Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67101
Title: การเกิดภัยอินเทอร์เน็ตต่อวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Occurrence of internet harm to adolescents in Bangkok metropolis
Authors: วิศรุต ตันติพงศ์อนันต์
Advisors: นิเทศ ตินณะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Nithet.T@Chula.ac.th
Subjects: อินเทอร์เน็ตกับวัยรุ่น -- ไทย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ -- ไทย
Internet and teenagers -- Thailand
Computer crimes -- Thailand
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมที่เสี่ยงภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและระดับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตต่อวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร , ปัจจัยด้านครอลครัว , ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อน , ปัจจัยด้านบุคลิกทางอารมณ์ และปัจจัยด้านลักษณะของพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตกับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัยรุ่นที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต ตามห้องคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงร้านที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) จำนวนทั้งสิ้น 300 คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ใช้ค่าไค-สแควร์ (X²) ในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อ โอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการทดสอบสมมติฐาน และใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percent), ค่าเฉลี่ย (Mean) เพื่อวัดระดับและเปรียบเทียบพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละลักษณะ กับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตว่า รูปแบบการใช้งานแบบอินเทอร์เน็ตใดจะสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตได้บ้าง ผลการศึกษา พบว่าวัยรุ่นตัวอย่างส่วนใหญ่มีโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับต่ำ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่าจำนวนวัยรุ่นที่ถูกวินิจฉัยว่ามีโอกาสสูงในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ต มีจำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 41.33 การทด สอบค่าไค-สแควร์พบว่า เพศ, พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มเพื่อน, ลักษณะทางอารมณ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, ประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ต และความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ต แต่การดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว, รายได้, ระยะเวลา การใช้อินเทอร์เน็ต และสถานที่ในการใช้อินเทอร์เน็ตไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ต สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ เพศ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการเกิดภัยอินเทอร์เน็ตน้อยที่สุด คือ ลักษณะทางอารมณ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
Other Abstract: This thesis aimed to study the relationship between internet risk behaviors and the potential of internet harm to adolescents in Bangkok. The study focused on the impacts of several factors such as demographic, family, friend, emotion and internet work behavior on the potential of internet harm. Three hundred adolescences who used internet in government computer room, in private or public schools, and internet café in Bangkok were interviewed with questionnaires. The Chi-square tests were used to test to the assumptions of finding the relationship between all factors and potential of internet harm. Frequency, percentage, and mean were used to detect types of internet work behavior that had more risks on the potential of internet harm. The results showed most of the adolescences had low level impacts from the potential of internet harm. The Chi-square tests showed that sex, internet work behavior of friends in group, emotion, internet used experience and internet used frequency had significant impacts on adolescences with the potential of internet harm where as guardian control, income, time and place to use internet did not have significant effects. The variable which had the most impact on potential of internet harm was sex while emotion had the least influence.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67101
ISBN: 9741751931
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Visaroot_ta_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_ch1_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_ch2_p.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_ch3_p.pdf885.41 kBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_ch4_p.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_ch5_p.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Visaroot_ta_back_p.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.