Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66558
Title: แนวทางในการกำหนดค่าทดแทนที่เหมาะสมสำหรับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
Other Titles: Guides to the establishment of appropriate compensation for the expropriation of immovable properties
Authors: พัชรวลี ตันประวัติ
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Advisor's Email: Nantawat.B@Chula.ac.th
Subjects: การเวนคืนที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
อสังหาริมทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
ค่าทดแทน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Eminent domain -- Thailand
Real property -- Thailand
Pensions—Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกระบวนการเวนคืนอสังหา ริมทรัพย์ของไทยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน และศึกษาถึงการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของศาลยุติธรรมและศาลปกครองในเรื่องระยะเวลาในการฟ้องคดี หลักกฎหมายและเหตุผลในการกำหนดค่าทดแทน และอำนาจในการวินิจฉัยหรือพิพากษา จากนั้นจึงนำสิ่งที่ศึกษามาเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางในการกำหนดค่าทดแทนที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่าปัญหาของประเทศไทยที่ทำให้ผู้ถูกเวนคืนไม่พอใจในจำนวนค่าทดแทนที่ได้รับเกิดจากการไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเวนคืนและการกำหนดเงินค่าทดแทน หลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการกำหนดค่าทดแทนยังมีความไม่ชัดเจนเพียงพอ และองค์กรที่มีหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าของ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศสมีการเปิดโอกาลให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเวนคืน มีตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านตลาดอสังหา ริมทรัพย์มาทำหน้าที่กำหนดค่าทดแทน ประเทศอังกฤษมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพย์สินมาเป็นผู้กำหนดค่าทดแทน ประเทศเยอรมันมีการจ่ายค่าทดแทนในรูปของที่ดิน ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของศาลปกครองเป็นไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกเวนคืนมากกว่าของศาลยุติธรรม ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของไทย โดยพิจารณาหาแนวทางที่จะทำให้หลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนให้มีความชัดเจนมากขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทน ให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านการประเมินราคาทรัพย์สินเป็นผู้กำหนดค่าทดแทน และให้มีการจ่ายค่าทดแทนในรูปของที่ดินได้ด้วย ตลอดจนมีการศึกษาถึงกระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนของศาลเวนคืนของประเทศฝรั่งเศสโดยละเอียดเพื่อนำมาปรับปรุงระบบวิธีพิจารณาคดีของไทยให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถูกเวนคืนและลังคมโดยรวมต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to study the proceedings of the expropriation of immovable properties in Thailand under the Expropriation Properties Act, B.E. 2530 and also study the law on the expropriation of immovable properties in France, England and Germany as well as the decision of the Court of Justice and the Administrative Court in the matter of the period of time for claim, the principle of law and justification in fixing compensation and the jurisdiction therein. After all, all data received from the studies will be taken into account for comparative analysis as to find out a guideline in fixing an appropriate compensation. According to the study, it shows that the problems in Thailand which make the owner of the expropriated properties dissatisfaction with the amount of compensation are arisen from the lack of opportunity of the persons concerned to participate in the proceedings on expropriation and unclear criteria in fixing an appropriate compensation. In addition, the authority having in charge of fixing compensation is not recognized as professional authority in evaluating the value of immovable property. In France, the opportunity to participate in the expropriation process is opened to all person concerned. Furthermore, judges whose expertise on real estate properties will decide for compensation. In England, an expert on property evaluation decides for compensation. In Germany, the payment for compensation shall be made in the form of exchanging of land. Regarding the rulings of the Administrative Court, it seems that the Administrative Court trends to give a favor on the owner of the expropriated properties more than the court of Justice do. In conclusion, the writer suggests that the amendment of the law on the expropriation of immovable properties in Thailand is required by way of defining the clear criteria in fixing compensation for expropriation; opening more opportunity for the person concerned to participate in expropriation process; the fixing of compensation shall be carried out by the expert on properties evaluation; and the payment for compensation by way of exchanging of land should be adopted as well as the decision making process on fixing compensation French Expropriation Court should be studied in depth. This is to improve the procedures system concerning the expropriation cases in Thailand being smooth and fair to the owner of the expropriated properties and society as a whole.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66558
ISBN: 9741768397
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharawalee_tu_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ954.83 kBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_ch1_p.pdfบทที่ 1960.67 kBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_ch2_p.pdfบทที่ 23.22 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_ch3_p.pdfบทที่ 32.82 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_ch4_p.pdfบทที่ 41.57 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_ch5_p.pdfบทที่ 51.24 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawalee_tu_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.