Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65880
Title: การพัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวบ่งชี้ สำหรับประเมินหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี )
Other Titles: Development and validation of indicators for the evaluation of bachelor degree curriculum producing basic education teachers (A 5-year curriculum)
Authors: สมถวิล อัศวสืบสกุล
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: การประเมินหลักสูตร
ครุศาสตร์ -- หลักสูตร
นักศึกษาครู
Curriculum evaluation
Student teachers
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตกุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวบ่งชี้สำหรับประเมินหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) กรอบแนวคิดในการวิจัยทั้ง 3 โมเดล ได้รับการพัฒนาในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบลำดับที่สอง โดยใช้การศึกษาวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกหัดครู และด้านการพัฒนาตัวบ่งชี้ จำนวน 10 คน และอาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์จากสถาบันราชภัฏในกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามรวม 11 ตอน แต่ละตอนมีค่าความเที่ยงอยู่ในช่วงพิสัย 0.7342 ถึง 0.9725 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 10.0 ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.53 ในการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้สำหรับประเมินหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ทั้งหมด 129 ตัวบ่งชี้ย่อย 11 องค์ประกอบ ครอบคลุมมิติทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ที่วัดได้จาก 10 ตัวบ่งชี้หลักที่วัดจาก 43 ตัวบ่งชี้ย่อย ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ที่วัดได้จาก 12 ตัวบ่งชี้หลักที่วัดจาก 50 ตัวบ่งชี้ย่อย ด้านผลผลิต ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ที่วัดได้จาก 8 ตัวบ่งชี้หลักที่วัดจาก 36 ตัวบ่งชี้ย่อย 2. โมเดลการวัดองค์ประกอบหลักทั้ง 11 องค์ประกอบสำหรับประเมินหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) มีความตรงเชิงโครงสร้างทุกองค์ประกอบ 3. การตรวจสอบความตรงของตัวบ่งชี้สำหรับประเมินหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ในมิติทั้ง3 ด้านพบว่าโมเดลการวัดของตัวบ่งชี้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก แสดงว่าตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบหลักทั้ง 11 องค์ประกอบ จากมิติทั้ง 3 ด้าน มีความเหมาะสมที่จะเป็นตัวบ่งชี้สำหรับประเมินหลักสูตร
Other Abstract: The purpose of this research was to develop and validate the indicators for the evaluation of Bachelor Degree curriculum producing basic education teachers (A 5-year curriculum). All three conceptual frameworks for this research were developed in the form of second order factor analysis model, based on studies of related literature. The research sample consisted of 10 experts in teacher education and indicator development, and 147 teachers in the Faculties of Education from 6 Rajabhat Institute in Bangkok. The research instrument was the 11 part questionnaire the reliability of which ranged from 0.7342 -0.9725. The data analysis were descriptive statistics employing SPSS 10.0, confirmatory factor analysis and second order confirmatory analysis employing LISREL 8.53. The research results were as follows: 1) The indicators for the evaluation of Bachelor Degree curriculum producing basic education teachers (A 5-year curriculum) consisted of 3 dimensions, all of which included 11 factors and 129 indicators. They were 4 factors of input measuring from 10 composite indicators which were measured from 43 indicators, 4 factors of process measuring from 12 composite indicators which were measured from 50 indicators, and 3 factors of outcomes measuring from 8 composite indicators which were measured from 36 indicators. 2) All of 11 measurement models of factors evaluating the Bachelor Degree curriculum producing basic education teachers (A 5-year curriculum) had construct validity. 3) The validation of 3 dimensions of indicators for the evaluation of Bachelor Degree curriculum producing basic education teachers (A 5-year curriculum) indicated that the measurement models of indicators were highly consistent with empirical data. The results implied that all indicators of 11 factors measuring 3 dimensions were appropriate to be indicators for curriculum evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65880
ISBN: 9741755945
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somtawin_us_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ837.07 kBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_ch1_p.pdfบทที่ 1737.23 kBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_ch2_p.pdfบทที่ 22.05 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_ch3_p.pdfบทที่ 3884.31 kBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_ch4_p.pdfบทที่ 43.09 MBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_ch5_p.pdfบทที่ 5913.19 kBAdobe PDFView/Open
Somtawin_us_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.