหลาย ๆ ประเด็น อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำดัชนีราคางานก่อสร้างของงานประเภทอื่นต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | This research is to present a guideline for developing construction price index (CPI) for tracking price changes of building construction in Thailand which has not been developed before. In addition, the research includes details of problems and obstacles occuring in developing CPI. This research focuses on developing CPI of houses, townhouses and shop-house buildings constructed in Bangkok and suburban. The methodology includes 1) researching for the development of CPI in other countries, 2) collecting raw data for each type of buildings, 3) selecting the qualification of the representative of each building from the most common samples, 4) developing each type of building CPI models and comparing with construction material price index and Escalation factor (K). In this research, the representative of house is 2-story house with 110-119 m2 using area and with 220-229 m2 using area. The representative of townhouse is 2-story townhouse with 90-99 m2 using area. The representative of shop-house building is 3-story shop-house building with 200 m2 using area. The indicies developed include Input Price Index, Output Price Index, and Seller’s Price Index for those types of buildings using the data in year 2000 and 2001. The CPI shows different values compared to the construction material price index and Escalation factor. The indices are suitable in tracking price changes of building construction since they are compiled from each type of building representative which provides real components of each building such as material prices, labor expenses, overhead costs, and etc. This research also presents some difficulties in developing construction price index in Thailand. Since the construction price index has not been implemented, the data and construction information are presently kept in the different forms which can not be used directly for developing construction price index. Developers and contractors are unwilling to reveal the actual material prices and operation costs. Therefore, the proposed models are developed based on several assumptions. However, the outcomes from this research can provide a helpful guideline for developing CPI for other types of construction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65836 |
ISBN: | 9740316271 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apirak_wa_front_p.pdf | 856.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch1_p.pdf | 790.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch2_p.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch3_p.pdf | 891.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch4_p.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch5_p.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_ch6_p.pdf | 926.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Apirak_wa_back_p.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.